กระบวนการเพิ่มความสุข(Well-Being) ในผู้มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)


หลังจาก2บทความที่แล้วที่กล่าวถึงความสามารถในการทำกิจกรรมและคุณภาพชีวิต

ความสามารถในการทำกิจกรรมดำเนิชีวิตของผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

การพัฒนาคุณภาพชีวิต(Quality of Life)ในผู้มีภาวะกลืนลำบาก(Dysphagia)

ต่อไปเราจะมาพูดถึง"ความสุข"ในผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบากกัน

                                   

ในองค์การอนามัยได้ให้ความหมายของสุขภาพไว้ว่า “Health  is  complete  physical,  mental,  social  and  spiritual  well  being.”  ซึ่งหมายถึงสุขภาวะที่สมบูรณ์ทางกายทางจิต  ทางสังคมและทางจิตวิญญาณ

          ซึ่งความสุขจะเกิดขึ้นได้นั้นอยู่ หลายๆภาวะประกอบกัน ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งจากบทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงการปรับทางกายและทางสังคมไปบ้างแล้ว

          ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนภาวะทางจิต และ ทางจิตวิญญาณเพื่อเพิ่มความสุขกันครับ

          ในผู้มีภาวะกลืนลำบากนั้นจะเริ่มมีความสุขน้อยลง อันมาจาก จิตใจของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งผู้ป่วยจะคิดเสมอว่า ตัวเองรับประทานอาหารไม่ได้ รับประทานอาหารลำบาก หรือรับประทานอาหารแล้วมีอาการเจ็บ ทรมาณ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่อยากที่จะรับประทานอาหาร อันส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิต

          และในทางจิตวิญญาณนั้น ผู้ป่วยจะเชื่อว่าอาหารที่กินเข้าไปแล้วรู้สึกเจ็บนั้น มันไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับเรา ซึ่งก็จะไม่กิน อันเป็นผลมากจากกระบวนการคิดและประสบการณ์ที่เคยเจอมาโดยอาจจะแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น ในเด็ก อาจจะทานไปแล้วคายออกมาหรือ อาจจะร้องไห้ หรือกลัวอาหารสิ่งนั้น ในผู้ใหญ่ ก็อาจจะไม่แตะต้องอาหารชนิดนั้น และเลือกที่จะไม่ลองกินอีก

         ในการที่จะเพิ่มความสุขของผู้ป่วยได้นั้นจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดของสิ่งแวดล้อมตัวก่อน ทั้งคนรอบข้าง หรืออุปกรณ์ สถานที่ต่างๆ จากนั้นจึงมาปรับในด้านของจิตวิญญาน หรือ จิตใจแทน

                                       

         โดยเราจะเน้นให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงอาการของโรคที่เป็นอยู่ว่าไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด และหากไม่เริ่มที่จะฝึก ก็จะทำให้ภาวะนั้นคงที่หรือแย่ลงกว่าเดิม โดยเราจะใช้กิจกรรมต่างๆในการที่จะทำให้ผู้ป่วยสนใจกับการกลืน  และจะต้องไม่เร่งเร้าในการรับประทานอาหาร เพราะจะส่งผลให้ผู้ป่วยกลัว และไม่อยากทำ ซึ่งไม่เพียงแต่จากตัวผู้ป่วยเอง แม้แต่คนรอบข้าง ควรที่จะเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นอยู่และ ให้การสนับสนุนต่อผู้ป่วยในการกิน เช่นอาจจะพาไปรับประทานอาหารนอกบ้านบ้าง ให้พบเจอกับสังคม เพื่อทำให้ผู้ป่วยกล้าที่จะเผชิญต่อสังคมและสามารถมีชีวิตได้อย่างมีความสุข

        การที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้ จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ทั้งจากตัวบุคคล สิ่งแวดล้อม หรือบริบท โดยเมื่อสามารถปรับเปลี่ยนได้แล้วการมาปรับที่ตัวบุคคลเองนั้น จะส่งผลให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิตกับสภาวะที่เขาเป็นอยู่ได้



อนุชิต อุปเวียง.ภาวะกลืนลำบาก(Dysphasia)[ElectronicMaterial].2555[2013 Feb 21].Available from :http://mccormickhospital.blogspot.com/2012/05/dysphasia.html


หมายเลขบันทึก: 520415เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท