สอนปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์ให้เด็กศิลป์


การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประสิทธิภาพควรจะเริ่มต้นจากความสนใจหรือความอยากรู้ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนต้องมุ่งเน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิด และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียน

          จากการอ่านบันทึกของคุณหมอวิจารณ์ พานิช เรื่อง การเรียนวิทยาศาสตร์ สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์  ทำให้ครูนกย้อนทบทวนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อปรับพื้นฐานให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ช่วง 29-30 เมษายน และ 1-3 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเด็กๆ จะได้เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา โลกดวงดาวและอวากาศ และวิทยาศาสตร์พื้นฐาน  โดยตนเองรับผิดชอบในส่วนของเคมี ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มผู้เรียนพบว่า ตนเองมีโอกาสได้สอนเด็กวิทย์เพียงหนึ่งกลุ่ม ที่เหลืออีก 5 กลุ่มเป็นเด็กสายศิลป์
           ทุกครั้งที่สอนเด็กศิลป์ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถเรียกว่า เป็นการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับผู้ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ Science Education for Non-Scientist. ดังนั้นเป้าหมายในการสอนจะชัดเจนว่า นำไปใช้ในชีวิตจริงได้ วิเคราะห์ข่าวสารวิทยาศาสตร์ได้ ตลอดจนส่งเสริมให้เรียนรู้ได้ตามความสนใจ จึงได้เลือกสอนโดยเน้นการปลูกฝังความคิด ทักษะและกระบวนการมากกว่าเนื้อหาความรู้ โดยกำหนดสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในการสอนแบบมินิ Mini  Problem based Leaning 
          วันแรกของการสอน เริมจากครูกำหนดสถานการณ์จากการสกัดสารสีม่วงจากดอกอัญชันที่ทำเป็นอินดิเคเตอร์ได้ (ความรู้เดิมนักเรียนมีอยู่แล้ว เน้นแต่ทักษะการใช้เครื่องมือ)  จากนั้นนำไปทดสอบข้อสงสัยที่เกิดจากความสงสัยของนักเรียนเกี่ยวกับของเหลวในบีกเกอร์ 3 ใบซึ่งมองผิวเผินจะคล้ายกัน ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่(ทุกห้องที่สอน)  ระบุคือ ต้องการทดสอบสมบัติของเหลวใสสามชนิด A, B และ C เพื่อจะหาคำตอบว่าของเหลวใส ไม่มีสี สามชนิดเป็นสารชนิดเดียวกันหรือต่างกัน โดยเริ่มจากฝึกให้นักเรียนเขียนจุดประสงค์ในการทดลอง  สมมติฐาน(คำตอบที่คาดไว้) จากนั้นทำการทดลองโดยฝึกทักษะการสังเกต (ดมกลิ่น และสังเกต)  จากนั้นเสริมด้วยทักษะการเทของเหลว  การใช้แท่งแก้วคน เมื่อนักเรียนได้ผลการทดลองก็ชวนกันฝึกออกแบบตารางการทดลองให้ครอบคลุมตัวแปร จากนั่นเข้าสู่ทักษะการสรุปซึ่งได้ชวนให้นักเรียนให้ความสำคัญกับผลการทดลองที่ทดลองได้ไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ  แล้วตามด้วยการสรุปความรู้ที่ค้นพบจากการทดลอง  เพื่อแก้ปัญหานักเรียนไปคัดลอกเนื้อหามาใส่ในสรุปผลการทดลอง  จากการสังเกตพฤติกรรมเด็กๆ พบว่า เด็กสนุกกับการเรียนรู้  บางคนเริ่มต้นทดลองแบบกลัวๆ กลายเป็นมั่นมากขึ้น  และหลายคนเริ่มมีทัศนคติเชิงบวกกับวิทยาศาสตร์  และเรื่องการตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันในด้านการปรุงอาหารที่มีอัญชันเป็นส่วนประกอบว่าสีของอาหารบ่งบอกสภาวะกรดเบสของอาหารได้ 
         วันที่สองต้องเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมเพราะครูผู้สอนลืมนำดอกอัญชัน เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า ของเหลวในบีกเกอร์มีลักษณะอย่างไร  คำตอบของเด็กๆ ต้องบอกว่า ใช่เลยที่ครูเข้าใจว่าเด็กๆ มีการ Misconcept เรื่องสีของของเหลวประเภทน้ำ  (ถามนักเรียนว่า น้ำมีสีอะไร  ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า สีใส เลยพบกับคำถามย้อนกลับว่า ความใสเป็นสีหรือเปล่า) ทำให้นักเรียนได้ความรู้เรื่องของเหลวใส ไม่มีสี  แล้วเข้าสู่กระบวนการฝึกทักษะการตั้งจุดประสงค์ สมมติฐาน  การออกแบบการทดลอง การออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง จบด้วยการสรุปผล 
        สรุปการเรียนการสอนเน้นที่ฝึกทักษะกระบวนการที่จำเป็นต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามความสนใจ  และปลูกฝังแนวคิดว่า ทุกๆปัญหามีคำตอบหาเราสนใจจะแสวงหาคำตอบหรือข้อเท็จจริง  นอกจากนี้ฝึกทักษะด้านการตั้งคำถามของครูเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนก้าวไปอย่างเป็นระบบ  และฝึกอดทนที่จะต้องรอหรือวางกรอบความคิดให้กับเด็กๆ          
        สำหรับ
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์ ในความคิดเห็นของตนเองก็สอดคล้องกับบทความและแนวคิดที่ได้อ่านจากบล็อกของคุณหมอวิจารณ์ พานิชคือ เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ชีวิตให้เท่ากันกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ในชีวิตประจำ  รู้จักเลือกใช้เลือกบริโภคอย่างมีเหตุผล และอาจจะมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ในระยะยาวเพราะวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
         นอกจากนี้ในวันสุดท้ายของการสอนได้มีคำถามจากเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่เรียนศิลป์จีน  "ครูครับ ครูไปสอนเด็กศิลป์บ้างสิครับ" 
         ครูคงต้องบอกว่าคำถามของหนูเป็นสิ่งที่อยู่ในใจครูมาตั้งนานแล้ว  อยากมีโอกาสไปสอนเคมีให้กับเด็กศิลป์เพราะครูจะได้มีอิสระกับเนื้อหาที่ไม่ต้องสอดคล้องกับการมุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัย  เนื้อหาจะต้องมาจากข่าว หรือเหตุการณ์รอบๆ ตัว เช่น จัดบทเรียนเกี่ยวกับกลูธาไทโอน  คลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้ากับสุขภาพ  หรือเวชสำอางค์ที่โด่งดังในยุคนั้นๆ ซึ่งคงจะสนุกและมีความสุขทั้งผู้เรียนและผู้สอน

         

หมายเลขบันทึก: 534907เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ คุณครูวาด 21st of PKRU

  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ
  • ตอนนี้บรรดาครูๆก็ต้องเตรียมทักษะในการสอนเด็กศตวรรษที่ 21 กันค่ะ เป็นกำลังใจให้เช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมบันทึกนี้ค่ะ

ขอมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ^^

สวัสดีค่ะ หนูใบเฟิร์น

  • สบายดีนะค่ะ ห่างหายไปนาน
  • ใกล้จะเปิดภาคเรียนหรือยังจ้า
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเรียนรู้และให้กำลังใจ

เรียนรู้จาก การตั้งคำถาม
นำสู่บทเรียนผ่านคำถาม -โจทย์ เป็นการปลุกเร้าที่ดีครับ...


สวัสดีค่ะ อาจารย์แผ่นดิน

ดีใจที่มาเยือนทางอักษรค่ะ.....เรียนแบบนี้เป็นอะไรที่ครูเองก็สนุกค่ะ

เป็นครูสอนศิลป์คือวิทย์ที่ไม่เน้นวิทย์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท