รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

การประชุมวิชาการ เรื่องการดูแลญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


คุณคิดว่าญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นผู้ป่วยคนหนึ่งใช่หรือไม่?

ถึง      สมาชิกผู้ใฝ่รู้ชาวโรงพยาบาลหนองม่วงทุกท่าน

          สวัสดีค่ะชาว รพ.หนองม่วงทุกท่าน  จากการที่ดิฉันได้รับโอกาสที่ดีจาก  รพ.หนองม่วง ที่เห็นความสำคัญของการที่ให้สมาชิกมีโอกาสไปอบรมและประชุมภายนอกโดยได้รับการสนับสนุนในด้านต่างๆจากทางรพ.หนองม่วง ครั้งนี้ก็เป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งหนึ่ง  ที่ดิฉันได้มีโอกาสพบอีกครั้งหนึ่ง  ในการจักการประชุมวิชาการเรื่องการดูแลญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ โรงแรมตะวันนา กรุงเทพฯ  ( วันที่ 18 - 20 กรกฎาคม 2555 ) ซึ่งจัดโดยโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์หลายท่านที่มาให้ความรู้ในครั้งนี้

            ดิฉันขอสรุปประเด็นสำคัญย่อๆลงในบันทึกนี้เพียงบางส่วนเท่านั้น

ดังนี้

      ความเจ็บป่วยเรื้อรังกับความต้องการการดูแล                                 โดย รศ. ประคอง อินทรสมบัติ

            องค์การอนามัยโลกพบว่าภาวะเรื้อรัง 4 อันดับแรก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2

            ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรัง

  • การพัฒนาการสาธารณสุข Bacteriology, Immunology และเภสัชวิทยา ทำให้อันตรายจากโรคเฉียบพลันลดลง
  • การประสบความสำเร็จทางการแพทย์มีผลทำให้คนมีอายุยืนยาวเกิดโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น
  • การเพิ่มขึ้นและการขยายของชุมชนเมืองทำให้ขาดแหล่งประโยชน์และบริการที่จำเป็นสำหรับการมีสุขภาพดี
  • วิธีชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถป้องกันได้

ความหมายของโรคเรื้อรังและการเจ็บป่วย

   โรค หมายถึง ภาวะที่วิชาชีพสุขภาพให้ความหมายด้วยพยาธิสรีระภาพด้วยรูปแบบชีวภาพการแพทย์ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย

   ความเจ็บป่วย เป็นประสบการณ์ของมนุษย์เกี่ยวกับอาการและความทุกทรมาน

        ความผิดปกติชนิดเฉียบพลันกับเรื้อรัง

  • การเกิดโรคเฉียบพลัน มีอาการเริ่มต้นทันทีทันใด อาการอาการแสดงเกิดจากกระบวนการของโรคและเกิดในเวลาสั้น มีการฟื้นหาย และกลับสู่ปกติหรืออาจเสียชีวิต
  • ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เกิดขึ้นยามนานไม่มีที่สิ้นสุด ความอยู่รอดและความตายจะดำเนินไปด้วยกัน ภาวะเจ็บป่วยกลายเป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

          ความหมายของภาวะเรื้อรัง( chronicity)

นักวิชาการหลายท่านอธิบายลักษณะของโรคเรื้อรังว่าเป็นความบกพร่องหรือเบี่ยงเบนจากปกติที่มีลักษณะต่อไปนี้ 1 อย่างหรือมากว่า คือ

  1. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร
  2. มีความพิการหลงเหลืออยู่
  3. พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่ปกติ
  4. ต้องการการฟื้นฟูสภาพ หรือ
  5. ต้องการการติดตามเพื่อนิเทศ สังเกตอาการ และให้การดูแลเป็นระยะเวลานาน

                 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของภาวะเรื้อรังว่า( Chronic condition) โรคที่เป็นระยะเวลานานก้าวหน้าไปอย่างช้าๆต้องจัดการอย่างต่อเนื่องเป็นปีๆ หรือสิบๆปี

 

ผลกระทบของความเจ็บป่วยเรื้อรัง

  1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
  2. คุณภาพชีวิตที่ยืนยาว
  3. อิทธิพลของสังคม
  4. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  5. เจตคติของวิชาชีพสุขภาพต่อภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง

รูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง

    องค์การอนามัยโลกได้เสนอระบบการป้องกันและจัดการภาวะเจ็บป่วยรื้อรัง เรียกว่า Innovative Care for Chronic Condition (  ICCC  )

ความต้องการการดูแลของผู้ป่วยเรื้อรัง

   ความต้องการการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังมีความซับซ้อนที่เป็นความต้องการซึ่งเกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยและการรักษา ความต้องการโดยทั่วไปและความต้องการระหว่างพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเป็นการดูแลระยะยาวที่เป็นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ป่วยและครอบครัวและทีมสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และแหล่งประโยชน์ในชุมชนการจัดการการดูแลตนเองเป็นหัวใจสำคัญของหน่วยบริการสุขภาพที่ต้องเสริมพลังให้กับผู้ป่วยและครอบครัว พัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองอย่างเพียงพอและต่อเนื่องเพื่อคุณภาพชีวิติของผู้ป่วยและครอบครัว

 

ชีวิตญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง                           โดย รศ. ยุพาพิน  ศิรโพธิ์งาม ประเภทของญาติผู้ดูแล

v   ญาติผู้ดูแลที่เป็นญาติจริงๆ

  • ผู้ดูแลหลัก(  Primary  Caregiver)
  • ผู้ดูแลรอง( Secondary  Caregiver )
  • ผู้ดูแลที่ทำงานนอกบ้าน( Working Caregiver  )

v   ผู้ดูแลที่จ้างมา ( Paid Caregiver  )

แรงจูงใจในการช่วยเหลือ

  1. Altruistic  motivation : แรงจูงใจที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ความสงสาร เข้าใจ เห็นใจ
  2. Egoistic   motivation  :  แรงจูงใจที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง

คุณลักษณะทั่วไปของญาติผู้ดูแลในประเทศไทย

   อายุ อยู่ในกลุ่มวัยกลางคน

   เพศ 95% เป็นผู้หญิง

 

 

         ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย

¨     90 %เป็นบุตรที่โตแล้ว

¨     10% เป็นคู่สมรส/ บิดามารดา/ญาติ

        สุขภาพของญาติผู้ดูแล พบว่ามีปัญหาสุขภาพของตนเองก่อนที่จะทำหน้าที่

   ที่อยู่อาศัย อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วย

   สถานภาพการทำงาน ว่างงาน หรือเป็นผู้ที่ทำงานอยู่กับบ้าน

   การเตรียมความพร้อมในการเป็นญาติผู้ดูแลพบว่าได้รับการฝึกทักษะเฉพาะก่อนหน้าผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเท่านั้น

กิจกรรมที่ผู้ดูแลต้องทำ

  • กิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิต
  • การดูแลรักษาที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละโรค
  • ให้การช่วยเหลือ ปลอบโยนทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ
  • ติดต่อกับบุคลากรทางสุขภาพเพื่อการรักษาพยาบาล
  • ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่องการเงิน

Role theory

  •  Role  transition
  •  Role   overload (Juggler) 
  • Role    stress
  • Role     conflict

ความเครียดของผู้ดูแล

  • เครียดจากภาระงานที่ต้องทำ
  • § เครียดจากสิ่งแวดล้อมของการดูแล
  • § เครียดจากปัญหาการสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์
  • § เครียดจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

 

การประเมินญาติผู้ดูแล                               โดย รศ. ยุพาพิน  ศิรโพธิ์งาม

สุขภาพของญาติผู้ดูแล

ผู้ป่วยที่ซ่อนเร้น (  hidden patient) ผลกระทบจากการดูแลต่อภาวะสุขภาพกาย วิตกกังวล ซึมเศร้า อ่อนล้า หมดอารมณ์  ความพึงพอใจในชีวิตลดลง

คุณภาพการดูแลผู้ป่วย

v   สัมพันธภาพที่มีมาแต่เดิมระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วย

v   ความสามารถของญาติในการดูแล

v   ความต้องการอื่นๆที่มีอยู่เดิมหรือเกิดขึ้นใหม่ในชีวิตส่วนตัวของญาติผู้ดูแล

v   การช่วยเหลือและสนับสนุนที่ญาติผู้ดูแลได้รับ

 

การเตรียมความพร้อมสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและการจัดการ

การเลือกญาติผู้ดูแล

  • สัมพันธภาพก่อนการเจ็บป่วย
  • การรับรู้สมรรถนะของบุคคลที่รับเป็นผู้ดูแล
  • คุณลักษณะ( characteristics) ขอญาติผู้ดูแล
  • ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล

      การกำหนดบุคคลผู้ให้การดูแล

     - กลุ่มที่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดุแลไว้อย่างแน่นอน

¨        ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดูแลตนเองมาก่อน

     - กลุ่มที่ไม่ได้มีการกำหนดผู้ดูแลไว้อย่างแน่นอน

¨         ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้มาก่อนการเจ็บป่วย

¨         ญาติรับรู้ถึงการดูแลที่จำเป็นต่อการเจ็บป่วยครั้งนี้

 

มาถึงตอนนี้แล้ว  ท่านพอจะทราบคำตอบหรือยังค่ะว่า.......ญาติผู้ดูแลเปรียบเสมือนกับผู้ป่วยคนหนึ่งหรือไม่  อย่างไร ? หากยังไม่ทราบ ..... โปรดติดตามต่อในตอนหน้านะค่ะ .......   ^_^

 

                                                                        ตอนที่ 1 .......

หมายเลขบันทึก: 499939เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Role theory

  •  Role    transition
  •  Role    overload (Juggler) 
  • Role     stress
  • Role     conflict
ขอบคุณบทความรู้ดีดีนี้ นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท