ตัวอย่าง "ทศพิษการศึกษาไทย" สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว


วันที่ 11 เมษายน 2556 ผมได้มีโอกาสคุยกับ ผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคอีสาน เป็นโรงเรียนขยายโอกาสถึงชั้น ม.3

ผมเคยตีความ "ทศพิษการศึกษาไทย" จากบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ไว้ ที่นี่ ครับ  วันนี้ผมมีหลักฐานมายืนยัน ทศพิษการศึกษา ข้อที่ 10 ครับ

ณ วงสนทนา ตามประสา วันหยุด.....

เราพูดถึงบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ คนหนึ่งที่เพิ่งจะเรียนจบการศึกษาปีนี้  ที่มีคนติดต่อขอเจรจา ขอใช้เชื่อในการไปจดทะเบียนเปิดร้านขายยา ว่าจะให้เดือนละ 10,000 บาท บันทิตใหม่ ปฏิเสธเสียงแข็ง ว่า ไม่ ไม่เด็ดขาด.... ผมฟังถึงตรงนี้ก็รู้สึกยินดีว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็ไม่เลวทีเดียว เพราะบัณฑิตนอกจะได้วิชาชีพแล้ว ยังได้รับการปลูกฝังอุดมการณ์มาด้วย......

ผมเล่าประสบการณ์การทำงานให้ท่าน ผอ.ฟัง สั้นๆ เกี่ยวกับโครงการที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของเงินได้ ท่านพูดขึ้นมาแม้ในขณะที่ผมเล่ายังไม่จบ แสดงว่า เรื่องที่ผมเล่า ไปสะกิดเข้ากับประสบการณ์ตรงของท่านเข้าแล้ว...  หน้าที่ผมก็เพียงแต่นั่งฟังเท่านั้นครับ ท่านพลั่งพลู ไม่ซิครับ ต้องบอกว่า ระบาย ออกมาให้ฟังว่า 

เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ทำกันจนเป็นเรื่องที่ ผอ.คนไหน ใครๆ ก็รู้ทั้งนั้น ผอ.ที่ไม่ยอมจำนนท์ ก็อดที่จะได้ยลกับงบประมาณจากส่วนกลาง.... ครั้งหนึ่งที่ ทางโรงเรียนเราต้องการทำถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 5 เมตร x 100 เมตร งบประมาณ ที่ช่างมืออาชีพมาตีราคาให้คือ 150,000 บาท ผอ.เสนอเรื่องนี้เพื่อของบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานเขตฯ....

ท่านเล่าให้ฟังว่า มีวิธีการจัดการอยู่ 2 แบบ คือ ทางเขตจัดการให้ทั้งหมด รวมทั้งหาผู้รับเหมามาทำให้ด้วย และอีกวิธีหนึ่งคือ มอบงบประมาณมายังโรงเรียน ให้ดำเนินการจัดทำจัดสร้างเอง 

ท่านเลือกวิธีหลัง คือ ทางโรงเรียนจะจัดสร้างเอง.... ท่าน ผอ.และครู พร้อมทั้งชาวบ้าน เริ่มลุยงาน ทำอยู่ไม่นาน ก็สำเร็จเรียบร้อย ได้ถนนกว้างกว่าเดิม แข็งแกร่งตรงตามต้องการ ใช้เงินไป 90,000 บาท 

เมื่อศึกษา ท่านพบว่า โครงการนี้ มีการเสนอของบประมาณ 200,000 บาท สรุปแล้ว เงินรั่วหายไปกว่า 50% ....... 

"ทำไมเราไม่เลือแบบแรกล่ะครับ จะได้สบาย ไม่ต้องเหนื่อยแรง" ผมถามด้วยความสงสัย

"ฮ่าๆๆๆ ..... " ท่านหัวเราะ ด้วยความรู้สึกว่า ไม่ได้เสียเปรียบใคร....  แล้วอธิบายว่า

หากเลือกวิธีแรก จะถูกหักไปก่อนทันทีว่า 40% คือ 80,000 บาท (เรียกว่า "กินตาม") นั่นคือ เงินจะเหลือ 120,000 บาท  แต่ช่างรับเหมา ที่เขาจะไปหามา จะทำเพียง 40% ของเงินที่เหลือคือ 48,000 บาท ที่เหลือ 72,000 บาท ถูก "ตามกิน" สรุปแล้วทั้ง "กินตาม" และ "ตามกิน" ปาเข้าไป 152,000 บาท เหลือถึงโรงเรียน 48,000 บาท.....ซึ่งเลือกทางแรกดีกว่า .....ฮา


ท่านปิดท้ายด้วยประโยคราบเรียบว่า "หากเราไม่ยอม เราก็ไม่มีสิทธิ์ได้โครงการใดๆ มาให้โรงเรียน"

อ่านแล้ว...... สิ่งที่เราควรทำ คือ ปลูกฝังอุดมการณ์ คุณธรรม จริยธรรม และอุปนิสัยพอเพียง ให้กับนักเรียน ให้มากครับ..... รอไม่นาน กฏของกรรมจะทำงาน ลูกหลานเราที่ทำแต่ความดีเหล่านั้น จะเป็นกำลังสำคัญของการเปลี่ยนแปลง......

หมายเลขบันทึก: 532771เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2013 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2013 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาให้กำลังใจคนทำดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท