Software6: กรณีคัดออก แล้วทำไมค่า PI ไม่เท่ากับ ศูนย์ (PSUCalPat v1.3)


     ดูจากภาพด้านบน ซึ่งเป็นการคำนวณค่าทางสถิติเพื่อตรวจพิสูจน์พ่อ-แม่-ลูก กรณีที่คัดพ่อออก หมายถึงปฏิเสธว่าชายคนนี้ไม่ใช่พ่อของเด็ก หรือกรณีที่คัดแม่ออก หมายถึงปฏิเสธว่า หญิงคนนี้ไม่ใช่แม่ของเด็ก  จะเห็นว่าค่า paternity index (PI) มีค่าเป็นเลขทศนิยม มีคำถามว่า ในเมื่อมันคัดออกแล้วทำไมค่า PI ถึงไม่เท่ากับ 0 (ศูนย์) ?

     การใช้ค่า PI กรณีที่คัดออกเท่ากับ 0 (ศูนย์) มักใช้ในกรณีที่ไม่อยากคำนวณครับ เพราะ 0 ไปคูณอะไรก็ได้ 0  ในเมื่อคัดออกแล้วก็ไม่รู้จะเสียเวลาคำนวณไปทำอะไร ก็ใช้ประมาณไปเลยว่า PI เป็น 0

     แต่ถ้าจะให้ถูกต้อง กรณีที่คัดออก ค่า PI ไม่ได้เท่ากับ 0 ครับ แต่มีค่าเท่ากับค่าที่ตำแหน่งนั้นๆเกิดการกลายพันธุ์ (mutation) เพราะฉะนั้น ค่า PI ที่ตำแหน่งนั้นต้องถูกคำนวณว่า เกิดการกลายพันธุ์ มีค่าเท่ากับเท่าไร  โดยทั้่วไป มักใช้สูตรว่า

     PI = MutationRate ที่ตำแหน่งนั้น/ Power of Exclusion ที่ตำแหน่งนั้น

     ดังนั้นค่าที่ได้จึงมักเป็นจุดทศนิยมครับ จะเห็นว่ามีค่าตั้งแต่ 1 ใน 1000 ถึง 4 ใน 1000 โดยเฉลี่ย ก็ประมาณ 2 ใน 1000 หรือการหารด้วย 500 โดยประมาณครับ

     ถ้าถามว่าการคำนวณแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ คงต้องตอบว่า การคำนวณแบบนี้ เป็นการคำนวณในหลักการครับ ซึ่งเป็นวิธีการคำนวณที่ใช้กับวิธี RFLP หรือวิธีโบราณ แต่ถ้าจะใช้ในงานปัจจุบัน มีวิธีการคำนวณที่ละเอียดกว่านี้ คือคำนวณจากโอกาสที่อัตราการเกิดการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนั้นๆ จากค่าอัลลีลค่าหนึ่งไปเป็นอีกค่าหนึ่งมีค่าเท่ากับเท่าใด แล้วหารด้วยค่าที่ได้อัลลีลนั้นจากคนทั่วไปในกลุ่มประชากร  วิธีการนี้ทำได้แค่เพียงทฤษฎีครับ ในทางปฏิบัติจะหาข้อมูลอัตราการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งใดๆจากอัลลีลที่หนึ่งไปเป็นอัลลีลที่สอง ได้ยากมากๆๆๆๆๆๆ ถึงมากที่สุด   เพราะฉะนั้นการคำนวณจึงมักยังคงใช้สูตรแบบเดิมครับ

หมายเลขบันทึก: 497678เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2012 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนอาจารย์ เป็นบันทึกอ่านแล้วได้ความรู้ดียิ่ง แต่มักจะมาอ่านแล้วให้ดอกไม้ ด้วยว่าไม่รู้จะคอมเม้นตืว่าอย่างไร

เป็นหนทางรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบก หากมีใครถามประเด็นนี้ขึ้นมา จะได้นึกถึงอาจารย์ ให้เป็นพี่เลี้ยงมาช่วยตอบ

ขอบคุณมากครับ คุณวอญ่า

 ผมพยายามเขียนเรื่องราวที่ค่อนข้างเป็นวิชาการ โดยเฉพาะในงานด้านการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นเรื่องที่จริงๆแล้วมีคนสอนในเชิงลึกได้ ไม่มากนัก แล้วมันเกี่ยวพันกับเรื่องราวการคำนวณทางสถิติ ซึ่งเป็นยาขมหม้อใหญ่ ผมก็เลยพยายามที่จะย่อยให้มันเป็นยาขมหม้อเล็กๆ จะได้กินได้ไม่ยากมากนัก 
 ผมเองก็ชอบอ่านเรื่องราวบันทึกจากประสบการณ์จริงของคุณวอญ่าครับ อ่านแล้วอดคิดถึงคุณชายขอบไม่ได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท