527. องค์กรใช้สมอง "เป็น" (ตอนที่ 2)


เรื่องนี้เป็นตอนต่อจากองค์กรใช้สมองเป็นตอน 1 ครับ

ผมมีโอกาสได้สอนเรื่ององค์ใช้สมอง ซึ่งเป็นเรื่องราวของการใช้สมองสี่ส่วนครับ น่าสนใจมากๆ ผมลองใช้คำถามแบบ Appreciative Inquiry ถามเข้าไป โดยให้ลูกศิษย์ นึกถึงไอดอล คือคนที่ใช้สมองในแต่ละด้าน ออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ ใครเป็น ไอดอลของเขาแต่ละคน น่าสนใจมากๆ แต่ละคนเล่าเรื่องคนใช้สมองออกมาอย่างสร้างสรรค์ พร้อมบอก "พฤติกรรมหลักเชิงบวก" ตามประสบการณ์ของตนออกมา


                        

      Cr: http://gizmodo.com/5769490/the-beautiful-difference-between-your-left-brain-and-right-brain


ได้เรื่องราวดีๆมากมาย ที่สุดผมก็ให้ลูกศิษย์ค้นหา Positive Core (โพสิทีฟ คอร์) หรือจุดร่วมในเชิงบวก ของคนใช้สมองแบบสร้างสรรค์ โดยให้ลองช่วยกันสรุปครับ ว่าพฤติกรรมหลักในเชิงบวก ของคนใช้พลังสมองเป็นอย่างไร พบเรื่องน่าสนใจดังนี้ครับ 

I-Control (สมองนักควบคุม) เป็นเรื่องของการใช้ "พระเดช" 

I-Preserve (สมองนักประสานสัมพันธ์)  เป็นเรื่องของการใช้ "พระคุณ"  

I-Explore (สมองนักสำรวจ) เป็นเรื่องของ "ความเฉลียว" 

I-Pursue (สมองนักทำ) เป็นความฉลาด  


เมื่อนำมาสร้างระบบสี่ซีก แทนแนวคิด Whole Brain Literacy ได้ แผนภูมิดังนี้ครับ


                                                  

                                      พฤติกรรมสมองสร้างสรรค์ © (2013, Pinyo Rattanaphan)


สมองพระเดช ที่ออกมาอย่างสร้างสรรค์เป็นแบบอย่าง คือสมองที่รู้จักสร้างพระคุณ คือ การให้ การเสียสละนั่นเอง  การสร้างพระคุณครับ เลยทำให้ผมพบว่า คนที่มีพระเดช คือคนที่รู้จักใช้พระคุณนำหน้า

ส่วนคนฉลาด หรือสมองนักปฏิบัติ อาจก้าวขึ้นมาเป็นสมองของนักสร้างสรรค์ได้ ต้องเกิดการเอะใจในสิ่งที่ทำ หรือ “เฉลียว” นั่นเอง ส่วนคนที่เฉลียวเก่ง เอะใจเก่ง ถ้าไม่ฉลาดเอาความเฉลียวไปทำ ก็จะไม่เฉลียวฉลาด กลายเป็นจับจดไป คนฉลาดทำหากไม่เฉลียวใจ  ก็ต้องใช้แรงงานต่อไป เพราะทำอะไรเหมือนเดิม

ดังนั้นในองค์กร ลองมอง ประเมินดูว่าใครใช้สมองอะไรเป็นหลักในการทำงาน ถ้าใช้พระเดชมากๆ คืออำนาจมากไป ไม่ยั่งยืนครับ ต้องสอนให้เขาใช้พระคุณด้วย

คนใช้สมองพระคุณมาก ถ้าไม่ใช้พระเดชมั่งก็ควบคุมชีวิตตนเองไม่ได้ นี่ก็เสียหายครับ

คนฉลาด ไม่เฉลียว ย่อมทำอะไรซ้ำซาก ไม่ก้าวหน้าล้าหลังคู่แข่ง

คนเฉลียว ไม่ฉลาด ก็จับจด คิดแต่ไม่ทำ อันตรายครับ

คนฉลาดเฉลียว แต่ไม่รู้จักการใช้พระเดช สร้างพระคุณ ก็ไม่ไปถึงไหนครับ ดิ้นรนทั้งชีวิต เหนื่อยตาย 

ในระดับองค์กร ถ้ามีแต่พระเดชนำ คนกลัวหัวหด ความคิดสร้างสรรค์ ไม่มี เอาตัวรอดไปวันๆ 

ล่าสุดเมื่อวานมีคนถามผม ว่า "ในองค์กร นายบ้าพระเดชมาก ทำไงคะอาจารย์ ..."  โมเดลนี้อธิบายได้เลย ครับ ให้ใช้พระคุณกับเขา ช่วยเหลือเขาอย่างเต็มกำลัง พระเดชคุณจะเพิ่มขึ้นเอง  เพราะพระคุณของคุณจะสร้างสมดุลย์กับพระเดชของเขา

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งครับ ในหลายเคสที่เคยคุยมา เอาไปใช้ประโยชน์ได้มากมายครับ แล้วจะเขียนมาเล่าในตอนต่อๆไปครับ



                       

                      Cr: http://www.ntucacafth.com/2012/08/participation-ensures-buy-in-2/

"ที่สุดต้องสร้างสมดุลย์ครับ ในตัวคนหนึ่งคน ต้องมีทุกอย่างทั้งฉลาด เฉลียว พระเดช พระคุณ ชีวิตจึงจะราบรื่น และเติบโตอย่างทรงพลังครับ ส่วนการพัฒนาคนในองค์กร ต้องทำให้คนใช้สมองพระเดช พระคุณ ฉลาด เฉลียว อย่างสมดุลย์ องค์กรจึงจะก้าวไกลครับ ทรงพลัง ยั่งยืนครับ "


"และที่สุดของที่สุดจริงๆ คือ อยากให้กลับมาเฉลียวใจบ่อยๆ ว่า เราเองยังสมดุลย์ด้วยธรรมอยู่หรือไม่.. หากสมดุลย์แล้ว จึงจะเป็นสมดุลย์ที่แท้จริง ที่โลกเราต้องการ"


เพียงเล่าให้ฟังครับ ลองดูเรื่ององค์กรใช้สมองเป็นตอนที่ 1 นะครับ ผมเขียนต่อยอดมาจากตอนนี้อีกทีครับ 


หมายเลขบันทึก: 533594เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2013 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เข้าใจคิดนะครับ 

ผู้นำองค์กรน่าจะใช้พระคุณมากกว่าพระเดชนะครับ

จากประสบการณ์ ในองค์กร ก็มักจะมีคนอยู่ทั้ง ๔ ประเภทนี่นะครับ   เป็นพฤ๖ิกรรมที่เด่นประจำตัวเขา   คนฉลาด ก็อาจจะขาดเฉลียว   คนเฉลียวก็รอประเดี๋ยวยังไม่ฉลาด  คนใช้อำนาจก็ขาดพระคุณ  คนมีพระคุณก็ขาดสมดุลย์ของอำนาจ

          ถ้าในแต่ละคน มีทั้ง ๔ ประเภท นำมาใช้ตามโอกาสอันควรก็ดีนะครับ  ก็ไม่มีปัญหา   ปัญหา คือ แต่ละคน มักจะมีจุดเด่นตายตัว และ บางทีนำไปใช้ไม่ถูกกับงาน ไม่ถูกกับคน

          และบางที  บุคลิกทั้ง ๔   ก็ขัดแย้งกันเองครับ  กับคนทั้ง ๔ ประเภท

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

ดีใจที่อาจารย์แวะมานะครับ Model นี้ลองเอาไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ ได้ อะไรหลายอย่างครับ 

สวัสดีครับ ท่าน อาจารย์ Small Man ครับ

ใช่ครับ คนเรามักหนักไปขั้วใดขั้วหนึ่งเสมอ 

นี่คือสาเหตุความติดขัด ทั่วทั้งองค์กรครับ

ต้องช่วยกันระบุ แล้วประสานสมองให้ได้ จูนกันให้ได้ จะราบรื่น ทรงพลังครับ 

เป็นโมเดลที่น่าสนใจมากครับอาจารย์

สวัสดีครับคุณทิมดาบ

ลองเอาไปใช้ดูได้ครับ ผมจะเขียน แนวทางการเอาไปใช้เพิ่มเติมอีกครับ 


ขอบคุณที่แวะมานะครับ

-สวัสดีครับ

-ตามมาอ่านบันทึกนี้ครับ

-ชอบตรงสรุปท้าย"ต้องสร้างความสมดุลย์ในตัวคนหนึ่งคนให้สมดุลย์"ครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท