P4P งานนี้พยาบาล “อ่วม”


P4P  งานนี้พยาบาล “อ่วม”

  ขอมาพูดคุยปัญหาของ P4P  อีกสักรอบ เพราะว่า งานนี้พยาบาลอ่วมแน่  ข้าพเจ้าประกาศตนเองตั้งแต่แรกที่จะคัดค้านการใช้ P4P  เพื่อให้ค่าตอบแทน แต่ไม่สนับสนุนการแก้ปัญหาของแพทย์ด้วยการลาออกเท่านั้น  หลายคนสงสงสัยว่า ไอ้เจ้า P4P น่ะมันคืออะไร  ก็คือ  คือ การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือ 'Pay for Performance' หรือ 'P4P' บ้างเรียก 'พีฟอร์พี' โดยอธิบายอย่างกระชับได้ว่า รูปแบบนี้จะตีผลงานการรักษาผู้ป่วยออกมาเป็นคะแนน แล้วแปลงเป็นค่าตอบแทน ใครทำงานได้มากกว่า ดีกว่า และยากกว่า ก็จะยิ่งได้รับค่าตอบแทนมากขึ้นตามปริมาณและคุณภาพงานที่ทำได้  หลังการดีครับ แต่ว่า ขาดการพินิจพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรตามมา 

  แพทย์ในโรงพยาบาลศูนย์  และโรงพยาบาลทั่วไปไม่เดือดร้อนมากหรอก เหตุใดนั่นหรือ ก็เพราะท่านมีงานรับผิดชอบเฉพาะส่วน  ไม่ได้จับฉ่ายเหมือน รพ.ชุมชน  หรอกนะ กุมารแพทย์ ท่านก็นั่งดูแต่เรื่องเด็ก  ศัลยกรรม ท่านก็ดูแต่คนไข้ที่เกี่ยวข้อง  พยาบาลทำหน้าที่เหมือนกันในแผนกผู้ป่วยนอก คือซักประวัติเข้าพบแพทย์  รอให้คำแนะนำหลังแพทย์ตรวจ กิจกรรมเสริมน้อยมาก

  เอ้ามาดู รพ.ชุมชนบ้าง ด้านแพทย์  มีน้อยไม่เพียงพอกับคนไข้ที่ล้นหลาม  แถมคลินิกบริการอื่นเพียบ  คิดง่ายๆ แค่ แพทย์ นั่งตรวจคนที่ที่แผนกผู้ป่วยนอก นี่ คิดแต้ม การจ่ายน้อยสุด  แต่เป็นกิจกรมหนักสุดใน รพ. น้อยกว่า การไปผ่าฝี 1 case อีก สมมติ ในขณะที่ แพทย์ ที่นั่งตรวจผู้ป่วย  20 คน  ถึงจะได้แต้มเท่ากับแพทย์ ไปผ่าฝี  1 คน  นั่นแสดงว่าแพทย์ที่ไปฝ่าฝี สามารถนั่งอู้ ได้อีกนานโข  เพราะไม่ต้องรีบกลับมาตรวจคนไข้ให้เหนื่อย  P4P ได้เท่ากัน  แล้วคนไข้ตรวจไม่ทัน  ใครรับผิดชอบคร้าบ  ก็พยาบาลไง  อ้าง? ก็ส่งไปเรียนพยาบาลเวชปฏิบัติมาแล้วมิใช่หรือ  ก็มาช่วยกันตรวจหน่อยซิ  พยาบาลหรือจะกล้างอมืองอเท้า  เพราะเวลาคนไข้ด่านี่พยาบาลโดนเต็มๆ  มีคนไข้ไม่กี่คนหรอกค่ะที่กล้าด่าหมอ  เห็นปากดีๆกับพยาบาลนี่  พอเจอหมอพยาบาลบอกเอาเลย ด่าเลย  ไม่เห็นมีใครกล้าเงียบปั๊ด  แล้วพยาบาลช่วยตรวจคนไข้  สมมติ ไข้หวัด  1 case  เหมือนแพทย์ ตรวจไข้หวัด 1 case  แต่ค่าคะแนน P4P  น้อยกว่าแพทย์นะ  แล้วมันยุติธรรมตรงไหน  ขอถามหน่อย คร้าบ  โอเคในโรคที่ยากๆไม่ว่ากัน 

  แล้ว อีกอย่างในคลินิกพิเศษ  นี่  อย่างคลินิกวัณโรค  คลินิกเอดส์  นี่แต่ละวันคนไข้น้อย  แต่ในรายละเอียดของการดูแลซับซ้อนมาก แต่ค่าคะแนนเท่ากับตรวจคนไข้ทั่วไป  แล้วใครจะอยากตรวจล่ะคร้าบ ยังๆไม่พออาระวาดมาถึงพยาบาลอีก  นั่งซักระวัติเหมือนกับผู้ป่วยนอกก็จริงแต่ต้องมีรายละเอียดในกิจกรรมมาก  วันหนึ่งทำได้ไม่ถึงครึ่งของการนั่งซักประวัติที่  แผนกผู้ป่วยนอก  แถมมีแต่เรื่องให้ปวดหัวในผู้ป่วยกลุ่มนี้อีก  เสี่ยงต่อการติดเชื้อก็อีก  แล้วใครจะอยากมาทำล่ะคร้าบท่านเจ้านาย

  แล้วอย่างแผนกผู้ป่วยใน นี่ เอาง่ายๆ  ดูแลคนไข้กี่รายเหมือนกัน เข่นตึกหญิง ตึกชาย เอ้า  ตึกหญิงนี่ โรคหรูๆ  ฮอตๆ  ก็ประมาณ กรวยไตอักเสบ  นอนให้ยาฆ่าเชื้อ อาการ ทั่วไปดี  แต่ตึกชาย  โรคฮิต  คนไข้ แฮลกอฮอล์ อาระวาดมัดไว้ 5 เตียง  แต่มัดได้แต่ตัวปากคนไข้ยัง อาระวาดด่าพยาบาลเหมือนเดิม  มี P4P ค่าถูกด่าฟรีทั้งที่ดูแลเขามั๊ยคร้าบขอถามหน่อยเจ้านาย

  ได้คุยกับเพื่อนที่เป็นแพทย์หลายคน  ว่า เฮ้ยแก้ปัญหายังไง แพทย์บอกไม่ยาก  พวกผมลาออก  อยู่เอกชนน่ะสบายกว่าอยู่แล้ว เงินก็ดี  แต่พยาบาลนี่ซิ  คิดต่อเองน่ะ   นั่นซิ พยาบาลตำแหน่งน้อยๆอย่างเรานี่ซิจะทำอะไรได้  จะลาออกไอยู่เอกชนก็แหม! แก่ปานนี้เขาจะรับรึ  เป็นเช่นนั้น กรรมก็คงมาตกกับพยาบาล  ไม่มีแพทย์ พยาบาลจัดการหมด  พยาบาลก็บอกได๋ค่ะ  ...... Refer โล้ด  รพ.ศุนย์ + รพ.ทั่วไป เตรียมรับช่วงต่อนะ  ในเมื่อท่านเห็นด้วยกับ P4P ก็นี่ไง รพช.จัดเต็ม  P4P ท่านจะได้เต็มๆ  55555  สะใจในทุกข์ที่กำลังจะเกิดจริ๊ง

  ท่านเจ้านายทั้งหลาย คร้าบ หลักการท่านดีจริงอยู่  แต่นิสัยคนไทยรู้บ้างมั๊ย  มันเป็นมาไหนแต่ไร ไล่มาตั้งแต่นักการเมืองยันขอทานแล้ว คร้าบ คนชั่วได้ดี  คนดีๆ น่ะรับกรรม  ที่ต้องรับกรรมน่ะเพราะมีกรรมดีคือความรับผิดชอบต่อสังคมนี่แหล่ะ  เข้าใจมั๊ยคร้าบเจ้านาย

ชลัญธร


คำสำคัญ (Tags): #P4P
หมายเลขบันทึก: 532982เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2013 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณที่แบ่งปันนะครับ เข้าใจเรื่อง P4P มากขึ้นครับ 

เขียนได้เห็นภาพและเข้าใจมากครับ...สุขสันต์วันสงกรานต์นะครับ

It's a BIG problem --- this P4P put in place by people who are "outside P4P" system  (like ministerial staff and politicians) who most likely come from simple (master-slave) "factory management".

Robots are coming, P4P's performance criteria are "yet" to come (clean) and Patients-2-Die.

แวะมาส่งกำลังใจ  และบอกว่าเข้าใจด้วยค่ะ

หลายๆ ครั้งที่ต้องตามไปดูแลลูกน้องที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เข้าใจว่าพยาบาลงานหนักจริงๆ ค่ะ

สู้ สู้ นะจ๊ะ น้องชลัญ

 ผลงานภาระงานสารพัดที่จะต้องทำ ค่าตอบแทนที่ได้ น้อยมาก ๆ  พยาบาลโวยวายก็ไม่ได้ ผิดจรรยาบรรณ 

เป็นกำลังใจให้ ..จะพอมั๊ยเนี่ย

สู้ๆ เพื่อคนยากคนจนครับคุณชลัญธร...

เป็นบุญที่ได้ทำ เป็นกรรมที่ก่อแต่ผลดี ต่อไป...

ไปดูหนัง.."คู่กรรรรม"...แก้ กลู้มมมม...หน่อย...ชลัญธร...ยายไปดูก่อนแพคกระเป๋าเดินทาง.อ้ะ.ขอให้สุขภาพดีๆๆตลอดไป...จ้าาา....ยายธี

-ในความเห็นส่วนตัวแล้ว โดยหลักการนับว่าเป็นสิ่งที่ดีเลยทีเดียวค่ะ เป็นโอกาสที่วิชาชีพพยาบาลจะได้บอกใครต่อใครให้ได้รู้ว่าวันๆ หนึ่งเราทำอะไรบ้าง ต้องทำแทนใครไปเท่าไหร่  ส่วนความเหลื่อมล้ำในเรื่องการคิดค่างาน(แต้ม) แต่ละกิจกรรมนั้น จริงๆแล้ว มีหลักการคิดที่เป็นโมเดลดีๆ อยู่หลายแบบค่ะ สามารถศึกษาวิธีคิดได้จากโรงพยาบาลตัวอย่างที่เคยได้ทดลองทำมาแล้ว อย่างเช่น การคิดค่างานสำหรับวิชาชีพพยาบาลของ รพ.สวรรคประชารักษ์ เป็นต้นค่ะ > เชื่อว่าถ้าเห็นคุณค่าและอยากจะทำ ทำได้อยู่แล้วค่ะ
-ส่วนความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพข้างเคียง >มันเป็นของมันเช่นนั้นเอง ไม่ได้เพิ่งมาเป็นตอนนี้นะคะ   ในแนวคิดของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน มีทางเลือกให้ปฏิบัติในแบบที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กรอยู่แล้วค่ะ 
-ลองศึกษาแนวคิดและวิธีการ อย่างถ่องแท้อีกครั้ง อาจเห็นมุมมองของเหรียญอีกด้านหนึ่งค่ะ / ด้วยความเคารพ

ตอบคุณ พยาบาล ขอบคุณนะค่ะที่มาแสดงความคิดเห็น  แต่ดิฉันขอเดาว่า  คุณไม่ได้อยู่ รพ.ชุมชนแน่  ดิฉันไม่เถียงในหลักการ  โดยหลัการน่ะดีมาก หากนำมาใช้ ในกลุ่มบริบทเดียวกัน แต่ รพ.ชุมชน ดิฉันยกตัวอย่างเฉพาะ OPD ที่ดิฉันทำงาน นั้นจับฉ่ายสุด  หากแบ่งเกณฑ์การจ่ายเงินคงเยอะมาก เพราะพยาบาลคนหนึ่งมิได้มีหน้าที่เพียงซักประวัติ บางครั้งแพทย์ขาดเราต้องตรวจ ผู้ช่วยขาดเราต้องทำหน้าที่ผู้ช่วย  คน 5คนที่ opd นี่ มีงานรับผิดชอบทั้งคาบเกี่ยวทั้งต่าง ต้องลองมาอยู่ค่ะ บางครั้งต้องขับรถไปส่งคนไข้ที่บ้าน เพราะคนไข้ไม่มีรถกลับบ้าน อย่างงี้ต้องคิด P4P ?  บางครั้งพยาบาลต้องไปออกควบคุมโรคแบบฉุกเฉิน เช่น 2009 ลง กลุ่ม รด. จำนวนหลายร้อยคน บางครั้งต้องไปเจรจาต่อรอง  บางครั้งออกช่วยภัยพิบัติ  เรียกว่าทำงานหลายส่วนนั้นไม่คิด OT  เงินเหมาจ่าย มันจึงเหมาะ ซึ่งพยาบาลอย่างดิฉันนี่ได้รวมแล้วแค่ 3300 บาท ต่อเดือน ถือว่าไม่มากมายหรอก หากคิด P4P อาจได้มากกว่า  แต่มันเหมือน เราไม่เอาใจทำงาน รอแต่จดแต้มว่าวันๆทำอะไร สิ้นเดือนฉันต้องรับค่าตอบแทนเท่าไหร่  ส่วนการจะเป่าประกาศว่าวันๆหนึ่งเราทำอะไรบ้างนั้น ดิฉันเห็นว่าไม่จำเป็น เนื่องจาก ผลลัพธ์มันอยู่ที่คนไข้และผู้รับบริการ  เขาเป็นคนประเมินเราค่ะ  ว่าเรามีหัวใจในการดูแลเขาหรือเปล่า 

    ส่วน รพ.ที่คุณยกตัวอย่างมาน่ะ น่าจะเป็น รพ.ขนาดใหญ่  400 เตียง up ซึ่งบุคลลากรพร้อมในทุกแผนก ลักษณะงานในแต่ละแผนกไม่แตกต่างกันมาก ดิฉันเห็นด้วยในการใช้ P4P ค่ะ แต่คนละบริบท กับ รพช.แน่นอน ไม่ใช่ รพ.ชุมชน ไม่เคยทดลองระบบ P4P นะค่ะ มี รพ.นำร่องปีที่ผ่านมา  แล้ว รพ.นี้ ก็ออกมาประกาศ ไม่เอา P4P  หากดีจริงเขาคงไม่ออกมาต้านหรอกค่ะ 

ยังไงก็ต้องขอบคุณนะค่ะ ที่แสดงความคิดเห็นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

-สวัสดีครับ..

-น่าเห็นใจกับระบบนี้ครับ..

-ขอบคุณข้อมูลนี้ครับ

ฉันอยู่รพ.ศูนย์ ก็ยังไม่เห็นด้วยกับp4p เท่าไรเพราะเกณฑ์ของพยาบาลยังไม่ชัดเจน แต่ตอนนี้กำลังทดลองทำและศึกษา

กรมการแพทย์ ยังไม่ได้ใช้  P4P   แต่ดีใจ ที่หมอเห็นใจพยาบาลค่ะ  


จริงๆคิดอีกด้าน p4p ก็ดีหรอก เพราะคิดตามแต้มงาน ที่ทำจริง หากพิจารณาดูการแบ่งเงินตามสัดส่วนหรืออัตราส่วน ไงเราพยาบาลก็ได้น้อยอยู่ดี โดยอ้างว่า พยาบาลมีจำนวนมาก แพทย์มีจำนวน น้อย กว่า ดังนั้น แพทย์คิด 1 พยาบาล คิด 0.18 ห่างกันเท่าไรจ้า คนไข้หมด หมอก็ไปได้ พยาบาลไปไม่ได้ ต้องลงรายงาน ทำข้อมูล ดังนั้น P4p ดีจริงหรือ น่าจะทบทวนใหม่ ไม่ว่าจะจ่ายเงินค่าตอบแทนเป็นฉบับไหนๆพยาบาลก็ต้องทำงานอ่วมอยู่อย่างแท้แน่นอน เป็นด่านหน้า โดนบ่นโดนว่าก็ต้องท.ทหารอดทน จำไว้อยากเลือกเส้นทางเดินแบบนี้ แม้แต่สภาพยาบาลคงช่วยอะไรไม่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท