เสริมสร้างสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ แบบ ลำปาง (13) ถอดบทเรียนฯ แจ้ห่ม


 

ตบท้าย ถอดบทเรียนเมืองลำปาง ที่ อำเภอแจ้ห่ม ที่นี่ เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุ ทำกันมายาวนาน จนเสมือนเป็นญาติพี่น้องกันไปเสียแล้ว ทุกท่านจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกันรอบด้าน และทั่วถึง

นี่ละ ... ภาพจังหวะก้าวการทำกิจกรรม สว. ของแจ้ห่ม ... เนื้อหาอัดแน่น

คุณแม่อรพินท์ (เจ้าเก่า) มาเล่าให้ฟัง เริ่มแรกด้วยเรื่องเครือข่าย

ผู้สูงอายุแจ้ห่มมีเครือข่ายเยอะ นับตั้งแต่อันดับแรก คือ กลุ่มแม่บ้าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ และในส่วนอื่นๆ ของชุมชน ก็จะได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ พระสงฆ์ (ที่เป็นผู้หกล่อมเกลาจิตใจให้ผู้สูงอายุ เพราะว่า ผู้สูงอายุชอบทำบุญเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว) ร้านค้า (ที่หลายครั้งที่ชมรมผู้สูงอายุทำกิจกรรมกัน ร้านค่าจะช่วยเหลือเต็มที่ บางครั้งก็ไม่คิดเป็นเงิน) เยาวชน แรงงาน และความคิดสร้างสรรค์การทำกิจกรรมของเด็กๆ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำคัญยิ่ง คือ โรงพยาบาล (คุณแม่อรพินท์บอกว่า ถ้าขาดโรงพยาบาลไปแล้ว ผู้สูงอายุก็คงไม่ได้มาถึงวันนี้ เพราะว่า ทีมโรงพยาบาลไม่ได้ทิ้งผู้สูงอายุเลย ... จากวันนั้น ถึงวันนี้) นอกจากนั้น ก็จะเป็น รพ.สต. สสจ. (ที่ถ้าไม่ให้งบประมาณตั้งต้นแล้ว เราก็ไปไม่ถึงเหมือนกัน) อสม. (ให้ความสะดวก แก่ผู้สูงอายุ เป็นอย่างมาก มาก) นอกจากนั้น ก็จะมีหน่วยองค์กรอิสระ (NGO) หน่วยราชการ และหน่วยเอกชน อื่นๆ อีก

ที่แจ้ห่ม มีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

  • ร่วมคิดนโยบาย เพื่อที่จะร่วมน้ำนโยบาย มาสู่การปฏิบัติ ในด้าน
    - การขยายเครือข่าย ไปที่บ้านตะเคียนทอง บ้านแม่สุก บ้านทุ่งฮ้าม ได้สำเร็จ
    - การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ บ้านตะเคียนทองมีภูมิปัญญาด้านดนตรี
  • ทำแผนการดำเนินงานในเรื่องผู้สูงอายุ ทำให้มีกิจกรรมที่ดำเนินการ ได้แก่
    - การคืนข้อมูลสุขภาพสู่ผู้สูงอายุ
    - การได้รับงบประมาณจัดสรรในการทำกิจกรรม
    - การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อค้นหา ผู้สูงอายุ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย เพื่อที่จะได้ดำเนินการให้การดูแลในลักษณะที่เหมาะสม
  • กิจกรรมดำเนินการ
    - จิตอาสา ตักบาตรวันละครั้ง รวมตัวกันทำบุญตักบาตรเป็นข้าวสารอาหารแห้งประจำ
  • อบรมให้ความรู้ เรื่องช่องปากแก่แกนนำ เพื่อที่จะได้ไปดำเนินการต่อในชมรมผู้สูงอายุของตนเอง และมีการอบรม คนเฒ่าฟันดี ไม่ติดสีแดง เพื่อฝึกให้ผู้สูงอายุรู้จักฟันของตนเอง และวิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก
  • นิเทศ ติดตาม ประเมินผล ด้วยการย้อมสีดูความสะอาดฟันเดือนละครั้ง และสิ้นปี จะมีการประกวดเรื่องฟันในกลุ่มผู้สูงอายึ
  • นำเสนอความสำเร็จ ที่เกิดเป็นรูปธรรมของกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น เกิดชมรมเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ขยายการดำเนินกิจกรรมจากชมรมพี่สู่ชมรมน้อง การไปแสดงนิทรรศการผลงานของชมรมผู้สูงอายุในที่ต่างๆ อนาคตจะมีการรวม อสม. ไปร่วมกิจกรรมด้วย มีผู้สูงอายุสุขภาพฟันดีต้นแบบที่มีฟันครบ 32 ซี่ ชมรมเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่มีผู้มาศึกษาดูงานเรื่อยมา เกิดแกนนำจิตอาสาระดับตำบล ที่มีการขยายการให้ความรู้สืบต่อกัน รุ่นต่อรุ่น และมีการบูรณาการงานทันตฯ ระดับตำบล ไปสู่ชุมชน

Timeline ของแจ้ห่ม นับตั้งแต่ปีเริ่มดำเนินการ 2548 ถึงปัจจุบัน 2554

ภาพขยาย - ช่วงปี 2548-2551

ฃ่วงปี 2551-2554 และปัจจุบัน

 

ก้าวย่างของชมรมฯ แจ้ห่ม

มิติเชื่อมโยงภาคีเครือข่าย ชมรมฯ แจ้ห่ม และบทบาทเครือข่าย

 

Model การจัดการความรู้ style แจ้ห่ม

คุณพิมพา มาเล่ากิจกรรมที่ดำเนินงานในด้านของการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งพึ่งเพิ่มเติมว่า

ที่นี่ ผู้สูงอายุเป็นชาวบ้านทั้งหมด ที่เริ่มต้นจากการสร้างแกนนำผู้สูงอายุที่สามารถดูแลตนเองได้ ประมาณ 4-5 คน คุณพิมพาทำกิจกรรมด้วยการใช้กระบวนการจัดการความรู้ โดยเริ่มจาก การสร้าง ผลิตองค์ความรู้ ด้วยการ

  • ให้ความรู้ด้วยแผ่นพับความรู้ เรื่อง สุขภาพ โรคเรื้อรัง สุขภาพช่องปาก
  • ให้ความรู้ด้วย CD สอนเรื่องการดูแลสุขภาพ เช่น ผลกระทบจากบุหรี่กับฟัน ผลเสียจากการสูบบุหรี่
  • มีการเชิญวิทยากรเข้ามาให้ความรู้ผู้สูงอายุในวันประชุมประจำเดือน
  • มีวิทยุชุมชนให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก แก่ประชาชนทั่วไป ที่ห้องสมุดอำเภอแจ้ห่ม และบ้านม่วง
  • มีการประชุมผู้สูงอายุ โดยใช้งบประมาณ จากกองทุนส่งเสริมสุขภาพตำบล อบรมผู้สูงอายุ เยาวชน เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และสุขภาพของตนเอง
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก ผู้นำชุมชน เทศบาล อบต. ทำให้มีการสร้างแบบประเมินสุขภาพช่องปาก ได้แก่ สมุดนับฟัน (ที่มีเนื้อหาส่งผลให้ผู้สูงอายุนับฟันเป็น และรู้ตัวว่ามีหินปูนอยู่ในระดับไหน ต้องไปรับการรักษาที่ไหน อย่างไร) มีการย้อมสีฟัน
  • ผู้สูงอายุจะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเดือนละครั้ง
  • มีป้ายประชาสัมพันธ์ ด้วยบอร์ดให้ความรู้ในแต่ละหมู่บ้าน และมีแบบสอบถามความพึงพอใจ ทำให้ผู้สูงอายุเลิกอาย กลับมาดูแลฟันกันมากขึ้น
  • มีการสอนแปรงฟันกันในหมู่บ้าน
  • มีการเยี่ยมบ้านกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย ... น้องบอกว่า ที่ทุ่งพึ่งไม่มีผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงเลย จะเป็นกลุ่มติดสังคมกันส่วนใหญ่
  • และที่นี่จะมีปราชญ์ชาวบ้าน

มีการเก็บความรู้ โดยใช้เทคนิคการฟัง การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ฯ ศึกษาดูงาน ศึกษาผลงานวิชาการ บอร์ดให้ความรู้ การฝึกทักษะการแปรงฟัน การบันทึกรายงานการประชุมอย่างสม่ำเสมอ การนำเสนอเรื่องเล่า บอกเล่า และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุกันเอง

ทำให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญเรื่องสุขภาพช่องปากขึ้นมาก ถึงกับบอกว่า "ผู้สูงอายุไม่มีความรู้ ทำไมหมอไม่สอน ฟันของเขาจะได้ไม่หลุด ..."

 

หมายเลขบันทึก: 506665เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2012 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนคุณหมอเพื่อนร่วมทาง ลำปาง ส่งเสริมสุขภาพช่องเข้มแข็งดีมากชื่นชม

  • Blank
  • พังงา กะ ลำปาง น่าจะมีซักวันหนึ่งที่จะได้มาแสดงพลังกันนะคะ

ขอบพระคุณพี่นนท์ มากครับ

timeline แปรสภาพเป็น vinyl ให้ได้เรียนรู้ที่ ชมรม อ่านบันทึกนี้แล้ว ต้องไป แปรสภาพ กระดาษชาร์ตอีกหลายอันเลยทีเดียว

น้องแบงค์

ปล. ไปพังงาด้วยคร๊าบบบบ

  • Blank
  • ขอบคุณมากจ้า น้องแบงค์
  • แจ้ห่ม ได้ทีมสนับสนุน ที่เยี่ยมยอดจริงๆ
  • ถ้ามีโอกาส จะจับเหนือ ไปเจอใต้นะจ๊า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท