พระแท้ดูยาก มีวิธีการดูอย่างไร


หลักคิดที่สำคัญ อย่าเดินตามรอยเซียน เพราะจะไม่มีอะไรเหลือให้ท่านเลย

ตั้งแต่ผมเข้ามาในวงการพระ เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ด้านประวัติศาสตร์ของไทย แบบค่อยๆเดินทีละก้าว

 

จากพระเนื้อดินองค์แรกของผมคือ พระแผงตัดเก้า กรุพระธาตุนาดูน

 

ก้าวเข้ามาศึกษาพระทวาราวดีกรุต่างๆ ทั่วประเทศไทย

 

พระศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย เชียงแสน อู่ทอง และอยุธยา

 

ที่ส่วนใหญ่ผมจะเน้นศึกษาพระเนื้อดินเป็นหลัก เพราะผมเรียนมาทางด้านนี้

 

แต่พอมาถึงพระลพบุรี ก็มีเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่

 

ผมก็เลยค่อยๆปรับชุดความรู้เข้าหาเนื้อชินจนครบทุกเนื้อ

 

แต่เมื่อศึกษาเนื้อดินมาระยะหนึ่ง ก็พานพบกับคำว่า พระเบญจภาคี

 

ผมก็ลองเดินตามสายนี้มา จนพบว่าในชุดเนื้อดินก็ยังมีเนื้อผงปนมาองค์หนึ่งคือ พระสมเด็จ

 

ผมก็เลยต้องหันมาเพิ่มเติมความรู้พระเนื้อผงเข้าไปอีก

 

และเมื่อมองย้อนกลับไปหาพระเนื้อดินเชิงรายละเอียด ก็พบว่าพระส่วนใหญ่เป็นดินดิบผสมว่าน ทั้งผงสุพรรณ นางพญา และซุ้มกอ

 

ก็เลยต้องกลับไปทบทวนเรื่องเนื้อว่านและดินดิบ

 

เลยทำให้ต้องมาศึกษาพระเนื้อว่านแบบ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ 2497

 

ที่พบว่าเป็นเนื้อว่านจริงๆ ไม่ใช่น้ำว่านเหมือนในอดีต

 

และเมื่อทบทวนเรื่องน้ำว่าน ก็พบว่าเป็นหลักการเดียวกับน้ำมันตังอิ้วที่ผสมในพระเนื้อผงและหลวงปู่ทวด

 

แต่การผลิตน้ำว่านน่าจะทำได้ยากกว่า ทั้งการหาและการแปรรูป

 

ขนาดพระรูปหลวงปู่ทวด 2497 ก็ยังยากลำบากในการหาว่านจากธรรมชาติ ทั้งๆที่เป็นเพียงการนำว่าน 108 มาตากแห้งและบดใช้โดยตรง ไม่ได้มีการทำเป็นน้ำว่านก่อน จึงยังต้องผสมตังอิ้ว และผงปูน เพื่อรักษาเนื้อพระไม่ให้แตกร้าวได้ง่าย

 

 

 

กว่าผมจะเข้าใจพระแต่ละองค์ ผมได้ศึกษา

 

 

 

  • ที่มาและแนวคิดในการสร้างพระ
  • วัสดุที่ใช้
  • การเตรียมการและการวางแผนต่างๆ
  • ความพร้อมทางด้านความรู้ ทรัพยากร และแรงงาน
  • ขั้นตอนการดำเนินงาน
  • ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างพระ
  • ผลที่น่าจะเกิด และความหลากหลายเชิงคุณภาพขององค์พระ

 

ต่อจากนั้น ก็

 

  • การบรรจุกรุ หรือการเก็บรักษา
  • การเปิดกรุ หรือการนำไปใช้
  • สภาพการดูและ และปัญหาของการดูแลพระ

 

จนถึง

 

  • สภาพพระที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

 

พอมองย้อนกลับไปถึงที่มาของความรู้และความเข้าใจที่ผมมี

 

ผมจึงเห็นใจมือใหม่หัดส่อง และด้วยความเข้าใจ ผมจึงพยายามจะช่วยทุกทางเท่าที่ทำได้

 

เพราะ

 

  • ท่านจำเป็นจะต้องหาพระเฉพาะ "แท้ดูยาก" หรือ " แท้แต่ไม่สวย" เป็นส่วนใหญ่
  • พระ แท้ดูง่าย แท้และสวย แทบไม่เหลือแล้ว
  • พอเห็นบ้าง ก็แพงลิบลิ่ว

 

ดังนั้น ผมพูดแบบไม่ล้อเล่นเลยครับ ว่า

 

  • ท่านจำเป็นต้อง "เก่งกว่า" เซียน
  •  "ดูเป็นกว่า" คนขายพระตามแผง

 

จึงห้ามไปถามเซียน หรือร้านขายพระ เป็นอันขาด

 

จึงจะหาพระที่ "ลอดตาเซียน" ไปได้ในราคาที่ไม่สูงนัก

 

  • ผมทราบดีว่ามันยาก
  • แต่เราก็มีทางเลือกไม่มาก
  • เราจึงต้องพัฒนาสายตาให้ "แซง" คนทั้งสองกลุ่มให้ได้ครับ

 

จะแซงอย่างไรนั้น ผมขอเสนอแนะไว้พอเป็นแนวทางนะครับ

 

ข้อที่ 1 อ่านตำรามากๆ นำหลักการมาปรับใช้ แต่อย่าเดินตามตำรา

 

เพราะ ตำรามักเขียนโดยเซียน ที่เน้นด้านพุทธศิลป์ ดูพิมพ์เป็นหลัก มวลสารและเนื้อเป็นรอง

 

  • พุทธศิลป์ เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่พระที่โชว์ อาจไม่ใช่องค์ที่มีความละเอียดถูกต้อง เพราะไม่มีพระองค์ไหนเหมือนกัน 100% และ น่าจะหายากที่มีพิมพ์ถูกต้องตามหลักพุทธศิลป์ดั้งเดิม 100%
  • จึงต้องอ่านมาก และจับ Pattern ให้ได้ อย่าจำรายละเอียดของพระแต่ละองค์

 

ข้อที่ 2 หาจุดร่วมของพระต่างๆ ทั้งเนื้อและพิมพ์ ที่ไม่บอกไว้ในตำรา

 

เพราะ จุดต่างๆที่บอกไว้ในตำรา ช่างทำพระเก๊เขาทราบดี และทำไว้ให้ดูหมดแล้ว

 

  • แม้จะไม่เหมือน “เป๊ะ” นักส่องมือใหม่ก็มักจะยังแยกไม่ออก
  • และตำราก็จะเขียนคำใหญ่มาก “เป็นธรรมชาติ” ที่แม้แต่เซียนก็ยังเถียงกันเอง
  • มือใหม่อย่างเรามีหรือจะย่อยได้ และเข้าใจคำใหญ่ๆแบบนี้

 

ข้อที่ 3 ดูแต่พระแท้ๆ ชำเลืองมองพระเก๊ ไม่มีองค์จริงดูรูปไปก่อน

 

เพราะจะทำให้เราชินกับพิมพ์และเนื้อพระแท้ การพัฒนาการทางความรู้จะเร็ว

 

  • ดูไปทำความเข้าใจไป อ่านประวัติและการพัฒนาการขององค์พระ จะทำให้เข้าใจได้เร็ว

 

ข้อที่ 4 เน้นการดูเนื้อเป็นหลัก พิมพ์เป็นรอง

 

ที่สวนทางกับเซียน และร้านขายพระ

 

  • เราจะได้พระที่เขาตีเก๊ เพราะพิมพ์ไม่ตรงกับที่เขาคิดไว้
  • และด้วยหลักของเขา เขามักจะไม่ดูเนื้อ
  • ถ้าเราดูเนื้อได้ ค่อยมาหาคำอธิบายพิมพ์ และหาที่ลงให้ถูกต้อง

 

หลักคิดที่สำคัญ อย่าเดินตามรอยเซียน เพราะจะไม่มีอะไรเหลือให้ท่านเลย

 

  • เดินย้อนศร
  • เดินเร็วกว่า และ
  • เดินคนละวิธีเท่านั้น

 

ที่จะหลบพระเก๊ดูยาก และได้พระแท้ดูยากมาครอบครองครับ

 

หมายเลขบันทึก: 500372เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2012 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ทำให้ผมได้คิดอีกมุมมองใหม่ ผมเคยวิ่งตามพระสมเด็จ แต่ก็หมดกำลังใจเมื่อถูกปฏิเสธว่าไม่ถูกหลักนิยม

เล่นแท้ตามหลักการ อย่าไปสนใจการปั่นกระแสธุรกิจครับ

พระโรงงาน ระดับเก๊ตาเปล่าธรรมดาๆ ครับ ใช้ถมบ้านได้ดีครับ

 รบกวนอาจารย์ครับ

แต่ ใครพูดอะไรเราต้องรับฟังและนำมาวิเคราะห์ อะไรดีก็เก็บมาใช้ ไม่ดีก็ทิ้งไป อย่ามีอัตตา แล้วจะพัฒนาได้เร็วครับ

ครับอาจารย์กำลังศึกษาอยู่มันไม่ง่ายเลยนะคับ

อาจารย์เขียนตำราหรือเปล่าครับ อยากได้ ซื้อได้ที่ไหนครับ    ขอนแก่น

ขอบพนะคุนคับผมหัดเล่นใหม่รบกวนอาจสย์ด้วยคับ

มาใหม่ซิดี สมองยังสะอาด เรียนรู้เร็ว พวกเก่าๆ สมองสกปรก กวาดเท่าไหร่ก็ยังไม่รอด อิอิอิ

 

ผมคงต้องฝาก ตัว เป็น ศิษ แล้วคับ อิอิ หนังสืออาจารย์ ชื่ออะไร หรอครับ ?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท