เชิดชูหมออนามัย “คนเล็ก หัวใจใหญ่” จาก ใจชลัญธร


          เมื่อวันที่  15 ส.ค.2555 เป็นอีกวันหนึ่งที่ไปนิเทศติดตามการดำเนินงานดูแลผู้ป่วยของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ สถานีอนามัยเดิมนั่นเอง  ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ในการออกนิเทศ  แต่ละพื้นที่ที่ออกนั้นจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างของบริบท  และสภาพปัญหาที่แตกต่างกันออกไป  ผู้เขียนได้เตรียมแนวทางการนิเทศมาแต่พอถึงการนิเทศจริงนั้นผู้เขียนกลับใช้หัวข้อนิเทศเป็น เพียงไกด์ไลน์ เท่านั้น เพราะต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของ รพ.สต. แต่ละที่วัดกันไม่ได้ด้วยมาตรฐานเดียว  อาจต้องยืดหยุ่นอย่างครั้งนี้  สองแห่งที่ไปดูนั้นมีความโดดเด่นในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่ ต่างมีจุดแข็ง ที่แตกต่างกัน 

            รพ.สต.แรกที่ไปนั้น มีจุดแข็งที่สามารถรับดูแลผู้ป่วยได้มาก  และมีความพร้อมของบุคคลากรที่ปฏิบัติงาน 

แต่ถึงกระนั้นจำนวนเจ้าหน้าที่ก็ไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุม กิจกรรม  แต่ที่ รพ.สต.แห่งนี้ เขาก็ได้  มีการปรับการทำงานเพื่อให้สามารถเข้าถึง ผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด  โดยให้ อสม.เป็นผู้เยี่ยมบ้านผู้ป่วย  เดือนละ 1 ครั้งแล้วบันทึกปัญหาที่พบมาส่ง เจ้าหน้าที่  หากพบปัญหามากเกินที่ อสม.จะดูแลได้ นั้นเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ลงไปติดตามเยี่ยมต่อไป  

ที่ รพ.สต.แห่งนี้ได้ จัดให้คุณหมอ อธิคมสงวนตระกูล  ได้ช่วยเยี่ยม case เบาหวานที่เป็น difficult case  จำนวน 2 ราย เป็นพ่อกัลูก  เบาหวานทั้งคู่  ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้  บ้าอยู่ไกลพอควร  ทางที่ไป เป็นถนนแดง ฝุ่นตลบ หลุมก็มาก  นั่งรถโยกไปโยกมา  จนชลัญรู้สึกเมารถ  สองข้างทางเต็มไปด้วยป่าอ้อย 

พ่อนั้นเป็นเบาหวาน มียารับปีะทาน  ปัญหาที่พบคือไม่ค่อยควบคุมอาหาร  เข้าใจผิดว่า  กินข้าวกับน้ำพริกผักแล้วเบาหวานจะไม่ขึ้นสูง  แน่ล่ะอาหารอยู่ใน Concept อาหารเบาหวานรับประทานได้  แต่ท่านเล่นกินข้าวเวลาละ 3 จาน เบาหวานมันก็ไม่อยู่หรอกคร้าบ เพราะข้าวนั่นแหล่ะที่ทำให้เบาหวานสูง แพทย์อธิคม ต้องนั่งคุยด้วยนาน ให้เปลี่ยนเป็นข้าวจานเดียว  หากไม่อิ่มให้กินผักเติมได้ ลุงรับปากจะลองปฏิบัติ  สำหรับลูกชายนั้น เป็นเบาหวานเนื่องจากตับอ่อนอักเสบจากการกินเหล้า  Case นี้ยาก เพราะท่าจะไม่ยอมเลิกเหล้าซะเลย  แต่ด้วยบุคคลิกที่ดูอบอุ่น มีความเอื้ออาทรในคำพูดของแพทย์อธิคม  ทำให้ผู้ป่วคล้อยตามพร้อมจะลองปฏิบัติ แต่ไม่รับปากว่าจะเลิกสำเร็จ เท่านี้ก็คงพอรับได้ในขั้นต้น  

    พี่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.นี้คือ พี่อ้อม  อ้าว! ลืมชื่อจริงซะงั้น  ถึงแม้คนไข้ที่นี่จะมีปริมาณมากก็ตามแต่พี่อ้อมจำคนไข้ได้แทบทุกคน  รู้ประวัติรู้ปัญหา  คนไข้  ได้อย่างครอบคลุม  เรียกว่าเป็นกูรู ของผู้ป่วยในพื้นที่เลยทีเดียว  ในคนไข้ที่มีปัญหามากๆในการคุมเบาหวานไม่ได้ พี่อ้อมจะลงติดตามเองถึงบ้าน  บางคร้งคนไข้ขาดยา  เพราะมไ่มีรถมาโรงพยาบาลหรือ รพ.สต.  พี่อ้อมก็จะไปตรวจร่างกายให้ที่บ้าน พร้อมนำประวัติมรับยาแทนที่ โรงพยาบาลให้  ( ยาบางอย่างที่เป็น high alert drug นั้นยังไม่อนุญาตให้เบิกไว้ที่ รพ.สต) 

      พี่อ้อม เป็นหมออนามัยคนเล็กหัวใจใหญ่  ในใจชลัญคนแรก 

..................................................................................................

ต่อมาช่วงบ่าย  แพทย์อธิคมไปกลับไป รพ. พร้อมแตะเปลี่ยนเป็นแพทย์ชาญศักดิ์  คงเศรษฐกุล  (phimaimedicine แห่ง GTK ) มาแทน  รพ.สต.แห่งนี้เล็กกว่า เจ้าหน้าที่น้อยกว่า  แต่เรียกว่า ผลงานนี่ได้ใจชลัญทีเดียว เป็นอีกที่ ที่ชลัญขอ  เชิดชู หมออนามัย "คนเล็กหัวใจใหญ่"จากใจชลัญธร  ผลงานของเขานี่ไม่เล็กเลย  

ผลงานนวัตกรรมต่างๆที่เจ้าหน้าที่ได้งัดออกมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยนั้นทำให้ชลัญถึงกับทึงว่า โอวววว์... ทำไมหัวใจของคุณช่างยิ่งใหญ่เช่นนี้  ขอคาระวะด้วยใจจริงๆ

ท่านผู้นี้คือคุณพี่หนึ่ง  จีรภา  บุญญภากร  ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  พี่หนึ่งเริ่มเล่ากิจกรรมได้น่าสนใจมาก  คือ

        การบริการที่ รพ.สต.  จะมีทุกวันอังคาร ผู้ป่วยที่มานี้ จะมาเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เวลาประมาณ 07.00 น. จากนั้นมีข้าวต้มเลี้ยง  โดยงบประมาณข้าวต้มนี่  เริ่มแรกจากเงินในกระเป๋าตัวเอง  และเงินบริจาคที่ได้  แต่ต่อมาผู้ป่วยเอาข้าวสารมาบริจาคไว้ พวกหมูพัก ต่างๆ  ก็ได้จากเงินในกระเป๋าพี่หนึ่งอยู่ดี  ตอนหลังนี่มีเงินบริจาคเข้ามาด้วย  แพทย์ชาญศักดิ์ ถามเรื่องถ้วยชามที่ใช้เลี้ยง พี่หนึ่งบอก  ตนเองและญาติอีกคนซื้อบริจาคไว้ 1 set ราคาประมาณ 7000 บาท  ออกกันตนละครึ่ง ว่างั้น  ระหว่างที่รอตรวจผู้ป่วยสามารถ เดินออกกำลังกายจากการทำอุปกรณ์นวดเท่าง่ายๆไว้ข้างๆ รพ.สต.

หรือไม่ก็เดินชมสวนสมุนไพร 

ดูอาหารแลกเปลี่ยน

เรียกว่าครบวงจร  หลังจากนั้นก็จะจัดกลุ่ม self health group ซึ่งพี่หนึ่งบอกว่า ทำทุกครั้ง  เห็นว่าได้ประโยชน์ เพราะผู้ป่วยเขาจะเป็นคนสอนกันเอง จากคนที่คุมได้ สู่คนที่คุมไม่ได้  และบังมีการแจกกระเป๋าผ้าสำหรับใส่ยาอีกด้วย งบประมาณ เหมือนเดิม เงินในกระเป๋า และเงินบริจาค 

ทุกครั้งที่มารับยาผู้ป่วยจะถือกระเป๋าใบนี้มา  เอายาเก่าที่เหลือ หากบางคนลืมกินมาแลกยาใหม่ จะได้ไม่มียาอันตรายเหลือค้างที่บ้าน  ส่งเสริมการลดโลกร้อนอีกต่างหาก  

     กระบวนการอื่นที่เสริมเพิ่มเติมในการดูแลคนไข้นั้น จุดนี้ชลัญชอบมาก มีแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่เป็นรูปถ่าย  

ครบผู้ป่วยทุกคนที่เป็นโรคเรื้อรัง  พี่หนึ่งบอกว่า อันนี้ อสม.ช่วยทำให้  โดยการตามถ่ายรูปผู้ป่วย แล้วมาทำประวัติลงแฟ้มไว้ เรียกว่า  ไม่ต้องจำแต่ชื่อเห็นหน้าด้วยแล้ว อ๋อ เลยว่าคนนี้  เป็นอย่างไร  

        อีกอย่างที่ชอบคือ  การให้ อสม.ทุกคนมีสมุด บันทึกกิจกรรมของตัวเองคนละเล่ม

 

ใครถนัดทำอะไรก็ให้บันทึกไว้ แล้วนำมาให้เจ้้าหน้าที่ดูในวันประชุมประจำเดือน  ซึ่งคงคล้ายๆกับการที่เราบันทึกลงโกว์..  ทำให้มีการถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นลายลักษณ์อักษร  เชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วย  จากบันทึก

 

 มีอีกหลายๆกิจกรรมสำหรับ รพ.สต.นี้  เล่าไม่หวาดไม่ไหว  

 

      ชลัญทึ่งในกิจกรรมที่พี่หนึ่ง  และพี่ชาติ (สุชาติ บุญญภากร) ซึ่งเป็น  ผู้อำนวยการ รพ.สต.คู่ชีวิตพี่หนึ่ง (วันนี้ท่านติดไปอบรม) ทำ  จนสงสัยว่าทำไมต้องทุ่มเทขนาดนี้  พี่หนึ่งบอกมีความสุข เป็นความสุขที่ได้ทำ  ตัวเองและพี่ชาติไม่ใช่คนพื้นที่  มีครั้งหนึ่งมีปัญหากับนักการเมืองท้องถิ่น  นั้น คำพูดของชาวบ้านได้ใจพี่หนึ่งคือ " หมออย่าบอกว่าไม่มีญาติพี่น้องที่นี่ พวกฉันนี่แหล่ะญาติพี่น้องหมอ"และปัญหาอุปสรรนั้นผ่านมาได้ด้วยความช่วยเหลือดูแลของชาวบ้าน  คำพูดนี้มันก้องอยู่ในความรู้สึกตลอด  จนทำให้พี่หนึ่งกับพี่ชาติ อุทิศทุกสิ่งอย่างเพื่อคนในชุมชนนี้  ดูแลให้ดีเปรียบเสมือนญาติของตัวเองทีเดียว  

      นี่แหล่ะที่ชลัญซาบซึ้ง  คนตำแหน่งเล็กๆ  แต่หัวใจใหญ่  ได้ใจชลัญจริงๆ  

      ผิดกับคนตำแหน่งใหญ่ๆ  เงินเดือนมากๆบางคน ความคิดได้แค่หัวแม่เท้า เอาแต่ประโยชน์ตน คนจนๆ กลายเป็นเครื่องมือให้ตนเองโกง กินกันจนอิ่มหมีพีมัน จนพุงจะแตกตายอยู่แล้ว  กระนั้นก็ยังไม่มีจิตสำนึกที่จะทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง 

    อยากจับมากราบเท้า หมออนามัยตำแหน่งเล็กๆนี่จังเลย 

    ( ขออภัย ตอนท้ายชลัญโหดไปนิดส์  พอดีของขึ้นเพราะพี่หนึ่งเล่าเรื่องที่ตนมีปัญหากับนักการเมืองนี่แหล่ะ แต่ชลัญไม่สามารถมาเล่าใน blog ได้ ค่ะ) 

ด้วยความเคารพ  หมออนามัย คนเล็กหัวใจใหญ่ ในใจชลัญ

 

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์ 

 

หมายเลขบันทึก: 499357เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 02:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 01:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

Healthcare "for" the community, "by" the community, "in" the community.

They get my vote for "the best community healthcare" -- a model รพ สต that the Department of Health may support more and grow in other area. This is what people can touch and use --not the fashion talk in BKK--.

By the way, Chalun.etc, do we have a "hot line" centre for these community hospitals to call and get supports/advice/training/case investigation/... or are you "it"?

  • ขอบคุณท่าน SR ที่มาให้กำลังใจเป็นคนแรก เลย
  • และยังมาชื่นชมกิจกรรมดีๆ ที่ชลัญได้พบมา
  • ในการเปิด hot line สำหรับ call and get supports/advice/training/case investigation/
  • นั่น ตอนนี้ชลัญทำอยู่  แบบ จนท. สามารถ โทร Consult case ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ตลอดเวลา  ชลัญเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต.อยู่  และเขาสามารถ ส่ง ภาพ consult กับชลัญ ผ่าน E-mail , FB  ,แล้วชลัญ consult แพทย์ต่อ  ใน case ที่เกินศักยภาพที่ชลัญจะให้คำแนะนำได้  ผ่านระบบ line  ซึ่งตอนนี้ จนท.เขาก็ได้ใจชลัญ  กับแพทย์พี่เลี้ยงมาก 
  • มันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย ทั้ง รพ.สต. 18 แห่ง  วันหนึ่งๆ ชลัญต้องรับโทรศัพท์ หลายสายในการ consult  case  แต่ชลัญก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นภาระ อะไร  เห็นใจคนพื้นที่มากกว่า  แพทย์ที่รับ consult ต่อจากชลัญ ก็คิดเช่นกัน ค่ะ 

มาร่วมชื่นชมกับหมออนามัยที่นี้ และทุกท่านในประเทศนะครับ....ดีใจที่ไปพบเห็นนะครับ....และร่วมชื่นชมคุณค่าครับ....และได้ให้ทุกท่านได้ร่วมชื่นชมคุณค่าด้วยครับ

มาร่วมชื่นชมกับหมออนามัยที่นี้ และทุกท่านในประเทศนะครับ....ดีใจที่ไปพบเห็นนะครับ....และร่วมชื่นชมคุณค่าครับ....และได้ให้ทุกท่านได้ร่วมชื่นชมคุณค่าด้วยครับ

ให้กำลังใจ คนทำงานด่านหน้า รพสต.

อ่านไปชื่นชมไป

พี่เคยอาสาสมัครไปตรวจศูนย์แบบนี้ รู้สึกเลยว่า คุณหมออนามัย พี่พยาบาลได้ใจคนไข้เพราะแบบนี้ เราพลอยได้กินขนม กับข้าวอร่อย ๆ ที่ไม่เคยเห็น อร่อยมาก ชนิดหากินในเมืองไม่ได้

เคยออกเดินไปเยี่ยมหมู่บ้าน เก็บข้อมูล ทำแฟ้มครอบครัวแต่ไม่มีการถ่ายรูป อันนี้สุดยอดจริงๆ เพราะการจำหน้าตาด้วยเพิมประสิทธิภาพพวกเราได้ดีเนอะ

ต่อมาอีกระยะหนึ่ง โครงการณ์เปี๊ยนไป

กลายเป็นว่า คนไข้มาเพื่อขอ(บางคน ขู่เล็กๆ)ยาจำนวนมาก ๆ ต่อครั้ง

จึงออกเแปลกใจ

เส้นทางชีวิตนำให้เลือกมาเป็นอาจารย์แพทย์ จึงไม่ได้ทำงานด้านนี้ ไม่ได้ใช้ ความเป็น แฟมเม็ด ซะแล้ว

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

บันทึกนี้ละเอียดมากครับ

ควรใส่คำว่า Happy Ba ด้วย

เพราะเป็น "พื้นที่แห่งความสุข" อย่างแท้จริงครับ

หมออนามัยยังเป็นขวัญใจคนแก่ด้วยค่ะ

คุณยายที่บ้านปลื้มหมออนามัยใกล้บ้านมากค่ะ นอกจากวัดก็เห็นยายชอบไปอนามัย นอกจากไปตรวจเบาหวาน ตรวจความดัน ก็ยังไปนวด ไปคุยกับหมอ ประมาณนี้ค่ะ

มาร่วมชื่นชมหมออนามัยด้วยคนค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • ตามอาจารย์ วิชญธรรม  มา Happy Ba +++++ ....infinity ค่ะ
  • พื้นที่ที่เปิดให้มีกิจกรรม Self Help Group เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากค่ะ ขนาดไม่เห็นภาพบรรยากาศแต่ก็วาดภาพผู้ป่วยช่วยเหลือกันและกันได้อย่างน่าประทับใจ สนุกสนานไปด้วย 
  • ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน อยู่ที่คนทำงานด้วยหัวใจไปปลูกต้นรักไว้นะคะ  

มาร่วมชื่นชมและให้กำลังใจค่ะ

มาร่วมเชียร์ด้วยค่ะ

 

ชื่นชมน้องชลัญธรที่เล่าเรื่องได้ละเอียดและ "hit the point" ทำให้เห็นความสำคัญของเจ้าหน้าที่ด่านหน้ามากๆ อยากอ่านอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท