ความไม่รู้ของข้าพเจ้า


ไม่รู้ว่าคืออะไร

ช่วงนี้เข้าพรรษา การเข้าวัดทุกวันพระยังเป็นไปตามปกติ (ข้าพเจ้าถือปฏิบัติไปวัดทุกวันพระ ตอนเย็น เพื่อสวดมนต์ทำวัตรเย็น ยกเว้นแต่ติดธุระไม่อยู่ในพื้นที่) แต่ที่วัดก็มีกิจกรรมเพิ่มอีกอย่างคือมีพระอาจารย์ขึ้นเทศน์ (ปกตินอกพรรษา ไม่มีพระเทศน์) ไปมาหลายปี แต่ไม่เคยได้ศึกษาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของพระสงฆ์เลยก็ว่าได้ อันไหนที่ทำได้ ทำไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่เคยรู้ รู้แต่ว่าเป็นผู้หญิงต้องไม่อยู่กับพระสองต่อสอง จะถ่ายภาพก็ต้องมีผู้ชายอยู่ด้วย ไม่นั่งใกล้พระ กราบพระสงฆ์กราบสามครั้งถือว่าเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา เวลาจะพูดคุยสนทนากับพระจะต้องนั่งลง พนมมือไหว้ ตอนเย็นถวายน้ำปานะ และปรมัตได้ (รู้ตอนเข้าวัดเห็นคุณยายพาทำ ใช้ให้เอาไปประเคนให้พระ) เรื่องน้ำปานะคุณยายเค้าเคยบอกว่าใช้ผลไม้อะไรได้บ้าง ทำอย่างไรบ้างก็แค่พอรู้ ส่วนปรมัตก็รู้แค่ว่าไม่ให้มีสัตว์เป็นส่วนผสม วันก่อนน้องเอส เค้าบอกว่าที่บ้านมีบักแซว (มะกอกน้ำ) เยอะ ข้าพเข้าก็บอกว่าเอามาสิจะเอาไปให้คุณยายที่วัดทำปรมัต น้องก็รีบเอาให้ พอเอาไปให้คุณยายที่วัด บอกว่าไม่ได้ บักแซวใช้ทำปรมัตไม่ได้เค้าถือกัน ข้าพเจ้าก็เลยต้องถือกลับ สงสัยมากๆๆว่าทำไมไม่ได้ ก็เคยได้กินอยู่น่ะที่วัด แล้วทำไม สมอ มะขามป้อม ถึงทำได้

น้ำปานะ ค้นในเน็ต

เรื่องของน้ำปานะ 

น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่ร้บประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือ ฉันได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณ
ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องน้ำปานะ ก่อความกังวลใจให้แก่ชาวพุทธพอสมควร เพราะมีเครื่องดื่มเกิดขึ้นมากมายล้วนแต่ไม่มีในสมัยพุทธกาล แต่เราก็อาศัยเปรียบเทียบเอาจากมหาปเทศฝ่ายพระวินัยได้ แต่ถึงอย่างนั้น ในวงพระเองก็ยังมีการตีความไม่ตรงกัน เช่น นมสด พระฝ่ายมหานิกายก็ว่าฉันได้ แต่พระฝ่ายธรรมยุตว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ฉันเนยแข็งที่ทำจากนมสดได้มันก็ชอบกลอยู่
ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติ ให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรก ก็คือ  เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ 8 อย่าง ดังนั้น
 
1. น้ำมะม่วง
2. น้ำลูกหว้า
3. น้ำกล้วยมีเมล็ด
4. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
5. น้ำมะทราง
6. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น
7. น้ำเง่าบัว
8. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่

ถ้านับเรียงชนิดก็เป็น 10 ชนิด แต่จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้แยะ เพราะทรงอนุญาตเพิ่มเติมไว้อีก ดังนี้ ทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก ทรงอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง ทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด
ถ้าจะพิจารณากันตามพระพุธานุญาตในตอนท้ายนี้แล้ว ก็น่าจะตีความได้กว้างขวางมาก กล่าวคือ ถ้าเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือกและน้ำดอกมะทรางแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็น่าจะฉันได้หมด
ที่มีปัญหามากก็เรื่องนมสดและน้ำเต้าหู้ ที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง น้ำถั่วเหลืองนี้ แม้ในฝ่ายพระมหานิกายบางพวกก็ไม่ฉัน และผู้ที่ตีความค่อนข้างเคร่งก็เป็นพระฝ่ายปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ส่วนพระตามวัดทั่วไป ท่านก็ฉันได้ทุกอย่าง ขอให้โยมเอามาประเคนเถอะ แม้แต่นมข้น (มีแป้งผสมอยู่ด้วย) ชงโอวัลตินหรือไมโล ท่านก็ไม่รังเกียจ
ก่อนที่จะคุยกันเกี่ยวกับน้ำปานะต่อไป ควรจะมาดูหลักฐานกันก่อน ว่าเรื่องน้ำปานะนี้ มีหลักฐานในที่ใดบ้าง ? ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธบัญญัติจากพระวินัย แต่ยังมีหลักฐานในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง คือเล่มที่ 29 ข้อ 7 ดังนี้
 
1. น้ำผลสะคร้อ
2. น้ำผลเล็บเหยี่ยว
3. น้ำผลพุทรา
4. น้ำมัน (งา)
5. น้ำเปรียง
6. น้ำข้าวยาคู (รสเปรี้ยว)
7. น้ำนม
8. น้ำปานะที่ทำด้วยรส (ผักหรือผักดอง)
 
ส่วนเรื่องปรมัต ที่คุณยายที่วัดพาเรียกนี้ยังค้นหาไม่เจอทั้งที่เป็นประเด็นหลักที่จะบันทึกครั้งนี้ ขอเป็นบันทึกหน้าหล่ะกัน
คำสำคัญ (Tags): #น้ำปานะ
หมายเลขบันทึก: 499585เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความรู้ ที่(P'Ple)ได้รู้... คือ...น้ำปานะ ...คือของที่พระ...ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้ว


ขอบคุณความรู้ดีดีนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท