การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง


หนึ่งในบันทึกชุด วิทยาศาสตรศึกษาในบริบทการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (ยังไม่รู้จะเขียนจบไหม แต่ถ้าไม่เริ่ม ก็ไม่มีวันจบ)

            ปัจจุบันทฤษฏีการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ผลงาน(Constructionism) มีพื้นฐานมาจากแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ซึ่งหลายตำราเรียกสรรคนิยม เป็นทฤษฎีที่พัฒนาจากนักจิตวิทยาและนักการศึกษาสองท่านคือ เพียเจต์ (Jean Piaget) ชาวสวิสเซอร์แลนด์ และวิคอตสกี (Lev Vygotsky) ชาวรัสเซีย ทั้งสองท่านนี้เป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นกลุ่มที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการรู้คิด หรือกระบวนการทางปัญญา (Cognition)

  
(คลิกที่รูปเพื่อดูภาพต้นฉบับ)

            แนวคิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองมีความเกี่ยวเนื่องกับการเชื่อมโยงประสบการณ์ โดยเชื่อว่า ผู้เรียนมีประสบการณ์ของตนเองระดับหนึ่งและมีโครงสร้างความรู้คิดจากพื้นฐานหรือประสบการณ์ที่ตนได้รับมา ซึ่งอาจถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนก็ได้ การที่ผู้เรียนจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างความรู้คิดได้นั้น จะเกิดเมื่อผู้เรียนได้รับประสบการณ์หรือสารสนเทศใหม่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของตน หากผู้เรียนได้รับประสบการณ์หรือสารสนเทศที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของตนได้ผู้เรียนจะลืมสิ่งเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการเรียนรู้ ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิด ผู้ปฏิบัติ กระทำสิ่งต่างๆด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการสร้างประสบการณ์หรือสารสนเทศใหม่ที่เชื่อโยงกับประสบการณ์เดิมของตนได้ ส่งผลให้การเรียนรู้นั้นมีความหมาย


ภาพจาก: http://fc02.deviantart.net/fs71/i/2011/265/d/e/social_constructionism_by_watchamadoodle-d4akh68.jpg

 

เอกสารอ้างอิง

[1] คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. (ม.ป.ป.). ปัญหาการศึกษาไทย ทัศนะ Constructionism กับการเรียนการสอน . http://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Technology/tech_ed/constructionism/constructionism1.html. เข้าถึงเมื่อ 8 ตุลาคม 2555

[2] บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2546). เทคโนโลยีสารสนเทศทางวิทยาศาสตรศึกษา. สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

 

 

หมายเลขบันทึก: 505020เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท