โครงการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนสำหรับบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร


การสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนสำหรับบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร


บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
(บุคคลเลข 0)

ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วย การจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย พ.ศ.2551 ลงวันที่ 23 กันยายน 2551


มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548

เห็นชอบและอนุมัติยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2549

อนุมัติในหลักการโครงการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนสำหรับบุคคลที่ไม่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนราษฎร

ให้ความคุ้มครองกับบุคคลที่ได้รับการสำรวจในระยะเวลาที่ทำการสำรวจและหลังจากการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวเสร็จสิ้นแล้วโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522 มาตรา 17 ให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับและอนุญาตให้ออกนอกเขตที่อยู่อาศัยเพื่อไปทำงานตาม พระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.2521

หมายเหตุ

(1) กลุ่มบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ประเภทที่อาศัยอยู่มานานซึ่งสำรวจภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึงปี พ.ศ. 2552)

(2) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 17 "ในกรณีพิเศษเฉพาะเรื่อง รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้คนต่างด้าวผู้ใดหรือจำพวกใดเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขใด ๆ หรือจะยกเว้นไม่จำต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีใด ๆ ก็ได้"

(3) ดำเนินการตาม ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2548

เลขประจำตัวของบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนประกอบด้วยเลข 13 หลัก ดังนี้

0 - 0000 - 89000 - 00 - 0

แบบบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

การสำรวจบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติครม. เมื่อ 18 มกราคม 2548


กำหนดสถานะของบุคคลไว้ 6 ประเภท ดังนี้

1บุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยไว้เดิมแต่ตกสำรวจ

มีแนวทางการสำรวจดังนี้

(1)จะต้องเป็นบุคคลที่เข้ามาในประเทศไทยภายในวันที่ 30 กันยายน 2542

(2) บุคคลที่จะได้รับการสำรวจจะต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นซึ่งสามารถตรวจสอบได้และเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัตินั้นโดยมีบิดาและมารดาเดียวกัน หรือมีบิดาเดียวกัน หรือมารดาเดียวกัน

(3)การบันทึกรายการบุคคลที่ได้รับการสำรวจใหม่ให้ดำเนินการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ตามทะเบียนประวัติเท่านั้น

(4)บุคคลที่ได้รับการสำรวจที่มีหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดงเช่น ทะเบียนบ้านบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย (ท.ร.13) ทะเบียนสงเคราะห์ชาวเขาหรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในประเทศไทยภายในวันที่30 กันยายน 2542

(5) การบันทึกรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเมื่อเลือกกลุ่มที่ 1 แล้วต้องเลือกข้อย่อย จำนวน 23 กลุ่มบุคคล ดังนี้

1.บุคคลบนพื้นที่สูง

2.อดีตทหารจีนคณะชาติ

3.จีนฮ่ออพยพพลเรือน

4.จีนฮ่ออิสระ

5.ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า

6.ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า(อยู่ถาวร)

7.ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า(อยู่กับนายจ้าง)

8.เวียดนามอพยพ

9.ลาวอพยพ

10.เนปาลอพยพ

11.ตองเหลือง

12. ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย

13. ไทยลื้อ

14. ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา

15ผู้หลบหนีเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา

16. ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา

17. ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย(ก่อน9 มี.ค.2519)

18. ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย(หลัง9 มี.ค.2519)

19. ชุมชนบนพื้นที่สูง (ชาวเขา 9 เผ่า)

20. ชุมชนบนพื้นที่สูง (ไม่ใช่ชาวเขา)

21. มอร์แกน

22. หลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้


กลุ่มที่ 2เด็กนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ

แนวทางการสำรวจ

(1) เป็นการสำรวจต่อเนื่องจากปี 2548- 2551ซึ่งโรงเรียนเป็นผู้ทำการสำรวจและส่งข้อมูลให้สำนักทะเบียนทำการบันทึกรายการบุคคลและถ่ายบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางการทะเบียน

(2) การบันทึกรายการบุคคลในทะเบียนบ้านถ้าเป็นเด็กนักเรียนที่มีบิดามารดามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านให้บันทึกรายการบุคคลในทะเบียนบ้านนั้นหรือบ้านที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียน

(3) การบันทึกรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้เลือกกลุ่มที่2


กลุ่มที่ 3 บุคคลไร้รากเหง้า

แนวทางการสำรวจ

(1) เป็นการสำรวจโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยหน่วยงานในสังกัดทุกแห่งที่ดูแลบุคคลไร้รากเหง้าเป็นผู้ทำการสำรวจแล้วส่งข้อมูลให้สำนักทะเบียนเพื่อที่จะทำการบันทึกรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและถ่ายบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางการ ทะเบียน

(2) การบันทึกรายการบุคคลในทะเบียนบ้านถ้าให้ทำการบันทึกลงในบ้านที่เป็นสถานสงเคราะห์หรือสถานพินิจ ตามที่สำรวจมา

(3) การบันทึกรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้เลือกกลุ่มที่3


กลุ่มที่ 4บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ

แนวทางการสำรวจ

(1) เป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยติดต่อกันก่อนวันที่18 มกราคม 2548

(2) เป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยในด้านต่างๆที่มีผลงานความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ เช่น ด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การกีฬา รวมถึงด้านอื่น ๆเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยรวม และจะต้องมีหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่าระดับกรมหรือเทียบเท่าเป็นผู้รับรอง

(3) สำนักทะเบียนบันทึกรายละเอียดตามแบบสำรวจ(แบบ 89) รวบรวมเอกสารตามข้อ (2) เก็บไว้เป็นหลักฐานและทำการสอบสวนผู้ที่ได้รับการสำรวจตามบันทึก(ปค.14)

(4) การบันทึกรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้ทำการบันทึกลงในบ้านที่อาศัยอยู่จริงขณะที่ทำการสำรวจ

(5) การบันทึกรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรให้เลือกกลุ่มที่4


กลุ่มที่ 5กลุ่มแรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา)

ระงับการสำรวจไว้ก่อนเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนก่อน


กลุ่มที่ 6กลุ่มต่างด้าวอื่น ๆ

ระงับการสำรวจไว้ก่อนเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนก่อน

แนวทางแก้ไขกรณีที่มีรายการบุคคลซ้ำซ้อนกับรายการอื่น

(1) รายการบุคคลประเภท 0 ซ้ำกับรายการบุคคลประเภท 6

การแก้ไข จำหน่ายรายการบุคคลประเภท 0 (ด้วย ทร.97 ข้อ 209)

(2)รายการบุคคลประเภท 0 ซ้ำกับรายการบุคคลประเภท 0

การแก้ไข จำหน่ายรายการบุคคลประเภท 0ครั้งล่าสุดแล้วไปใช้ข้อมูลเดิมถ้าเลือกกลุ่มบุคคลไม่ตรงให้แก้ไขโดยวิธีการเปลี่ยนกลุ่ม

(3)รายการบุคคลประเภท 0 ซ้ำกับรายการบุคคลประเภท 00

การแก้ไข จำหน่ายรายการบุคคลประเภท 00 ในกรณีที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติไว้และไม่ได้ขออนุญาตทำงานกับกรมจัดหางาน

(4)รายการบุคคลประเภท 0 ซ้ำกับรายการบุคคลประเภท 00

การแก้ไขจำหน่ายรายการบุคคลประเภท 00 ในกรณีที่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติไว้ขออนุญาตทำงานกับกรมจัดหางานในปีแรกและไม่เคยต่อใบอนุญาตทำงาน

(5) รายการบุคคลประเภท 0 ซ้ำกับรายการบุคคลประเภท 00

การแก้ไข จำหน่ายรายการบุคคลประเภท 0ในกรณีที่ได้ขออนุญาตทำงานกับกรมจัดหางานอย่างต่อเนื่อง


หนังสือเวียนเกี่ยวกับการจัดทำบัตรประจำตัวจัดทำบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน

สำนักทะเบียนกลาง ที่ มท 0309.1/ว19ลงวันที่ 9 เมษายน 2552


ทบทวนการสำรวจตามกลุ่มเป้าหมายเดิมว่าครบขั้นตอนหรือไม่

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจตามแบบ 89

ขั้นตอนที่ 2 ประชาคมหมู่บ้าน

ขั้นตอนที่ 3 บันทึกรายการในฐานข้อมูล ขั้นตอนที่4 จัดทำบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน


ทบทวนการจำแนกประเภทของกลุ่มบุคคล

กลุ่มที่ 1บุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยไว้เดิมแต่ตกสำรวจ

กลุ่มที่ 2 เด็กนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ

กลุ่มที่ 3 คนไร้รากเหง้า

กลุ่มที่ 4บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ


การสำรวจใหม่ให้ชะลอไว้ก่อนเนื่องจากยุทธศาสตร์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2550 สิ้นสุดในวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2552 อยู่ระหว่าการขยายยุทธศาสตร์แจ้งให้ทราบภายหลัง



การแก้ไขและปรับปรุงรายการบุคคลในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร

ขั้นตอนการดำเนินงาน

แก้ไขปรับปรุงแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (แบบ 89) ให้มีข้อความที่สมบูรณ์เช่น รายละเอียดของผู้ยื่นคำขอ คำสั่งของนายทะเบียน ลายมือชื่อของนายทะเบียนในแบบสำรวจ

กรณีตรวจสอบแล้วปรากฏว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติของแต่ละกลุ่มให้ดำเนินการยกเลิกรายการบุคคลรายการบัตรประจำตัวและเรียกบัตรประจำตัวคืนโดยถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการโต้แย้งหรือชี้แจงข้อเท็จจริงการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน พ.ศ.2551 (ระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนแจ้งให้คู่กรณีทราบภายใน 3 วันให้คู่กรณีโต้แย้งหรือชี้แจงข้อเท็จจริงของตนภายใน 30 วัน )


ข้อมูลสถิติการเพิ่มรายการบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน 1 ม.ค.2547-18 เม.ย.2552

กลุ่มที่ 1บุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่ได้รับการจัดทำทะเบียน ประวัติชนกลุ่มน้อยไว้เดิมแต่ตกสำรวจ จำนวน 130,432คน

กลุ่มที่ 2เด็กนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ จำนวน 65,391 คน

กลุ่มที่ 3 คนไร้รากเหง้า จำนวน 3,572 คน

กลุ่มที่ 4 บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติจำนวน 22 คน

กลุ่มที่ 5 แรงงานต่างด้าว จำนวน 219 คน

กลุ่มที่ 6 ต่างด้าวอื่น ๆ จำนวน 311 คน

กลุ่มที่ 7 โครงการเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1,291 คน


อ้างอิง

(1) ข้อมูลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน  (จังหวัดระนอง)www.senate.go.th/w3c/senate/pi...

&  http://118.174.31.136/data_pdf/train52_15.ppt

(2) ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการสำรวจและการจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2548, https://www.gotoknow.org/posts...

https://mis.dopa.go.th/dopalaw...

(3) ความเห็นทางกฎหมายต่อสถานะบุคคล และหารือถึงแนวทางในการจัดการเพื่อคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพขั้นพื้นฐาน สิทธิอาศัยในราชอาณาจักรตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และสิทธิในการพัฒนาสถานะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล จากการควบคุมตัวโดยสถานีตำรวจนครบาลพระโขนง และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สวนพลู) กรณีนายสมาน สาทวีสุข, โดย ดรุณีไพศาลพาณิชย์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, และนักกฎหมาย สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ, 2554, https://prachatai.com/sites/de...

(4) "พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555"

ลิงค์ดาวน์โหลด พรบ.แก้ไขถึงฉบับที่ 5 (Multiversional, both Word & PDF files)

https://www.mediafire.com/?cpk4kf3k4hgo717

http://www.mediafire.com/download/cpk4kf3k4hgo717/NationalityAct2508toNo5PSK2555.doc

http://www.mediafire.com/download/07jy0l1k3nmp1dg/พระราชบัญญัติสัญชาติ2508ถึงฉ5-2555update9short.doc

http://www.mediafire.com/download/7683g4tq8ztd68f/พระราชบัญญัติสัญชาติ2508ถึงฉ5-2555update9short.pdf

http://www.mediafire.com/download/grcxnb62gi6r0vb/NationalityAct2508toNo5PSK2555-09.pdf

หมายเลขบันทึก: 510664เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2017 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ทำอย่าไร ถึงจะได้ชัสชาดไทย

ตอบคุณ [email protected] -ขอสรุปสั้น ๆ อย่างง่ายที่สุด ลองไปอ่านและทำความเข้าใจตามนี้ก่อน หากไม่เข้าใจให้ถามเจ้าหน้าที่ หรือถามท่านผู้รู้ การที่บุตรหลานของคนต่างด้าวจะ “ขอลงรายการสัญชาติไทย” ได้ ดังนี้ประการแรก เราต้องเกิดในประเทศไทยเท่านั้น โดยมีพ่อและแม่เป็นบุคคลต่างด้าว หากเกิดต่างประเทศจะไม่มีสิทธิประการที่สอง ดูว่าเราเกิดที่ไหน เช่น เกิดที่บ้าน หรือ เกิดที่ รพ. และเราเมื่อใด หากเกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 จะเป็นกลุ่มบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง ที่จะขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 รวมที่แก้ไขเพิ่มเติมหากเกิดหลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 ก็จะเป็นกลุ่มบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง ที่จะขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง แห่ง พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 รวมที่แก้ไขเพิ่มเติมให้ดูจากหลักฐานการเกิด หรือหลักฐานทางทะเบียนที่ได้ลงทะเบียนไว้ หากไม่มีหลักฐานใด ๆ เลยก็จะไม่ได้ คือต้องไปจัดทำทะเบียนให้เรียบร้อยเสียก่อน ประการที่สาม ดูว่าเราเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มใด คือ กลุ่มที่ 1- 4 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 หมายถึงคนที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งโครงการนี้สิ้นสุดไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย โดยไม่มีหลักฐานใด ๆ เลย และ ไม่สามารถถือสัญชาติอื่นได้ หรือ ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้ ให้ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อบุคคล “ประเภท 0” (กลุ่ม 00) หรือ “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” ต่อนายกทะเบียนที่ตนเองมีภูมิลำเนาได้ ตามหนังสือสำนักทะเบียนกลางที่ มท 0309.1/ว 36 ลงวันที่ 29 กันยายน 2559 เรื่อง การจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือบุคคลประเภท 0

ทำใบออกนอกเขตมาเวลาไม่พออยู่ใกล7000บาทแล้วค่ารถ​ค่ากินเอกสารรวมหมดในแต่ละครั้ง

หนูอยู่เมืองไทยมาจะ20ปีแล้วคะ แต่ได้บัตร10ปีตอนอยู่ป.3ปัจจุบันจบ ป.ตรี จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยังรอโอกาสและหวังว่าสักวันจะได้สัญชาติไทย เพื่อจะได้ง่ายต่อการทำงาน และการเดินทางและอีกมากมายซึ่งจำดป็นต่อการดำเนินชีวิต จบสูงแค่ไหน หรือเก่งแค่ไหนหรือมีความสามารถแค่ไหน หากคุณไม่มีบัตรประชาชน นั่นไม่ได้ทำให้คนอื่นตัดสินว่า เขาจะรับเราเข้าทำงาน หรือมองเห็นศักยภาพที่เรามี (บอกเลยมันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่คนไทยไม่ให้ความสำคัญกับคนเหล่านี้ อยากให้รู้ว่ายังมีอีกหลายคนที่เขารอโอกาสและอยากมีชีวิตที่ดี

หนูอยู่เมืองไทยมาจะ20ปีแล้วคะ แต่ได้บัตร10ปีตอนอยู่ป.3ปัจจุบันจบ ป.ตรี จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยังรอโอกาสและหวังว่าสักวันจะได้สัญชาติไทย เพื่อจะได้ง่ายต่อการทำงาน และการเดินทางและอีกมากมายซึ่งจำดป็นต่อการดำเนินชีวิต จบสูงแค่ไหน หรือเก่งแค่ไหนหรือมีความสามารถแค่ไหน หากคุณไม่มีบัตรประชาชน นั่นไม่ได้ทำให้คนอื่นตัดสินว่า เขาจะรับเราเข้าทำงาน หรือมองเห็นศักยภาพที่เรามี (บอกเลยมันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่คนไทยไม่ให้ความสำคัญกับคนเหล่านี้ อยากให้รู้ว่ายังมีอีกหลายคนที่เขารอโอกาสและอยากมีชีวิตที่ดี

ตอบคุณ [email protected]ให้น้องย้อนไปดูคุณสมบัติของตนเองว่า เกิดประเทศไทยหรือไม่ และมีคุณสมบัติ “ขอลงรายการสัญชาติไทย” ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 หรือไม่อย่างไร … ป่วยการที่น้องจะมานั่งบ่น และท้อว่า ไม่มีสัญชาติไทย เพราะ ตาม มติ ครม. เปิดโอกาสให้ บุตรต่างด้าว (หมายถึงผู้ที่มีพ่อแม่เป็นคนต่างด้าว) ที่เกิดในประเทศไทย สามารถขอลงรายการสัญชาติไทยได้ และ นอกจากนี้ หากเกิดต่างประเทศ ก็ยังขอ “มีถิ่นที่อยู่ถาวร” (ต่างด้าวบุคคลเลข 8) ได้ หรือ หาก ไม่ปรากฏสถานที่เกิด เช่น เป็นบยุคคลไร้รากเหง้า หรือ ไม่สามารถพิสูจน์สถาที่เกิดได้ว่า “เกิดในประเทศไทย” ก็ยังมีช่องทางในการขอลงรายการสัญชาติไทยได้ ตามกฎหมายใหม่… ลองไปศึกษาด่วน … ให้โทรปรึกษาสายด่วนการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง โทร 1548 ได้ หรือ ว่าง ๆ ให้เข้าไปศึกษาได้ใน เฟซบุ๊ค กลุ่มนี้ โดยต้องสมัครสมาชิกเข้ากลุ่มก่อน เพราะเป็นกลุ่มปิด… ตามนี้…https://www.facebook.com/groups/326473924224367/?ref=bookmarks

เกิดที่ไทย พ่อแม่ไม่แจ้งเกิด เลยกลายเป็นคนไม่มีสัญชาติ ต้องทำยังไงคับ ถึงจะได้สัญชาติไทย

ตอบคุณ [email protected](1) ไม่ได้แจ้งการเกิด หากมีพยานหลักฐานการเกิด เช่น หากเกิด รพ. จะมีหนังสือรับรองการเกิด (ทร.1/1) หรือ หากเกิดที่บ้าน ก็ต้องมีพยานรู้เห็นการเกิด(2) หากมีหลักฐานตาม (1) ก็สามารถขอแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลาได้ (3) หากกรณีไม่แจ้งการเกิด ก็สามารถขอหนังสือรับรองการเกิดจากนายทะเบียนท้องที่ที่เกิด หรือ ท้องที่ที่มีชื่ออยู่ (มีทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนประวัติ)(4) ในกรณีที่ยังไม่มีเอกสารหลักฐานใด ๆ ประจำตัวเลย คือ ยังไม่มีเลข 13 หลัก ก็ให้ไปติดต่อสำนักทะเบียนที่เราอยู่ เพื่อขอเพิ่มชื่อ “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” หรือ บุคคลเลข 0

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท