ผลงานวิจัยจากชุมชน สู่สังคมแห่งการเรียนรู้


มีการตั้งคำถามสำคัญๆ ว่า หากจะแก้ไขไม่ให้เกิดความขัดแย้ง จะต้องแก้ที่ "ผู้ซื้อ" หรือ "ผู้ขาย" ส่วนใหญ่รวมทั้งนักวิชาการเห็นว่าควรแก้ "ผู้ซื้อ" แต่ปราชญ์ชาวเห็นว่าควรแก้ที่ "ผู้ขาย" ท่านล่ะครับคิดว่าอย่างไร

วันที่ 9 ตุลาคม 2555 ผมโทรศัพท์ไปหา อาจารย์บรรหาร สุขขี ประธานองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลท่าขอนยาง ด้วยหวังจะขอคำแนะนำจากท่านเรื่องการจัดประชุมถ่ายทอด เรื่อง การใช้บึงประดิษย์บำบัดน้ำเสีย ณ หนองตีนบ้าน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ตอนเช้า

ทราบจากการสนทนาว่าวันนี้ ท่านจัดเวทีประชุมสัมมนาสรุปผลงานวิจัยเชิงสำรวจ โดยการเสวนาจะจัดขึ้นที่ศาลาประชาคมส่วนบุคคล ที่บ้านท่านเอง....ท่านถามผมว่า ว่างไหม .... แน่นอนผมตอบว่า "ว่างครับ"  .... แม้ว่าผมเองจะมีงานต่างๆ ที่ต้องทำอยู่ "เต็มพิกัด"  ความหมายของผมคือ สมองผม "ว่าง" จากความรู้ ที่ผมคาดว่าจะได้จากการไปร่วมกับท่าน... ผมเดินทางไปร่วมเสวนากับวงเสวนาประชาชนนี้จริงๆ ครับ.....ท่านประธานบรรหารเลยแนะนำและเรียกผมว่า...." อาจารย์ผู้มีจิตอาสา" .....ฮา

 

 

สภาองค์กรชุมชนที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน ปี 2551 ที่ผมมองว่า จะเป็นความหวังของการขับเคลื่อนสังคมสู่ "สังคมแห่งการเรียนรู้" แม้ว่าปัจจุบัน จะไม่ได้รับความสนใจจากฝ่ายบริหารของ อปท. เท่าใดนัก 

การทำวิจัยเชิงสำรวจ และการจัดเวทีเสวนาอภิปรายผลการวิจัยเชิงสังคมในครั้งนี้ มีแนวโน้มทำให้ เทศบาลตำบลท่าขอนยาง จะก้าวหน้ากว่าหลายๆ ที่ของประเทศไทยในอีสาน

ผู้เข้าร่วมเสวนาล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นผู้นำแต่ละภาคส่วนหรือองค์กรของชุมชน นอกจากทีมสมาชิกสภาพองค์กรฯ ที่เป็นแกนนำแล้ว ยังมีพระครูอุดมวัฒนะคุณ เจ้าอาวาสวัดเจริญผล ต.ท่าขอนยาง ผอ.ชำนาญ ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ มมส. ตัวแทนนักวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัญญัติ สาลี จาก มมส. ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ผู้อำนวยการโรงเรียน และ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชนอีกหลายท่าน.... เป็นเครือข่ายผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เหนียวแน่่นกันมานานแล้ว

ปัญหาวิจัยคือ 2 ประเด็น ครับ

  • ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการบริหารงานของเทศบาล เป็นอย่างไร 
  • มีความขัดแย้งในพื้นที่หรือไม่ อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชน 

ผมรับเอกสารที่ท่านเลขานุการสภาองค์กรเตรียมไว้อย่างดีมาศึกษา พบว่า เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้เครื่องมือสำรวจเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยข้างต้น ข้อมูลส่วนหนึ่งได้จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (focus group)  มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 200 คน มากกว่า 70% มีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นชายและหญิงเท่าๆ กัน ผลการสำรวจที่เป็นข้อค้นพบมีดังนี้ครับ

  • ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับน้อย 
  • ประชาชนทราบถึงการจัดสรรงบประมาณของเทศบาลในระดับน้อย
  • ประชาชนพอใจในการดำเนินงานที่ผ่านมาของเทศบาลในระดับน้อย 
  • มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในพื้นที่ ความขัดแย้งที่มากที่สุดเกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับประชาชน รองลงมาคือความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับองค์กรของรัฐ
  • ประชาชนเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากที่สุดคือ การเลือกตั้ง
  • ประชาชนยอมรับว่า มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ในการเลือกตั้งท้องถิ่น 55% 
  • ฯลฯ

มีการตั้งคำถามสำคัญๆ ว่า หากจะแก้ไขไม่ให้เกิดความขัดแย้ง จะต้องแก้ที่ "ผู้ซื้อ" หรือ "ผู้ขาย"  ส่วนใหญ่รวมทั้งนักวิชาการเห็นว่าควรแก้ "ผู้ซื้อ" แต่ปราชญ์ชาวเห็นว่าควรแก้ที่ "ผู้ขาย" ท่านล่ะครับคิดว่าอย่างไร 

.....เสียดายที่ผมต้องกลับมาประชุมในภาคบ่าย...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 506699เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2012 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนคุณ ฤทธิไกร ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือหลายๆปัญหา คนทำงานองค์ชาวบ้านหรือคนสภาองค์กรชุมชน คิดตรงกันว่า ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ยกตัวอย่างา่ยๆ บริาัทขายน้ำขวด ต้องรับผิดชอบ ขยะขวดที่ผลิตออกมา เอาปัญหาที่ไกล้ตัว แม่ค้าลูกชิ้นปิ้ง ต้องร่วมรับผิดชอบต่อไม้เสียบลูกชิ้น ขยะที่อาจก่อให้เกิดอบัติเหตุ
ซึ่งปัญหาเหล่านนี้เป็นปัญหาร่วม ที่ต้องช่วยกันออกแบบแก้ไขหาวิธีการ สภาองค์กรชุมชนคือที่ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหา หาทางออกร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อนำพาคน ชุมชนสู่สุขภาวะ (นเรศ หอมหวล ประธานสภาองค์กรชุมชนเทศบาลตำบลปากพะยูน) ด้วยคารวะที่ได้แลกเปลี่ยน

น่าสนใจมาก เป็นกำลังใจให้นะคะ

เรียน ท่านประธานนเรศ ที่เคารพ

ขอบคุณข้อเสนอแนะที่เฉียบคม ผมดีใจมาก ที่มีนักปฏิบัติ ผู้รู้จริง มาให้ความเห็น.....ประเทืองปัญญายิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท