กลยุทธ์การบริหารที่ได้ทั้งคนและงาน


              กลยุทธ์การบริหารที่ได้ทั้งคนและงาน


                                                                                                                      โดย ถวิล อรัญเวศ
                                                                                                                   รอง ผอ.สพท.ชานาญการพิเศษ
                                                                                                                       สพป.นครราชสีมา เขต ๔

บทนา 

               นักบริหาร คือ “ผู้ทำงานให้ประสบผลสาเร็จโดยอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือของพี่น้องในองค์กรนั้น ๆได้ช่วยกันทำ”
                นักบริหารคงไม่สามารถจะทำงานให้ประสบผลสาเร็จได้ถ้ายึดอัตตาหรือเอาตนเองเป็นที่ตั้ง
                การบริหารที่จะได้ทั้งคนและงานหรือคำโบราณกล่าวไว้ว่า
                “จะทาอะไรก็ตาม ควรทำในลักษณะ “บัวไม่ให้ช้า น้าไม่ให้ขุ่น” หรือ ซึ่งคำพังเพยก็มีไว้
คือ“น้าร้อนปลาเป็น น้าเย็นปลาตาย”
                 การบริหาร คือการทำงานให้ประสบผลสาเร็จโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคนในหน่วยงานนั้น ๆ ช่วยกันทำ
                 นอกจากนี้แล้ว คงจะต้องอาศัยคนที่เกี่ยวข้องด้วย ได้ช่วยกันทา นี้ คือจุดสาคัญ เป็นคาสาคัญที่นักบริหารจะต้องท่องให้ขึ้นใจ นักบริหาร หรือผู้บริหาร ไม่สามารถทางานสาเร็จได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากคน
เหล่านั้น
                 ฉะนั้น ผู้บริหารจาต้องอาศัยศิลปะในการบริหารหรือใช้ภาวะผู้นำจึงจะสามารถบริหารงานได้อย่างราบรื่นและประสบผลสาเร็จได้
                 การบริหารที่จะได้ทั้งคนและงาน ต้องใช้ทั้ง “ศาสตร์ และศิลป์” เป็นเรื่องสาคัญ และควรเพิ่มเข้ามาอีก คือต้องใช้ทั้ง “ศาสน์ และศีล” คือ ต้องนาหลักคุณธรรมทางศาสนามาใช้ในการบริหารด้วย จึงจะทาให้เป็นเกราะคุ้มครองตนเองให้พ้นภัยทั้งหลายทั้งปวง
                 กลยุทธ์การบริหารที่ได้ทั้งคนและงาน
                 กลยุทธ์การบริหารคน
                ๑. ควรทำตนเป็นกัลยาณมิตรมากกว่าเป็นเจ้านาย หลักธรรมที่ควรนามาปรับใช้คือ รู้จักเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับที่ดี รู้จักพูดให้เหมาะกับกาลเทศะ รู้จักทาประโยชน์และวางตนเสมอต้นเสมอปลาย นอกจากนี้แล้ว ควรเป็นคนมีเหตุ มีผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้จักกาลเทศะ รู้จักบุคคล และรู้จักชุมชนด้วย
                ๒. ควรให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน บ่อยครั้งที่หัวหน้างานมักจะพูด หรือทำอะไรโดย“ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา” อยากพูดอะไรก็ได้ ไม่เกรงใจใคร ไม่ถนอมน้ำใจเพื่อนร่วมงาน คิดว่าตนเองมีอำนาจ มักใช้พระเดช มากกว่าการใช้พระคุณ ข้อนี้นับว่าเป็นภยันตรายอย่างใหญ่หลวงยิ่ง การบริหารที่ได้ใจคน คือการให้เกียรติ ให้ความเคารพ ความเป็นกัลยาณมิตรกับเพื่อนร่วมงาน มองเพื่อนร่วมงานเสมือนเพื่อนร่วมวิชาชีพ ใช้วัฒนธรรมการอยู่แบบพี่แบบน้อง
               ๓. ควรยึดหลักการทำงานแบบประชาธิปไตย การทำงานโดยยึดหลักประชาธิปไตยนั้น ในทางพระพุทธศาสนาเน้นมาก เช่น จะต้องแสดงออกทาง คารวะธรรมสามัคคีธรรม และปัญญาธรรม นั้น คือ การให้ความเคารพกันด้วยคุณวุฒิ ด้วยวัยวุฒิ และด้วยคุณงามความดี การจะทำอะไรก็พร้อมเพรียงกัน ยึดมติเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่พวกมากลากไป หรือมติมหาโจร เพราะถ้าเสียงส่วนใหญ่แบบพวกมากลากไป และไม่ ถูกต้องแล้ว ก็คงไม่ใช่ประชาธิปไตยในทางพระพุทธศาสนา
              ๔. ควรมีความเป็นกลาง ไม่หูเบาเชื่อคนง่าย มีคากลอนที่ว่า 

                   “ก่อนจะเชื่อสิ่งใด ให้พิสูจน์
                   ก่อนจะพูด ให้ยั้งคิด วินิจฉัย
                   ก่อนจะทำ กิจการ  งานใดใด
                   คิดให้รอบคอบ จึงจะชอบดี”
  

          คำกลอนนี้ ถือว่าเป็นเรื่องเตือนสตินักบริหารได้ ว่า จะต้องฟังหูไว้หู คิดดูให้แน่ ข้อไหนเท็จ ข้อไหนแท้เรานำมาใคร่ครวญก่อน อย่าด่วนตัดสินใครโดยไม่มีข้อมูล เพราะไม่เช่นนั้น จะทาให้ขาดความเชื่อมั่น ความศรัทธาจากเพื่อนร่วมงาน
          นอกจากนี้แล้ว ผู้บริหาร ควรนาหลักกาลามาสูตร ๑๐ ประการมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวด้วย คือ
อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพนสะการฟังตามๆ กันมา ด้วยการถือสืบๆ กันมา ด้วยการเล่าลือ กันมา ด้วยการอ้างว่ามีในตำราหรือคัมภีร์ เพราะตรรก เพราะการอนุมาน ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ หรือเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา ในหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา หลักธรรมข้อไหนกล่าวถึงเรื่องศรัทธา หรือความเชื่อไว้ ก็จะกากับด้วยหลักของปัญญาไว้ด้วยทุกครั้ง คือเชื่อ ศรัทธา แต่จะขาดเสียซึ่งปัญญาไม่ได้ เพราะก่อนเชื่อต้องใช้ปัญญาพิจารณาก่อนนั้นเอง ไม่ด่วนเชื่องมงาย เชื่อง่าย หรือหูเบา
             ๕. ไม่ควรหลงหรือบ้าอานาจ นักบริหารที่ดี
             “ไม่ควรเป็นผู้หลงอานาจ ฉ้อราษฎร์บังหลวง
              หลอกลวงลูกน้อง   ยกย่องคนประจบสอพลอ” 

เพราะนั้นคือจุดตายของนักบริหาร มีคาพังเพยกล่าวไว้ว่า
             ข้อแรก ผู้บริหาร คือผู้ทำอะไรถูกต้องเสมอ
             ข้อสอง ถ้าสงสัยให้กลับไปดูข้อแรก
คำเช่นนี้ เป็นคำเปรียบเปรยของนักบริหารที่ คิดว่าตนเองมีอานาจ จะทำอะไรก็ได้ ข้อนี้พึงละเว้นโดยเด็ดขาด

         กลยุกลยุทธ์การบริหารงาน
                กลยุทธ์ในการบริหารงาน ผู้บริหารสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ข้อเสนอแนะเป็นทางเลือก ไว้ ดังนี้
                ๑. สร้างศรัทธา คือการกระตุ้นให้คนในหน่วยงานรักงานที่เรากำลังทำ หรือที่ได้รับ มอบหมายให้ทา เพราะถ้าคนในหน่วยงานมีใจรักงาน ศรัทธางานที่ทาแล้ว เสมือนว่างานนั้นประสบผลสาเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง แต่การที่จะปลูกจิตได้ดั่งว่า ต้องใช้วิธีการเสริมขวัญกาลังใจและให้ความยุติธรรมในเรื่องผลการปฏิบัติงานด้วย นั้นคือ ปูนบาเหน็จความขอบตามสมควร มีความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
                 ๒. ปลูกจิตให้อาสาพากเพียร การที่จะส่งเสริมให้คนขยันทางาน หรือทางานโดยไม่ต้องไปกำกับติดตามอย่างใกล้ชิดมากนักนั้น นักบริหารต้องใช้ภาวะผู้นา คือเทคนิคความสามารถโน้มน้าวคนในองค์กรให้คล้อยตามความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน และจะสามารถนำองค์กรไปสู่เส้นชัยได้
                 ๓. ส่งเสริมให้คนในหน่วยงานเรียนให้เข้าใจงาน นักบริหารจะต้องมีวิธีพัฒนาคนในหน่วยงานให้มีความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำให้ได้ เพราะถ้าคนในหน่วยงานขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะทำแล้ว ก็ยากที่จะทำงานประสบผลสาเร็จ นักบริหารต้องสารวจว่า เพื่อนร่วมงานพร้อมหรือยัง เข้าใจหรือยัง ถ้ายัง ก็ต้องทำให้เพื่อนร่วมงานให้ เข้าใจ เช่น อบรมพัฒนาก่อนทำงาน เป็นต้น
                  ๔. ประสานสัมพันธ์ในการปรับปรุงพัฒนางาน นักบริหารต้องเป็นผู้ประสานงานที่ดี หรือที่กล่าวกันว่า
นักประสานสิบทิศ มีอะไรที่ยังคลุมเครือ ควรทำให้กระจ่างให้ได้ และงานที่มีข้อบกพร่อง ควรหาวิธีให้คนในหน่วยงานได้ช่วยกันปรับปรุงพัฒนางานให้ได้

 สรุป
               การบริหารที่จะได้ทั้งคนและงานนั้น ควรเป็นการบริหารที่เกิดมาจากความร่วมมือร่วมใจ จากผู้เกี่ยวข้อง
นักบริหารจำต้องบริหารโดยการเข้าไปครองใจคนในหน่วยงานให้ได้ ซึ่งการจะทาเช่นนั้นได้ นักบริหาร จำต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ หรือนำศาสน์ และศีล มาเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการทำงานให้ได้ สิ่งไหนดี นามาปฏิบัติ สิ่งไหนไม่ดี
ก็หลีกเลี่ยง สิ่งเหล่านี้ จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้บริหารสามารถครองตน ครองคน ครองงาน ประสานสัมพันธ์ หรือที่เรียกว่า “เก่งคน เก่งงาน และเก่งคิด” ก็จะทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารงานที่ได้ทั้งคนและงานตามความมุ่งหวังนั้นเอง
และสิ่งดังกล่าว จะทำให้การทำงานมีคุณภาพและมีความสุขไปพร้อม ๆ กันนั้นเองครับ




เอ

ง...

หมายเลขบันทึก: 532947เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2013 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2013 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบบทความนี้มาก เตือนสติในฐานะนักบริหาร สิ่งสำคัญคือฟังให้มาก พูดให้น้อย คิดให้รอบคอบ แง่คิดบ้างอย่างจะขอนำมาปรับใช้ตามศักยภาพน่ะครับ..ท่าน

เห็นด้วยทุกประการจ้ะ  แต่หลาย ๆ คนที่อยู่ในตำแหน่ง " บริหาร "  มักจะแม่นยำทฤษฎี เฉพาะในยามต้องสอบ หรือประเมิน เท่านั้น  หลังจากนั้น ไม่ค่อยคำนึงถึงหลักเกณฑ์   มุ่งเน้นแต่......" หลักกู"  เสียมากกว่า  ( ขออภัยที่ใช้คำไทยแท้ ๆ นะจ๊ะ ไม่สุภาพ  แต่ตรงประเด็นสื่อความชัดเจนจ้ะ )

เห็นด้วยกับคุณมะเดื่อ

แก้บทร้อยกรองนิดเดียว...

................................

..................................

...............................

ควรคิดให้ รอบคอบ จะชอบดี

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท