เครื่องบินเล็กอนุราชฯ......มากกว่าการแข่งขัน


ตั้งใจจะเขียนบทความเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ แต่ไปๆมาๆกลับกลายเป็นบันทึกความทรงจำ

        “ทรงพระราชทาน การจัดการแข่งขันหนูน้อยจ้าวเวหาเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ พื้นที่ควบคุมในพระองค์ ๙๐๔ โดยจัดการแข่งขันในวันที่ ๒๓ – ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ และโรงเรียนในเครือพระราชูปถัมภ์ฯ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

          ข้อความข้างต้นผู้บริหารของโรงเรียนได้ถ่ายทอดให้คณะครูทราบ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทุกคนได้รับรู้ถึงกิจกรรมที่แสนพิเศษในครั้งนี้ ถึงแม้เวลาที่ประกาศให้ทราบก่อนการแข่งขันจะมีเวลาเพียงเดือนเศษ แต่กลับได้รับความสนใจจากนักเรียนอย่างล้นหลาม เมื่อขั้นตอนการคัดเลือกผ่านพ้นไปก็ได้นักเรียนจำนวน ๕๐ คน และคณะครูอีก ๖ ท่าน เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ โดยเริ่มจากการทดลองสร้าง และการฝึกฝนทักษะการบังคับเครื่องบินจำลอง

          การฝึกซ้อมเพิ่มความเข้มข้นตามจำนวนวันที่เหลือน้อย ทั้งครูและนักเรียนจำเป็นต้องอดทน สามัคคี ตลอดจนต้องพยายามจัดการภาวะความกดดันในตัวเองให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวคือ การบังคับเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

การฝึกอบรมในปี ๒๕๕๔ ณ โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์

การฝึกซ้อมถูกกำหนดขึ้นภายใต้สภาวะที่กดดัน เพื่อให้นักเรียนที่ผ่านการฝึกฝนมีความพร้อมทั้งกายและใจ

ไม่ว่าแดดจะร้อน ลมจะแรงแค่ไหน สิ่งสำคัญคือการก้าวพ้นขีดจำกัดของตนเองไปให้ได้

         เมื่อถึงการแข่งขันทีมโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ได้เข้าร่วมการแข่งขันเครื่องบินจำลองบังคับวิทยุประเภทบินนาน ประเภทบินผาดโผน และประเภทสวยงาม มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน ๙ คน แม้ว่าในการแข่งขันครั้งนั้นทีมโรงเรียนอนุราชประสิทธิ์จะไม่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง ๓ ทีม และแม้ว่าในปีต่อมายังคงผิดหวังอีกครั้ง แต่ไม่ว่าจะล้มสักกี่ครั้งก็ตาม นักเรียนและครูทุกคนพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าวพ้นขีดจำกัดความสามารถที่มีอยู่ให้จงได้ แม้ว่าจะมีการแยกย้ายไปศึกษาต่อของสมาชิกในทีมเพื่ออนาคต แต่การพัฒนาศักยภาพของทีมยังคงมีต่อไป จากรุ่นสู่รุ่น




ข้อความ (คัดมา) จากนักเรียน

ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ได้ทำเครื่องบินเล็กวิทยุบังคับประเภทสวยงาม โดยทำเป็นหนุมาน ซึ่งสื่อความหมาย ทหารกล้าที่มีสติในการแก้ปัญหา เพราะพวกเราหวังว่าในอนาคตจะได้มีโอกาสรับใช้บ้านเมืองอย่างแกร่งกล้า มีสติปัญญาที่จะพาบ้านเมืองไปในทางที่ดีสมกับเป็นคนไทย”

เครื่องบินที่สร้างเสร็จแล้วของเรานั้นคือ หนุมาน ลิงเผือก เป็นอมตะเนื่องจากเป็นบุตรของพระพาย เมื่อหนุมานมีอันตรายถึงตายแล้ว เพียงแค่ลมพัดมา หนุมานก็จะคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง เสมือนเครื่องบินของเราที่จะไม่มีวันตาย เมื่อมีลมพัดมาจะทำให้เครื่องบินของเราบินเหินขึ้นสู่ฟ้า”

การฝึกเครื่องบินเล็กวิทยุบังคับช่วยให้มีความมั่นใจ จากเดิมที่ไม่กล้าทำอะไรเลย และทำอะไรก็ไม่ค่อยสำเร็จ ทุกวันนี้ถ้าเราแพ้ เราจะนำมาเป็นบทเรียนว่าทำอย่างไรถึงจะชนะ ถ้าไม่มีโอกาสในวันนั้น ผมคงได้แต่มายืนดูเขาเล่นเครื่องบินเล็กเหมือนตอนอยู่ ป.๑-๒ ไม่ได้มีอย่างทุกวันนี้”


การที่เราจะทำอะไรเราต้องทำอย่างเต็มที่ อย่างสุดความสามารถ ถึงจะรู้ว่าสู้ไปแล้วแพ้ก็ตาม ถ้าเราสู้ไม่ถอย สักวันชัยชนะก็จะมาหาเราเอง”


ตอนฝึกซ้อมหนูรู้สึกเหนื่อยมาก แต่หนูรู้สึกดีใจมากที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธี ในการแข่งขันหนูทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักบิน เมื่อเครื่องบินตก หนูจะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ดี ทำให้ได้ประสบการณ์ในการประดิษฐ์ และทักษะการเล่นเครื่องบินบังคับ”





ป.ล. พอดีจะเขียนบทความเทิดพระเกียรติ แต่ไปๆมาๆกลายเป็นประวัติกลุ่ม

หมายเลขบันทึก: 510207เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ถามจริงน่ะ  นามสกุลเดิม แว่ภุ่อะเป่า  

ครูหยินนามสกุลเดิอาก๋ง น่ะ

แซ่ภู่มาจาไหหลำโดยแท้  แต่กำเนิด

คลายเครียดประจำวันกันน่ะ

พูดถึงการเมือง  .การศึกษาเคลียดพออยู่แล้ว

แซ่ภู  ไม่ใช่แว่ภู่

เพราะว่าอาจจะมีบรรพบุรุษเดียวกันจากเมืองจีน

นามสกุล "ภู่ชัย" นี่ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่ ชัย นี่น่าจะมากจากคำว่า ชัยนาท ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท