พระศาสดากับการศึกษาของ พอล เอ็กแมน


กวีนิพนธ์ชื่อLight of Asia ซึ่ง เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ ได้ประพันธ์ไว้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและพุทธธรรมที่ท่านรจนาได้อย่างจับใจ จนมีผู้แปลไปเป็นหลายภาษา และกวีนิพนธ์ฉบับนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ท่าน อนาคาริก ธรรมปาละ เดินทางไปอินเดีย ดำเนินการทวงคืนพุทธคยามาจากชาวฮินดู จนทำให้พุทธคยา อยู่ในการดูแลร่วมกันของชาวพุทธและฮินดูมาจนถึงทุกวันนี้

ผู้แปลกวีนิพนธ์เรื่องนี้เป็นภาษาฝรั่งเศสท่านหนึ่งคือ เลอ็อง สอร์ค ได้เขียนไว้ในคำปรารภของเขาว่า

ทั้งนี้ มองซิเออร์ เชอวริย็อง ได้พิเคราะห์พิจารณาโดยถ่องแท้แล้ว ก็ปรากฏเป็นนิทัศน์ เป็นคติว่า อันว่าสิ่งสารพัดทั้งปวงซึ่งนักปราชญ์ชาวยุโรปพิจารณาอยู่ปัจจุบันนี้ ศาสดาจารย์แห่งพุทธบริษัทก็ได้สั่งสอนมาก่อนแล้วตั้ง ๒๓ ศตวรรษ

ผลงานการศึกษาเรื่องหนึ่งที่ยืนยันคติพจน์ของ มองซิเออร์ เชอวริย็อง คือ การค้นพบการทำงานของสมอง ในด้านการแสดงออกทางสีหน้าที่สอดคล้องกับอารมณ์ (ในที่นี้ใช้ในความหมายของ ความรู้สึก ตามการรับรู้ร่วมกันของคนไทย หรือที่ในศาสนาพุทธหมายถึง เวทนา ไม่ได้หมายความว่าเป็น สิ่งที่มากระทบ หรือ อายตนะภายนอก ตามความหมายเดิม) ของนักจิตวิทยาที่ชื่อ พอล เอ็กแมน เมื่อประมาณ 40 กว่าปีมานี้

ในการศึกษา พอล เอ็กแมน พบว่า ความรู้สึกของแต่ละบุคคลต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่มีต่อเรื่องนั้น เหตุการณ์เดียวกัน คนที่มีประสบการณ์ต่างกัน ย่อมมีความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นๆต่างกัน เช่น กลิ่นของหญ้าที่เพิ่งตัดใหม่ๆ อาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันระหว่างคนที่มีประสบการณ์อันรื่นรมย์ในชนบทช่วงฤดูร้อน กับคนที่ถูกบังคับให้ทำงานวันละหลายๆชั่วโมงในไร่ อารมณ์ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเช่นนี้ลบล้างได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้

Tiny_img_4513-2ws

ซึ่งในเรื่องนี้ ชาวพุทธรู้ดีว่า เหตุที่ทำให้เกิดความคิดที่ดีหรือไม่ดีต่อเหตุการณ์ใด เป็นเพราะการทำงานร่วมกันของขันธ์ต่างๆ คือ สัญญา หรือ ความ จำได้ หมายรู้ นั่นเอง ซึ่งสัญญานั้น แยกเป็น 2 ระดับ คือ จำได้ คือการจำสิ่งต่างๆได้ตามที่ปรากฏโดยสภาพของสิ่งนั้นเอง (ในที่นี้คือกลิ่นหญ้า) และ หมายรู้ คือการให้คุณค่าของสิ่งนั้นๆตามการปรุงแต่ง เช่น มีประสบการณ์ของการถูกบังคับให้ทำงานในไร่วันละหลายชั่วโมง ย่อมเกิดเวทนา หรือ ความรู้สึก ซึ่งในที่นี้คือ ทุกข์ เมื่อยึดมั่นในเวทนานั้นๆ จึง สังขาร หรือ การปรุงแต่ง ว่าชอบใจ ไม่ชอบใจ แล้วทรงจำไว้เป็น สัญญา ใหม่เกี่ยวกับกลิ่นหญ้า ดังนั้น เมื่อได้กลิ่นของหญ้าอีก จึงทำให้นอกจากจะจำได้ว่าเป็นกลิ่นของหญ้าแล้ว ยังหมายรู้ ว่าเป็นกลิ่นที่ตนไม่ชอบตามมา

ซึ่งการจะลบล้างความยึดมั่นว่าชอบ หรือ ไม่ชอบ นั้น พุทธศาสนาก็มีการปฏิบัติเพื่อให้เห็นสภาวะทุกอย่างด้วยความเป็นกลาง เพื่อไม่นำไปสู่ทุกข์ นั่นคือ การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4

Tiny_img_4513-1wl

พอล เอ็กแมน ยังได้กล่าวอีกว่า แต่เราฝึกจัดการกับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ ระยะเวลาระหว่างที่เริ่มเกิดอารมณ์กับเวลาที่เรารู้สึกตัวว่ากำลังมีอารมณ์นั้นอยู่ เรียกว่า ระยะดื้อ ถ้าระยะดื้อยิ่งสั้น เราจะยิ่งไตร่ตรองได้ดีขึ้นว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นสมควรหรือไม่ เราละระยะดื้อให้สั้นลงได้ด้วยการรู้เท่าทันสิ่งกระตุ้นอารมณ์ต่างๆ

ซึ่งคำกล่าวนี้ ตรงกับการสอนของพระพุทธองค์ที่เกี่ยวกับการตั้งสติติดตาม กาย เวทนา จิต ธรรม เมื่อเราตั้งสติติดตามธรรมต่างๆเหล่านี้ โอกาสที่จะ จับ เวทนาใดได้ ก็มีมากขึ้น ระยะดื้อ จึงสั้นขึ้น และเมื่อนำเวทนาที่จับได้มาไตร่ตรองตามหลักปฏิจจสมุปบาท หลักไตรลักษณ์ จนค่อยๆคลายความยึดมั่นในเวทนานั้นๆได้ โอกาสที่ระยะดื้อ ที่จะเกิดในครั้งต่อไปในเรื่องเดียวกันก็จะยิ่งสั้นลงเรื่อยๆ เพราะเห็นความสมควรหรือไม่สมควรของเวทนานั้นมากขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวถึงคำว่า ในบรรดาปราชญ์ทั้งหมดของโลก ปราชญ์เหล่านั้น มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

อ้างอิง

นิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย ฉบับมีนาคม 2548

เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ ประทีบแห่งทวีปอาเซีย (เจ้าศักดิ์ นครจำปาศักดิ์ แปล) มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 11, พ.ศ. 2540

หมายเลขบันทึก: 498930เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  ขอบคุณมากค่ะ

กับ โฉมใหม่ ของ พี่ Blank   และบทบันทึกเพิ่มแรง ศรัทรา......

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวถึงคำว่า ในบรรดาปราชญ์ทั้งหมดของโลก ปราชญ์เหล่านั้น มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน


      ชัดแจ้งอย่างยิ่งครับ  ขอบคุณ คุณณัฐรดา มากครับที่มีบันทึกดี ๆ มาให้ได้เสพอยู่เสมอ

สวัสดีเจ้าค่ะคุณณัฐรดา...ยายธีเคยได้ยินมาว่า..ไม่มีหลักฐานอ้างอิง..ว่า..ตอนหนุ่มๆ..เยซูหายไปไหน..กล่าวไว้ว่า..ท่านไปใช้ชีวิตเรียนรู้..ปรัชญา..คติ..กับ..พุทธเจ้า..เจ้าค่ะ..(ยายธี).

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท