ข้อแนะนำใหม่ล่าสุดขององค์การอนามัยโลกในการบริโภคโซเดียมและโปตัสเซียม


มีข้อแนะนำใหม่ล่าสุดขององค์การอนามัยโลก (WHO- The World Health Organizationออกมาสองฉบับที่สมควรช่วยกันเผยแพร่เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ นั่นคือ ข้อแนะนำในการบริโภคโซเดียม ฉบับหนึ่ง และอีกฉบับหนึ่งคือ ข้อแนะนำในการบริโภคโปตัสเซียม โดยมีบทความสำหรับสื่อที่บอกถึงสาเหตุที่มีการออกข้อแนะนำทั้งสองฉบับออกมา เพราะปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่บริโภคโซเดียมมากเกินไป แต่บริโภคโปตัสเซียมน้อยเกินไป ซึ่งตามคำแนะนำจะบอกว่าสำหรับผู้ใหญ่ในแต่ละวันควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม ซึ่งเท่ากับเกลือ 5 กรัม และควรบริโภคโปตัสเซียมอย่างน้อย 3,510 มิลลิกรัม เพราะในคนที่มีระดับโซเดียมสูงไปและโปตัสเซียมต่ำไป จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ซึ่งยังคงเป็นตัวการใหญ่ของการเสียชีวิตและทุพพลภาพของประชากรโลกในปัจจุบัน ในข้อแนะนำนี้มีทั้งสำหรับในเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไปด้วย เพราะเขาพบว่าเด็กที่มีความดันโลหิตสูงก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน 

ในบทความสำหรับสื่อมีตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมและปริมาณไว้ให้เราประเมินการบริโภคด้วยค่ะ ขอเอามาฝากกันด้วยดังนี้ 

นมและครีม (มีโซเดียมประมาณ 50 มิลลิกรัม/100 กรัม) ไข่ (มีประมาณ 80 มิลลิกรัม/100 กรัม) แต่ถ้าเป็นอาหารปรุงแต่งก็จะมีในปริมาณมากขึ้น เช่น ในขนมปัง (มีประมาณ 250 มิลลิกรัม/100 กรัม) เบคอน (มีประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/100 กรัม) อาหารกลุ่มสแน็คเช่น  pretzels, cheese puffs และข้าวโพดคั่ว (มีประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/100 กรัม) รวมทั้งในเครื่องปรุงรสเช่นซอสถั่วเหลือง (มีประมาณ 7,000 มิลลิกรัม/100 กรัม) ซุปก้อน (มีประมาณ 20,000 มิลลิกรัม/100 กรัม) 

ส่วนอาหารที่มีโปตัสเซียมได้แก่ ถั่วแบบฝักต่างๆ (มีโปตัสเซียมประมาณ 1,300 มิลลิกรัม/100 กรัม) ถั่วแบบเม็ดๆ (มีประมาณ 600 มิลลิกรัม/100 กรัม) ผักต่างๆเช่น ผักโขม กะหล่ำปลี ผักชีฝรั่ง (มีประมาณ 550 มิลลิกรัม/100 กรัม) ส่วนผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ อินทผลัม (dates) (มีประมาณ 300 มิลลิกรัม/100 กรัม) ถ้ามีแปลงรูปผักผลไม้เหล่านี้ก็จะมีปริมาณโปตัสเซียมลดลง

เราในฐานะผู้บริโภคก็ควรจะมีความรู้ในการเลือกการบริโภคที่ทำให้เรามีสุขภาพดี ไม่ต้องเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้กันด้วยนะคะ ต้องระลึกเอาไว้เสมอว่า เพียงมีวินัยในการบริโภคเท่านั้นก็สามารถช่วยให้เราไม่ต้องเป็นโรคที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตทั้งหลาย เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และจะได้มีชีวิตที่ยืนยาวได้อย่างมีคุณภาพ เป็นสิ่งที่เราเองเท่านั้นจะทำเพื่อตัวเองได้ 


หมายเลขบันทึก: 519123เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

Thank you for the basic health info.

We do have to learn to look after ourselves.

(I go bananas, but less salt, much less sugar, much much less alcohol, and no smoking! ;)

ขอบคุณ อาจารย์ โอ๋ ที่นำข้อมูลนี้มาเรียนรู้ เรื่องคงนำไปเป็นหัวข้อในการสนทนา สมัชชาสุขภาพ คนเมืองลุง ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ นี้ที่ โรงแรวังโนราห์ 


ขอบคุณมากค่ะ..ความสมดุลในการบริโภคเป็นเรื่องสำคัญมากๆนะคะ

น่าสนใจ แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่ม  ขอบคุณพี่โอ๋มากๆ ครับ

เพื่อสุขภาพก็พยายามเลือกของบริโภคให้ได้ไกล้เคียงมากที่สุดเท่าที่จะเลือกหาได้

 ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

ขอบคุณบทความดีๆเพื่อสุขภาพนะคะ

  • ขอขอบพระคุณ ในสาระดี มีคุณค่า ที่นำมาแบ่งปันครับ

ขอบคุณขอมูลมากครับพี่โอ๋...ต้องไปบอกต่อครับ...ข้อมูลน่าทึ่งซุปก้อน...มีประมาณ 20,000 มิลลิกรัม/100 กรัม...ผงชูรสที่คนแถวบ้านกินต้องมีโซเดียมมากมายแน่นอนจริงไหมครับ 

ขอบคุณทุกความเห็นและดอกไม้นะคะ จะดีใจมากๆค่ะถ้าความรู้นี้จะได้ช่วยกันแพร่ขยายไป เพราะน่าเป็นห่วงคนของเราจริงๆที่น่าจะบริโภคเกลือกันเกินขนาด ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดโรคต่อไปในอนาคตแน่ๆ คุณIco48 คะ พี่โอ๋ก็ทึ่งเหมือนกันเลยค่ะกับปริมาณโซเดียมในซุปก้อนนี่ เยอะอย่างน่ากลัวจริงๆ ต้องเตือนกันต่อๆไป

เมื่อได้อ่านแล้ว เป็นข้อความที่ น่าสนใจอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอาตมา  ที่กำลังระวังโรคเบาหวานอยู่ ปัจจุบัน ขอบคุณและดีใจที่ได้ติดตาม เจริญพร

ขอบคุณค่ะ 

จะได้เริ่มโปรแกรมให้เหมาะสมกับตัวเอง

และนำไปให้เพื่อนๆได้ปรับสมดุลร่างกายด้วยอาหารค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท