การบริหารงานชุมชน


การบริหารงานชุมชน

ความหมาย

การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน หมายถึงการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลในสถานศึกษาในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน เช่น ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถานที่ราชการ องค์กรเอกชน และสถาบันสังคมอื่นๆ เป็นต้น

 

 

 

พันธกิจ
    1.เป็นผู้มีอุดมการณ์ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองและชุมชน
    2.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถติดต่อประสานงานและขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายได้ดี
    3.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
    4.มีความเสียสละ และอุทิศเวลาให้กับการทำงาน
    5.มีกระบวนการทำงานตามระบบ

    6.มีปฏิทินปฏิบัติงานประจำวัน เดือน เทอม และงานด่วนเฉพาะกาล
    7.เป็นผู้มีความสามารถในการพูด เจรจา ทักทายและชอบสมาคมกับผู้ที่พบเห็นทุกเมื่อ
    8.มีความรู้รอบตัว กว้างขวางและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยปฏิภาณไหวพริบ
    9.มีความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ว่องไว 

งานสัมพันธ์ชุมชน
          วัตถุประสงค์ของการบริหารงานความสัมพันธ์ชุมชน
                1. เพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจอันดีต่อสถานศึกษา
                2. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน
                3. เพื่อให้สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือจากชุมชนทั้งด้านการเงิน   วัตถุอุปกรณีความคิด และข้อเสนอแนะ
               4. เพื่อให้ความช่วยเหลือชุมชนด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ
               5. เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานของสถานศึกษา
               6. เพื่อสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีของหน่วยงาน
               7. เพื่อป้องกันหรือแก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของสถานศึกษาที่อาจเกิดขึ้นโดยเป็นผลกระทบจากชุมชน

ขอบข่ายงานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
              1. งานให้บริการแก่ชุมชน
              2. งานรับบริการจากชุมชน
              3. งานเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ
              4. งานจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม กองทุน และมูลนิธิในสถานศึกษา
              5. งานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
              6. งานประชาสัมพันธ์โรงเรียน

การบริหารสถานศึกษาด้านการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

            ข้าพเจ้าได้ดำเนินงานในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยดำเนินงานได้อย่างหลากหลายดังนี้

  1. การสอนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในครอบครัวและชุมชน เช่น การละเว้นจาก

ยาเสพติด การลดละเลิกอบายมุข การลดละเลิกใช้ยาฆ่าแมลง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกป่ารักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เนื้อหาวิชาเหล่านี้เมื่อผู้เรียนเรียนในสถานศึกษาแล้ว ผู้สอนจะย้ำให้ผู้เรียนนำไปใช้ในครอบครัวและชุมชน และติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองให้อบรมดูแลว่าผู้เรียนว่านำความรู้ไปใช้หรือไม่อย่างไรอีกด้วย

  1. สถานศึกษาขอความร่วมมือจากชุมชน ซึ่งจะขอความร่วมมือจากชุมชนในด้าน

ต่างๆได้ คือ

2.1     ขอความร่วมมือในด้านการเป็นวิทยากรหรือเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้

 เช่น ในชุมชนมีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ศิลปินด้านดนตรีไทย ช่างทำพรมเช็ดเท้า ช่างจักสาน เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้อย่างดียิ่ง จะดำเนินการได้โดยเชิญมาเป็นวิทยากร หรือให้ผู้เรียนไปศึกษาไปฝึกงานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้

      2.2 ขอความร่วมมือในด้านทุนทรัพย์ วัสดุครุภัณฑ์จากชุมชน เช่น ขอบริจาคเงิน ทุนการศึกษา จากประชาชนในชุมชนเพื่อนำมาให้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา เป็นต้น

  1. ให้ความช่วยเหลือให้บริการชุมชน ซึ่งได้ดำเนินการได้อย่างหลากหลาย เช่น

3.1    ให้ความช่วยเหลือในด้านความรู้และเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆแก่ประชาชนใน

ชุมชน เช่น ความรู้เกี่ยวกับอาหาร โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การรักษาโรคแบบธรรมชาติบำบัด อันตรายจากยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรกรรมทางเลือก เป็นต้น

3.2    จัดบริการข่าวสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน เช่น

สถานศึกษาทำแผ่นพับที่เป็นความรู้เพื่อประชาชนจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรืออ่านข่าวสารความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพอนามัย เป็นต้น

3.3    การเป็นผู้นำและให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน สถานศึกษาได้

ดำเนินการโดยจัดโครงการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนสนับสนุนด้านบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ เช่น ทำความสะอาดวัด เป็นต้น

            4. บริการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ของสถานศึกษาแก่ประชาชนในชุมชน เช่นให้ประชาชนในชุมชนใช้หอประชุม ใช้ห้องสมุด ใช้ห้องพยาบาล ใช้โรงอาหาร และใช้สนาม-กีฬา เป็นต้น

  1. 5.            การออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครอง และผู้เรียนตามบ้าน เช่น เมื่อผู้เรียนเจ็บป่วย

รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น ร่วมงานการทอดกฐินที่วัด ร่วมงานมงคลในชุมชน เป็นต้น

  1. 6.            การประชาสัมพันธ์สถานศึกษา เช่นจัดให้มีสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารของ

สถานศึกษา จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อสอบถามหรือให้ความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อสถานศึกษา

  1. 7.            การเชิญผู้ปกครองและประชาชนในชุมชนมาประชุม เช่นในวันปฐมนิเทศ

นักเรียนใหม่ วันเปิดเรียนในภาคเรียนแรกของปีการศึกษา เป็นต้น

  1. 8.            การรายงานผลการเรียนและอื่นๆให้ผู้ปกครองทราบ เช่น การรายงานเป็น

ประจำวัน หรือการทำสมุดพกประจำตัวนักเรียน ซึ่งจะมีทั้งผลการเรียน ความประพฤติ สุขภาพ และอื่นๆ

  1. 9.            การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในงานวิชาการ แบ่งออกได้เป็น 4 ข้อย่อย ดังนี้

9.1    ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ นักวิชาการ ครูอาจารย์จากสถานศึกษาอื่น ศิลปิน-

พื้นบ้าน ผู้อาวุโส ผู้เป็นปูชนียบุคคลในหมู่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งนำมาใช้ในลักษณะของคำปรึกษาและข้อเสนอแนะ หรือเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เรียน เป็นต้น

9.2    ทรัพยากรวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โสตทัศนูปกรณ์ สถานศึกษาอื่น

นำมาใช้ในลักษณะของการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การศึกษา การร่วมมือทางวิชาการ เป็นต้น

9.3    ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ สมุนไพร ซึ่งจะนำมาใช้ในลักษณะเป็นสื่อ

การเรียนการสอน การไปทัศนศึกษา การช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เป็นต้น

       9.4 ทรัพยากรสังคม ได้แก่ วันสำคัญ ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นบ้าน โบราณวัตถุสถาน ประเพณีต่างๆ ซึ่งจะนำมาใช้ได้ในลักษณะให้ครูอาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโดยตรง, จัดนิทรรศการ, การศึกษาหาข้อมูลเพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เป็นต้น

 

ขอบข่ายงานสัมพันธ์ชุมชน
                     งานสัมพันธ์ชุมชนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่สำคัญต่อการบริหารงานของโรงเรียน  ซึ่งโรงเรียนต้องให้ความสนใจและนำไปปฏิบัติ ในการระดมทรัพยากรทางความคิดและทุนทรัพย์จากชุมชนมาช่วยในการพัฒนาโรงเรียน โดยมีขอบข่ายงานดังนี้
                    1. งานกรรมการสถานศึกษา               
                          งานที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครอง ชุมชน ในรูปของคณะกรรมที่มีส่วนได้

ส่วนเสียกับการร่วมพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนาที่ดีขึ้น
                    2. งานสานสัมพันธ์
  
                          งานที่ต้องการให้มีการรับข่าวสารระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและงานต่างๆที่ชุมชนและโรงเรียนได้ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งผลถึงการพัฒนาโรงเรียน

                    3. งานเยี่ยมบ้านนักเรียน
  
                          งานที่ต้องประสานกับผู้ปกครองเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีศักยภาพ และรวมถึงการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน
                    4. งานทุนทรัพย์เพื่อการพัฒนาการศึกษา
         
                          งานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาทุนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ที่ส่งผลถึงการพัฒนาผู้เรียนอีกทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งในส่วน
ของผู้ปกครอง  ชุมชน และสังคม  หรือเกิดภาวะเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศ  

 

บทบาทของงานสัมพันธ์ชุมชน
    
      1. มีหน้าที่สัมพันธ์งานของโรงเรียนให้ชุมชนทราบ
          2. เยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อช่วยเหลือติดตามพฤติกรรมของนักเรียน
          3. ช่วยประสานงานกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
          4. นำคณะครูและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ชุมชนจัดขึ้น
          5. จัดทำจุลสาร แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้ชุมชนทราบ
          6. เชิญกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประชุม

          7. จัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ชุมชนต้องการ

          8. ดำเนินการตามโครงการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามนักเรียน
          9. เข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีต่างๆร่วมกับชุมชน
         10. ให้บริการสถานที่อุปกรณ์ของสถานศึกษาแก่ชุมชน และหน่วยงานต่างๆที่มาขอใช้บริการ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 498753เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คนทำงานชุมชนสนับสนุนการบริหารงานชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท