สำมะโนเกษตร....เหล้าเก่าในขวดใหม่


การสำมะโนการเกษตรทั่วประเทศนั้น ทำกัน 10 ปีต่อครั้ง....ครั้งล่าสุดเมื่อประมาณปี 2546  ขณะนี้หมุนเวียนมาอีกครา ในรูปแบบใหม่......ที่อยู่ระหว่างการคัดเลือกพนักงานแจงนับ(อกม) และเจ้าหน้าที่วิชาการ มีขันตอนที่สำคัญ คือ การอบรมเจ้าหน้าที่วิชาการประจำอำเภอ เจ้าหน้าท่วิชาการประจำอำเภออบรมต่อสู่พนักงานแจงนับ(อกม)  และร่วมกันเก็บข้อมูล และ การตรวจติดตาม แก้ไขปัญหาการสำมะโนเกษตร...จนเสร็จสิ้นตามเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้อุปสรรค ทีมองเห็นได้จาก...

-การเปลี่ยนพนักงานแจงนับ(ผู้เก็บขอมูล) จากการจางเก็บ เป็นขอความร่วมมือ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน(อกม) เป็น ผู้เก็บข้อมูล ซึ่งฟังดูหน้าจะเหมาะสมอย่างมาก เพราะอาสาสมัครเกษตรส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ในชุมชน รู้จักชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง บางเป็นผู้นำชุมชนเอง เป็นคนที่ชุมชนไว้วางใจ บางเป็นเกษตรกรที่รู้ปัญหาการเกษตรเป็นอย่างดียิ่ง หากแต่วิธีการเก็บ ที่ใช้เทคโนโลยี แท็ปเลต  ในการเก็บข้อมูล ทำให้ อาสาสมัครเกษตรส่วนใหญ่ต้องถอยออกจากการเข้าร่วมโครงการนี้อย่างน่าเสียดายยิ่ง  ทั้งคุสมบัติ และควมสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์แม้จะจัดการอบรมก็ไม่ได้หมายความให้คนที่ไม่มีความรู้และเคยใช้เท็ปเลต มาเลยสามารถใช้ปฏิบัติงานได้  สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษรอำเภอจะบริหารจัดการตรงนี้อย่างไร

-เจ้าหน้าที่วิชาการ ที่ใช้นักวิชาการส่งเสริมกาเกษตร ระดับอำเภอเป็นหลัก ท่ามกลางงานตามภาระกิจที่รุมล้อม ทั้งการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจสำคัญ(ทพศ) งานตามโครงการ งานยุทผธศาสตร์จังหวัด และอื่นๆ เจ้าหน้าที่ที่รับมอบหมายจะมีวิธีการบริหารจัดการเวลาอย่างไรจึงจะเหมาะสม ไม่เสียงานทั้งสองส่วน 

-ระยะเวลา  ระยะเวลาในการดำเนินงาน ที่สั้น เพียงหนึ่งเดือน กับการเดินสำรวจขอมู้ลทุกครัวเรือนที่มีในหมู๋บ้าน ในขณะที่ในชุมชนชนบท หนึ่งหมู่บ้านมีหลายหย่อมบ้าน และห่างไกลกัน  สำหรับชุมชนเมือง  เป็นชุมชนที่มีการทำการเกษตรประปราย เราจะแก้ปัญหา บริหารจัดการงานตรงนี้อย่างไรให้หมาะสม

-การกระจายครัวเรือน แบ่งเป้าหมาย เพื่อความเป็นธรรมแก่นักงานแจงนับ ให้เกดสัดสวนรายได้ท่เหมาะสม เท่าเทียม ไม่เหลื่อมล้ำ ว่าบ้างหมู่บ้านเก็บข้อมมูลง่าย ครัวเรอนมาก  และใขณะที่บางชุมชนเก็บข้อมูลมาก และครัวเรือนน้อย  เรื่องเหลานี้ สำนักงานเกษตรอำเภอจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเกิดการเหมาะสม 

เป็นคำถามที่มาพร้อมกับมองไปที่ทางออกว่า ไม่ีมีอะไรใต้หล้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรทำไม่ได้  หากแต่เราต้องคิด แก้ปัญาร่วมกัน.....มองถึงความสำเร็จ และข้อมูลที่เราเองควรจะได้ใชประโยชน์เป็นอัดดับแรก โอกาสของการได้ข้อมูลจากการเข้าไปขอข้อมูลทุกครัวเรือนซึงไม่อาจทำได้ในการสำรวจขอมูลปกติ เช่น การขึ้นทะเบียนพืช เป็นต้น  การที่อาสาสมัครเกษตรได้มีโอกาสร่วมปฏิบัติงานที่สำคัญ ที่จะเป็นผลงานและชื่อเสียงของเขา วางรากฐานความสำตัญขององค์กรจนเป็นท่ยอมรับตอไป...งานที่ผ่านเข้ามาครั้งนี้ ก็เป็นเพียงงานเดิมๆงานหนึ่งที่เราทำผ่านมาแล้วมากมาย ไม่เหลือบ่ากว่าแรง หรือยังไงลองแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ..

หมายเลขบันทึก: 531748เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2013 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2013 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • ขอคุยอย่างตรงไปตรงมา ..
  • น่าเสียดาย ..องค์กรกรมส่งเสริม..น่าจะทบทวนการปฎิบัติในภาระกิจหลักๆ ให้เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม โดยเฉพาะข้อมูล องค์กรนี้มีมาก แต่ขาดการปรับปรุงต่อยอด และขาดระบบเชื่อมโยงนำมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ..ที่สำคัญ..ควรสร้างเสริม/พัฒนาระบบการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่ได้มีขวัญกำลังใจ มากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่..
  • นี้ลุยข้างหน้า ข้างหลังตูดขาด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท