ทำอย่างไร “บัณฑิต” จึงจะ “คืนถิ่น”


เราจึงจำเป็นต้องบ่มเพาะบัณฑิต ในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ โดยไม่มี “ทรพา” มาชี้นำ และสังหารความคิดของคนที่จะคิดต่างจาก “ทรพา” วางแผนไว้แล้ว

สองวันที่ผ่านมา
ผมได้พยายามหาโอกาสไปพบปราชญ์แห่งแผ่นดิน พ่อคำเดื่อง ภาษี
ที่ศูนย์เรียนรู้ของท่าน อย่างเป็นการส่วนตัว และใช้เวลาอย่างเต็มที่
เพื่อทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา และเส้นทางที่จะต้องเดินต่อไป ในเรื่อง “บัณฑิตคืนถิ่น”



แนวคิดเดิมของเรื่องนี้ผมได้บันทึกไว้แล้วว่า
ทำไมจะต้องมี “บัณฑิตคืนถิ่น”



เพราะในปัจจุบันเรามี “บัณฑิตหลงเมือง” “บัณฑิตหลงโรงงาน” “บัณฑิตหลงเก้าอี้” “บัณฑิตหลงคอมพิวเตอร์” “บัณฑิตหลงเงิน” “บัณฑิตหลง KPI” และ “บัณฑิตหลงห้องแอร์”กันมากมาย จนแทบไม่เหลือใครมาช่วยกันพัฒนาท้องถิ่น



ทำให้ฐานสังคมและทรัพยากรของเราอ่อนแอลงเรื่อยๆ



เหลือแต่คนที่ไปไหนไม่รอดมาทำงานพัฒนา แล้วท้องถิ่นจะรอดได้อย่างไร



และการพัฒนาท้องถิ่น
ก็ยังมีปัญหาสาหัสหลายเรื่อง



ถ้าจะเปรียบไป เหมือนกับมวยชิงแชมป์ ที่



ขณะนี้นักมวยที่เป็นแชมป์ ฟิตซ้อมมาอย่างดี ขึ้นเวทีแล้ว
แต่ผู้ท้าชิง กำลังจะคลอดครับ เหมือนกับวรรณคดี เรื่อง รามเกียรติ์ตอน
"กำเนิดทรพี" ที่ทรพา จะฆ่าลูกตัวผู้ทุกตัว (เว้นไว้แต่ "ตัวเมีย" )
เพื่อไม่ให้มีตัวผู้ตัวใดเหลือ โตขึ้นมาสู้กับตัวเอง



สถานการณ์บ้านเมืองในโลกปัจจุบัน ก็ไม่ต่างจากนี้เท่าใดนัก



ดังนั้น
เราจึงจำเป็นต้องบ่มเพาะบัณฑิต ในสภาพแวดล้อมของธรรมชาติ โดยไม่มี “ทรพา” มาชี้นำ และสังหารความคิดของคนที่จะคิดต่างจาก “ทรพา” วางแผนไว้แล้ว



แนวทางดำเนินการที่ทำสำเร็จแล้วบางส่วนมีสองรูปแบบ
คือ



1. 
คัดเลือก “บัณฑิต” ที่มีความแข็งแกร่งทาง “ความคิด” มีความเบื่อหน่ายระบบสังคมจอมปลอม
เบื่อการเอาเปรียบ และการหาผลประโยชน์ของพวกเห็นแก่ตัว
ไม่สนใจปัญหาสังคมและทรัพยากร และคิดจะคืนถิ่น มาติดอาวุธทาง “ทักษะ” ให้สามารถอยู่ในชุมชนท้องถิ่นได้
อย่างมีศักดิ์ศรี พัฒนาตัวเอง และพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน



2. 
สร้างหลักสูตร “บัณฑิตคืนถิ่น” ในสถาบันการศึกษา
ที่หล่อหลอมความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ ในการอยู่กับท้องถิ่นได้ และพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน



แบบแรก จะเห็นผลเร็ว ใช้เวลาน้อย แต่จะหาคนยาก
เพราะ “บัณฑิต” ส่วนใหญ่ จะถูกหลอก และหล่อหลอมให้คิดได้แค่เป็น “ทาส” ของระบบ
เพราะคนที่สอนและบ่มเพาะบัณฑิตเหล่านี้ ก็เป็นอยู่แค่นั้น
จะสอนคนอื่นให้ดีกว่าตัวเองนั้น เป็นไปได้ยากมาก จึงได้แค่พวก “ผ่าเหล่า” ไม่กี่คน
ที่ “ความคิด” หลุดออกมาจากระบบกระแสหลักเท่านั้น



แบบที่สอง จะเห็นผลช้า ใช้เวลามาก แต่จะมั่นคง
แน่นอน เพราะเป็นการสร้างเด็กให้โตเป็นผู้ใหญ่
และเจริญเติบโตอย่างมีหลักการมาตั้งแต่ต้น มีศักดิ์ศรี ไม่ถูกหลอกให้หลงทางไปกับ “กระแสเงิน”
กระแสทุน และกระแสพัฒนาที่พยายามทำลายระบบทรัพยากรและสังคมให้คนตกไปเป็นทาส
ที่เขาจะเอาเปรียบอย่างไรก็ได้



ทั้งสองแบบต้องมีบุคลากรที่เป็นแกนหลัก
แกนนำในการพัฒนา และเป็นคนคอยชี้ทางที่ถูกต้องทั้งในเชิงทฤษฎี หลักการ หลักปฏิบัติ
และขั้นตอนการดำเนินการที่หลากหลายและได้ผลแล้ว เป็นแกนนำในการดำเนินงาน



ถ้าจะให้ดีควรมีหลักสูตรที่เน้นหลักปฏิบัติสามขั้นตอนของพุทธศาสนา



ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อย่างครบถ้วน



เพราะความรู้ที่แท้จริงต้องมาจากการปฏิบัติ



แต่ถ้าปฏิบัติโดยไม่มีปริยัติ
ก็จะหลุดประเด็นและหลงทางได้ง่าย



สุดท้ายทั้งปฏิบัติ และปริยัติ ก็ต้องมีปฏิเวธ
เพื่อการพิจารณาทบทวน และต่อยอดการพัฒนาการทางความรู้



หลักการ 3 ข้อนี้
จึงยังน่าจะเป็นแกนในการดำเนินการ เพื่อให้ “บัณฑิต” สามารถที่จะ “คืนถิ่น” ได้
อย่างมีความรู้ ความสามารถ และปัญญา ในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนจริงๆ
อย่างที่ทุกคนอยากเห็น



นี่คือมุมหนึ่งของการคุยกับพ่อคำเดื่อง ภาษี
ที่ศูนย์เรียนรู้ของท่าน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 ตั้งแต่ 10 โมงเช้า
ถึงบ่ายสี่โมงเย็นครับ



มุมอื่นๆ จะนำมาเล่าในโอกาสต่อไปครับ




คำสำคัญ (Tags): #บัณฑิตคืนถิ่น
หมายเลขบันทึก: 508710เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2012 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ท่าน ดร.แสวง ครับ ขอบคุณมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญของสังคมไทย บัณฑิตคืนถิ่น ผมไปบรรยายในหลายๆที่ได้ยกประเด็นนี้มาบรรยายเสมอครับ...เพราะไม่เช่นนั้นน่าห่วงสังคม...น่าห่วง

I just had a look at Greece under imposed austerity.

Greece has been developing their people (via education systems) to work in modern professions, in cities, in modern industries. Like in Thailand parents work the land in rural areas to give their children education (to work in cities). Now that all those modern works in the cities have dried up (under austerity). Professionals are out of work and returning to live with their parents in the rural areas.

The flipped side of this is after working their guts out to give their children education. The parents now have to educate their children on their family low-tech, rural work (mostly on the land) so that their children and grand children can survive (austerity).

Thailand can learn a lesson from this.

เรื่องนี้ ผมต่อสู้ในระบบมานาน หาทางออกไม่พบ

คิดว่าต้องออกมาสะกิดกันนอกระบบครับ

หวังว่าจะมีทางออกบ้างครับ

แวะมาเยี่ยมค่ะ ท่าน Dr. แสวง สบายดีนะคะ ดิฉันเป็นบัณทิตมาจากสงขลา กลับไปคืนถิ่นไม่ได้แล้วค่ะ ติดเกาะภูเก็ตค่ะ (ยิ้ม ยิ้ม)

ก็คืนถิ่น เกาะภูเก็ตไงครับ อิอิอิ

ผมกลับมาแล้วครับอาจารย์ 

เยี่ยมครับ ช่วยเล่าให้ฟังบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท