ทำไมจึงต้องมีโครงการ บัณฑิตคืนถิ่น


วิกฤติของระบบการพัฒนาในปัจจุบัน คือ ปัญหาที่เกิดในระบบการศึกษา และสถาบันการศึกษา


ที่กลายเป็นวิกฤติชาติ

อันเนื่องมาจาก การพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อตอบสนองระบบธุรกิจเป็นส่วนใหญ่
หรือแทบจะเป็นเพียงอย่างเดียว

เน้นการผลิตบุคลากรเข้าระบบธุรกิจ และโรงงาน

ขาดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาทั้งทรัพยากร
และชุมชนฐานราก


ที่ดูเสมือนคนในสังคมปัจจุบัน ทำเป็นลืม และพัฒนาระบบชีวิตที่หลุดจากฐานของสังคมและธรรมชาติ

เน้นการพัฒนาชีวิตแบบปัจเจก
ตอบสนองเพียงตนเอง แทบจะไม่ให้ความสำคัญกับระบบครอบครัว ขาดการมองมิติชุมชน
ที่ทำให้ระบบสังคมเปราะบาง ถูกชักจูงได้ง่าย และมีปัญหาสารพัดตามมา
และจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว

เพราะในระบบการศึกษาและระบบการพัฒนา
เน้นการใช้เงินเป็นตัวตั้ง และใช้เงินเป็นตัวชีวัดความเจริญและระดับการพัฒนา
ที่ละเลยความเป็นจริงทั้งทางด้านทรัพยากร สังคม และชุมชน

แทบทุกประเด็น
เน้นการพัฒนาเชิงเดี่ยว โดยไม่สนใจความเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ และภาพรวม

ระบบคิดและการพัฒนาลักษณะนี้อาจจะอยู่ได้ชั่วคราว
จนกว่าความแข็งแกร่งทางด้านทรัพยากรพื้นฐาน และระบบสังคมของเราจะล่มสลาย

 

ดูเหมือนว่าเราจะรอให้ระบบสนับสนุนล่มสลายเสียก่อน
จึงจะเริ่มคิดในการพัฒนา



แต่....ถ้า
เมื่อถึงวันนั้น การแก้ไขคงจะยากมาก



ตัวอย่างที่ชัดเจนในประเทศ
ที่พัฒนาล่วงหน้าเราไป ที่ผมรู้จักและมีข้อมูล คือ แอฟริกาใต้ และอาร์เจนตินา



ที่ในปัจจุบัน
มีแค่เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ กับ คนงานขายแรงงาน



ระบบสังคมถูกทำลายเกือบสิ้นเชิง
เหลือเพียงคน ที่มีลักษณะเชิงปัจเจกที่ทำหน้าที่รับใช้ระบบธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น



ไม่มีเกษตรกร
ไม่มีชุมชน และแทบไม่มีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก



แม้จะมีบ้าง ทุกอย่างก็เชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจใหญ่



นี่คือลักษณะภาพ
และทิศทางของโลกที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้า



แล้วโลกนี้เป็นของใคร ระบบทาส
และนายทาสกำลังจะกลับมาในรูปแบบใหม่



แล้วใครจะมาประกาศเลิกทาสในรอบต่อไป



น่าคิด  น่าคิด



ดังนั้น
แนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่า คือการพัฒนาที่ฐานราก



ระบบการศึกษาต้องสร้างคนที่มีความรู้
ความสามารถที่จะมาดูแลฐานรากของทรัพยากรและสังคม



แม้จะยังเชื่องโยงกับระบบธุรกิจ
ก็เป็นผู้ร่วมพัฒนา มิได้เป็นทาสของระบบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน



การพัฒนาในเส้นทางนี้
ก็คือการสร้าง “บัณฑิตคืนถิ่น”



ที่เป็นการพัฒนาคนที่มีความรู้และความสามารถในการดูแลตนเอง
ชุมชน และสังคม



แผนการศึกษานี้
กำลังเป็นแผนการศึกษาทางเลือก ของสถาบันในระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสาขาแพทย์
ก็เป็นแพทย์ชุมชน สาขาเกษตร ก็เป็นเกษตรพึ่งตนเอง ฯลฯ



แผนงานเหล่านี้
สร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่กำลังแทรกเป็นแก่นสาระสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในสาขาต่างๆ



ผมแอบมองสถาบันเหล่านี้
ด้วยความหวัง ว่าวันหนึ่งอาจจะเป็นพลังช่วยชาติได้



และหวังว่าองค์กรคงจะเจริญเติบโตทันกับการแก้ปัญหาของชาติ



ที่กำลังมีปัญหามากขึ้น
และเหลือทางเลือกน้อยลงทุกทีๆๆๆ



ถ้ามีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้
ผมจะเร่งทำทันทีอย่างไม่รีรอเลยครับ



เพราะชาติหน้า
ถ้าผมเกิดมาอีก ก็จะได้มีปัญหาน้อยลงกว่าที่เห็นครับ



ผมกำลังทำงานเพื่ออนาคตจริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 508406เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2012 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เดาว่า บัณฑิตไม่ค่อยจะคืนถิ่น

จบแล้วกลับไปอยู่ชนบทกับพ่อแม่ไม่ได้

แล้วท่านละครับกลับคืนถิ่นไปเลี้ยงพ่อแม่ไหมครับ ผมยังกลับไม่ถูกเลยครับ แต่ผมก็ไปพัฒนาระดับฐานรากที่อื่นแทน

ประเด็นสำคัญคือ กลับสู่ฐานราก ช่วยกันพัฒนาทรัพยากรและชุมชนนะครับ อิอิอิ

I do agree we need more people who can think and work in (by and for) their community.

But a lot of graduates have "settled/rooted" down elsewhere. It is not easy to replant and regrow. (I know this from my own experience.)

It is not fair to place obligations on younger generations or graduates-to-be to work for communities without offering them worthy rewards.

What are the possible rewards? To them personally?

บัณฑิต ที่ไม่กลับไปคืนถถิ่นมีหลายสาเหตุ เช่นชุมชนไม่สนับทุนในการศึกษา การสอบบรรจุหรือการโยกย้ายไม่เปิดโอกาส ความเจริญก้าวหน้าทั้งในหน้าที่การงานและเทคโนโลยี ไมมีที่ทำกิน หรือแรงจูงใจเช่นต่าตอบแทน มีอีกมากมายจริงๆ

ประเด็นใหญ่ที่สุด คือ เขาไม่มีความรู้พอที่จะกลับบ้าน รองลงไปก็คือ ความเข้าใจชีวิต ว่าอยู่ที่ไหนดีที่สุด และความพร้อมของบรรพบุรุษและครู ที่จะทำให้เขาคินถิ่นได้

 

ดูเหมือนยาก แต่ก็มีทางออก และอยู่เป็นทางเลือกในแผนการจัดการแล้วครับ

อย่างน้อยก็เป็นงานของ แคมปัส ของจุฬาที่จังหวัดน่าน ตามแนวพระราชดำริของท่านสมเด็จพระเทพฯ และงานของเครือข่ายปราชญ์ที่มีอาจารย์ หมอประเวศ วสี เป็นแกนนำ นี่ยังไม่นับงานของมหาวิทยาลัยชีวิต ที่ดำเนินงานแบบเอกชนอยู่ในปัจจุบัน

There is a will there will be a way.

 

ครับ

...ดูเสมือนคนในสังคมปัจจุบัน ทำเป็นลืม

และพัฒนาระบบชีวิตที่หลุดจากฐานของสังคมและธรรมชาติ

เน้นการพัฒนาชีวิตแบบปัจเจก
ตอบสนองเพียงตนเอง แทบจะไม่ให้ความสำคัญกับระบบครอบครัว ขาดการมองมิติชุมชน
ที่ทำให้ระบบสังคมเปราะบาง ถูกชักจูงได้ง่าย และมีปัญหาสารพัดตามมา
และจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว

เพราะในระบบการศึกษาและระบบการพัฒนา
เน้นการใช้เงินเป็นตัวตั้ง และใช้เงินเป็นตัวชีวัดความเจริญและระดับการพัฒนา
ที่ละเลยความเป็นจริงทั้งทางด้านทรัพยากร สังคม และชุมชน

แทบทุกประเด็น
เน้นการพัฒนาเชิงเดี่ยว โดยไม่สนใจความเชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ และภาพรวม

ระบบคิดและการพัฒนาลักษณะนี้อาจจะอยู่ได้ชั่วคราว
จนกว่าความแข็งแกร่งทางด้านทรัพยากรพื้นฐาน และระบบสังคมของเราจะล่มสลาย

ดูเหมือนว่าเราจะรอให้ระบบสนับสนุนล่มสลายเสียก่อน
จึงจะเริ่มคิดในการพัฒนา

แต่....ถ้า
เมื่อถึงวันนั้น การแก้ไขคงจะยากมาก

....

ระบบสังคมถูกทำลายเกือบสิ้นเชิง
เหลือเพียงคน ที่มีลักษณะเชิงปัจเจกที่ทำหน้าที่รับใช้ระบบธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น

ไม่มีเกษตรกร
ไม่มีชุมชน และแทบไม่มีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก

แม้จะมีบ้าง ทุกอย่างก็เชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจใหญ่

นี่คือลักษณะภาพ
และทิศทางของโลกที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้า

แล้วโลกนี้เป็นของใคร ระบบทาส
และนายทาสกำลังจะกลับมาในรูปแบบใหม่

แล้วใครจะมาประกาศเลิกทาสในรอบต่อไป

น่าคิด น่าคิด

ดังนั้น
แนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่า คือการพัฒนาที่ฐานราก

ระบบการศึกษาต้องสร้างคนที่มีความรู้
ความสามารถที่จะมาดูแลฐานรากของทรัพยากรและสังคม

แม้จะยังเชื่องโยงกับระบบธุรกิจ
ก็เป็นผู้ร่วมพัฒนา มิได้เป็นทาสของระบบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การพัฒนาในเส้นทางนี้
ก็คือการสร้าง “บัณฑิตคืนถิ่น”

ที่เป็นการพัฒนาคนที่มีความรู้และความสามารถในการดูแลตนเอง
ชุมชน และสังคม

แผนการศึกษานี้
กำลังเป็นแผนการศึกษาทางเลือก ของสถาบันในระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสาขาแพทย์
ก็เป็นแพทย์ชุมชน สาขาเกษตร ก็เป็นเกษตรพึ่งตนเอง ฯลฯ

แผนงานเหล่านี้
สร้างขึ้นมาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่กำลังแทรกเป็นแก่นสาระสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในสาขาต่างๆ

ผมแอบมองสถาบันเหล่านี้
ด้วยความหวัง ว่าวันหนึ่งอาจจะเป็นพลังช่วยชาติได้

และหวังว่าองค์กรคงจะเจริญเติบโตทันกับการแก้ปัญหาของชาติ

ที่กำลังมีปัญหามากขึ้น
และเหลือทางเลือกน้อยลงทุกทีๆๆๆ

ถ้ามีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้
ผมจะเร่งทำทันทีอย่างไม่รีรอเลยครับ

เพราะชาติหน้า
ถ้าผมเกิดมาอีก ก็จะได้มีปัญหาน้อยลงกว่าที่เห็นครับ

ผมกำลังทำงานเพื่ออนาคตจริงๆครับ

.........

อ่านบันทึกนี้ ตอนนี้...

เหมือนได้ยินกลองรบปลุกใจอย่างไรไม่ทราบค่ะ

วิกฤตชาติ ลงมาถึงหมู่บ้าน ครอบครัว... ฝีทุนนิยมแตกโพล๊ะแล้วค่ะอาจารย์

สู้ สู้ สู้ กราบขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท