"ความจริงแท้ทำให้ปลอดทุกข์" ... (ธรรมะจากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี))



ความจริงแท้ทำให้ปลอดทุกข์


พระพุทธศาสนาสอนว่า สรรพสิ่งที่เราเห็นและเป็นอยู่มีความจริงซ้อนกันอยู่สองชั้น ความจริงชั้นนอก เรียกว่า ความจริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ) ความจริงชั้นใน เรียกว่า ความจริงแท้ (ปรมัตถสัจจะ)

คนทั่วไปไม่ว่าจะมองอะไร จะเห็นเพียงความจริงชั้นนอก ส่วนความจริงชั้นในมักมองไม่ค่อยเห็น ทั้่ง ๆ ที่มันก็แสดงตนอย่างเปิดเผยอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นแต่ความจริงชั้นนอกจึงพากันหลง "สมมติ" ซึ่งเป็นเปลือกของความจริงแท้นั้นอีกทีหนึ่ง เช่น เห็นผู้หญิงสวยก็หลงในความสวย เห็นผู้ชายหล่อก็หลงในความหล่อ เห็นมือถือรุ่นใหม่ก็หลง เห็นรถยนต์รุ่้นใหม่ก็หลง เห็นนาฬิกาโรเล็กซ์ก็หลง เห็นกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ก็หลง เห็นอะไรที่ถูกอกถุกใจก็หลงไปหมด...

(ส่วนการมองโลกตามความจริงแท้ ไม่หลงสมมติ) เป็นการฝึกวิธีคิดให้มีปัญญารู้เท่าทันธรรมดาของสรรพสิ่ง เมื่อรู้เท่าทันแล้วจะได้ไม่หลง คนที่ไม่หลงก็คือ คนที่ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุึขสถานเดียว

ในโลกนี้มีใครบ้างที่ไ่ม่อยากปลอดทุกข์ ทุกคนอยากปลอดทุกข์ แต่ถ้าอยากอย่างเดียวคงไม่พ้น ความทุกข์ครอบงำไม่สร่างซา วิธีกำจัดทุกข์ที่ค่อนข้างได้ผลสำหรับคนทั่วไปจึงได้แก่ การฝึกมองสรรพสิ่งตามความเป็นจริงให้เป็น

จะฝึกมองสรรพสิ่งตามความเป็นจริงได้อย่างไร ก็มองด้วยสติ + ปัญญา ไม่ใช่มองด้วยตัณหา (ความอยาก) + อวิชชา (ความโง่)


ที่มา - หนังสือ ธรรมะงอกงาม
โดยสำนักพิมพ์อมรินทร์


.....................................................................................................................................................................


ข้อคิดอีกเรื่องจากพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


....................................................................................................................................................................

ขอบคุณหนังสือธรรมะดี ๆ ...

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี.  ธรรมะจากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี).  กรุงเทพฯ : อมรินทร์ธรรมะ, ๒๕๕๔.


หมายเลขบันทึก: 533174เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2013 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2013 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นหนังสือที่ดีมากเลยครับ

รักมากก็ทุกข์มาก รักน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่่รักก็ไม่ทุกข์ครับ

เรียนรู้ที่จะอยู่กับ "ทุกข์" ให้ได้ไงครับ ท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณะรรมะดีๆ ครับท่านอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท