เมื่อผมใช้หลักการของ AI-Appreciative Inquiry(สุนทรียสาธก) ให้คำปรึกษาเพือการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนตัวเอง


เมื่อผมใช้กระบวนการสุนทรียสาธกให้คำปรึกษาเพือการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนตัวเอง

ปลายเดือน ก.ย. ถึงต้นเดือน ต.ค.55
ผมได้พักจากการเป็นวิทยากรหลายวัน
ช่วงหนึ่งเลยได้หยุดพักที่บ้าน กาฬสินธุ์ นายกฤทธิรงค์ ซองศิริ(นายกติ้ง)นายกเทศมนตรีตำบลเหล่าใหญ่มีข่าวดีมาบอกกับผมว่า ปีนี้เทศบาลตำบลเหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์บ้านเราได้รับการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้รับรางวัล เทศบาลที่มีผลงานส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่นระดับชาติ

พร้อมขอบคุณผมว่า
ผมมีส่วนสำคัญหนึ่งในความสำเร็จนี้ด้วย


    


ครับผมบอกท่านนายกติ้งไปว่า
ด้วยบ้านเรามีดีในตนอยู่แล้ว
ผมเพียงแต่แค่เป็นส่วนเล็กๆๆส่วนหนึ่ง
ทีได้ใช้กระบวนการสุนทรียสาธก(AI_Appreciative Inquiry)
ในการให้คำปรึกษากับคณะผู้บริหารเทศบาลและผู้นำชุมชนเท่านั้น

ซึ่งการให้คำปรึกษาของผมอาจมีส่วนทำให้คนบ้านเรา
ได้ค้นหาและค้นพบศักยภาพหรือเรื่อ่งราวที่ดีๆของบ้านเราด้วยความชื่นชมยินดี
ให้เกิดประสบการณ์แห่งความประทับใจ
ให้เป็นพลังในการสร้างและการสนับสนุน
เป็นแรงกระตุ้นสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด
แต่เงื่อนไขสำคัญอยู่ที่
การร่วมมือร่วมใจกันของพี่น้องในชุมชนมากกว่า
เมื่อร่วมแรงร่วมใจกันแล้ว สิ่งเล็กๆก็กลายเป็นความยิ่งใหญ่ได้
ร่วมยินดีด้วยครับ

ครับการให้คำปรึกษากับท้องถิ่นบ้านเกิดเมืองนอนผมนั้นสอดคล้องกับหลักการของสุนทรียสาธก(AI_Appreciative Inquiry)ที่สำคัญอย่างน้อย 2 ประการจากหลักการAIทั้ง5 อย่าง คือ
1. Constructionist Principle หลักการเป็นนักสร้าง ชื่นชมความเป็นนักสร้าง สร้างสรรค์วิธีการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เมื่อประกอบชิ้นส่วนกันขึ้นแล้วก็สามารถบรรลุภาพฝันอันยิ่งใหญ่ได้
2. Principle of Simultaneity หลักการเห็นสถานการณ์การเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการชื่นชมการสร้างสรรค์ที่เป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นแบบ "ด้นกลอนสด" เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน หลากหลายจุดหลายประเด็น แล้วมองให้เห็นความงดงาม ความน่าชื่นชม และความประทับใจของสิ่งเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันมากมายนั้น

    


ครับการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจ ความน่าชื่นชม และความประทับใจของสิ่งเล็ก ๆ ในอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาที่เอาพื้นที่/ชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง ซึ่งกระบวนการสุนทรียสาธก(AI_Appreciative Inquiry)เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการค้นดี ฝันดี คลิ๊กดี และลงมือทำดีตลอดจนการสื่อสารเรื่องเล่าที่ดีๆออกไป(ที่เหล่าใหญ่ มีการจัดกิจกรรมที่เป็นอัตตลักษณ์ของชุมชนแล้วเิญสื่อมาร่วมงานด้วย)เพื่อให้เกิดการพัฒนาภาวะผู้นำ การพัฒนาทีมงาน การพัฒนาองค์กร และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น แบบมีการจัดการความรู้ด้วยความรู้สึกความประทับใจเชิงบวกครับ

ด้วยความรู้สึกความประทับใจเชิงบวกนี้
จะทำให้ผู้คนคนได้ค้นพบขุมพลังจากภายในกัน
ซึ่งเกิดขึ้นได้ ด้วยจากคำถามเพื่อการค้นหาที่ดีๆ หรือคำถามเชิงบวกกัน

ด้วยการทำให้ คำถามที่พวกเขาถามกันในงานของพวกเขานั้นเป็นคำถามเพื่อการค้นหาเชิงบวกมากขึ้น และเป็นคำถามที่ค้นหา/สร้างอารมณ์ของความประทับใจให้มากยิ่งขึ้น/สูงยิ่งขึ้น

แน่นอนว่าความสามารถในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้
คงพลังอยู่ได้ยาวนานและประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
หากเราสามารถค้นหาความประทับใจและไต่ระดับความประทับใจนั้นขึ้นไปเรื่อยๆ



   

ทำให้ผมได้นึกย้อนหลัง ถึงบรรยากาศ "ผํไทลงข่วงเข็นฝ้าย"ซึ่งจัดไปเมื่อ 9 มี.ค. 55 ที่ ต.เหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โดดเด่น ที่ทำให้
เทศบาลตำบลเหล่าใหญ่ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์
ได้รับการคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้ได้รับรางวัล
"เทศบาลที่มีผลงานส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมดีเด่นระดับชาติ"
ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ผมประสานงานให้เกิดขึ้น
ในช่วงเทศกาลผู้ไทนานาชาติครั้งที่ 1 ครับ

ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องตำบลเหล่าใหญ่ทุกท่าน
ขอแสดงความยินดีกับกับนายกฤทธิรงค์ ซองศิริ(นายกติ้ง)
และคณะผู้บริหาร/ จนท.เทศมนตรีตำบลเหล่าใหญ่ทุกท่าน
ชื่นชมยินดีกับบทบาทของเทศบาลตำบลเหล่าใหญ่
ตำบลบ้านเกิดเมืองนอน กับก้าวเล็กๆ
ที่มีความหมายยิ่งในการฟื้นฟูเอกลักษณ์
อัตลักษณ์ความเป็นตัวตนคนผู้ไท
ด้วยความภาคภูมิใจยิ่ง



  

ครับ แต่ละพื้นถิ่นล้วนมีเรื่องราว ที่น่าชื่นชมยินดีทั้งหมดทั้งสิ้น เพียงรอการค้นหา และรอการชื่นชมยินดีจากผู้คนเท่านั้นเองในการนี้เราสามารถประยุกต์ใช้ ทฤษฎีAI_Appreciative Inquiry หรือสุนทรียสาธกในการค้นหาเรื่องราวที่ดีๆที่น่าชื่นชม น่าประทับใจในทุกพื้นที่ครับ


การสนับสนุนให้แต่ละองค์กร แต่ละพื้นที่ได้ค้นหาเรื่องราวที่ดีๆที่น่าชื่นชม น่าประทับใจด้วยกระบวนการAI_Appreciative Inquiry หรือสุนทรียสาธกนั่น
คือภาระกิจ ความเชี่ยวชาญของผมครับ
ผู้บริหารเทศบาล หรือ อบต.ใดสนใจจะให้ผมเป็นที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแบบก้าวกระโดด เรียกใช้บริการผมได้นะครับ(องค์กรภาคธุรกิจก็สามารถใช้หลักการนี้ได้เช่นกันครับ)
ที่
สุเทพ ไชยขันธุ์ 089 8142986
Mail; [email protected]

 

ในภาพเด็กน้อยผู้ไท และนายกฤทธิรงค์ ซองศิริ(นายกติ้ง)
นายกเทศมนตรีตำบลเหล่าใหญ่
ร่วมชื่นชมยินดีกับก้าวเล็กๆที่มีความหมายยิ่งนี้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 504635เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังเลยคะ เกิดการพัฒนา อย่างมากเลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เครื่องมือAI ผมนำมาใช้บ่อยในเวที ไม่ต้องไปถามหาปัญหาจุดอ่อน แต่ตามหาจุดดี หาของดีๆมาทำดีต่อและเพื่อเพื่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท