พระนางพญา และซุ้มกอ น่าจะมีน้ำปูนประสานเนื้อดินเหนียวหรือไม่


บางองค์จะมีคราบหินปูนขาวๆ หนามาก และหนาเกินกว่าที่จะเป็นคราบปูนมาเคลือบจากภายนอก

จากการติดตามดูคราบกรุและคราบปูน ของพระนางพญาและพระกำแพงซุ้มกอที่มี และพระเนื้อดินอีกหลายกรุ

พบว่าบางองค์จะมีคราบหินปูนขาวๆ หนามาก

และหนาเกินกว่าที่จะเป็นคราบปูนมาเคลือบจากภายนอก ด้วย 3 เหตุผล คือ

  1. ความหนา และความสม่ำเสมอของการเคลือบในองค์ที่มีคราบปูน รอบองค์พระ ความสม่ำเสมอนี้ ไม่น่าจะเกิดจากภายนอก แต่น่าจะเกิดมาจากภายใน
  2. ไม่พบคราบปูนในอิฐขอบกรุ ทั้งด้านในและด้านนอก แสดงว่าไม่น่ามีน้ำปูนจากภายนอกองค์พระ และภายในกรุมาเคลือบองค์พระ
  3. พระที่หลุดไปอยู่นอกกรุ คราบนี้จะถูกชะล้างไป ไม่เหลือ แสดงว่า ไม่มีการเคลือบคราบปูนจากนอกกรุเช่นกัน

ดังนั้นจึงน่าจะมั่นใจได้ว่า น่าจะมีการผสมน้ำหรือผงปูนลงไปในดินเหนียวก่อนการปั้น

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ทำเพื่ออะไร?

ก็น่าสนใจวิเคราะห์ต่อว่าเป็นประเด็นในเชิงความทนทานของดินที่ปั้น หรือว่าเป็นแนวคิดเชิงพุทธคุณ

ในเชิงของความทนทาน ก็มีเหตุผลจากการใช้น้ำปูนใสผสมอาหาร จะทำให้เกิดความกรอบเหนียว ไม่เละ

ที่น่าจะมีผลในเชิงภูมิปัญญาและความคิดทางด้านมวลสาร

แต่ในเชิงพุทธคุณ ก็ถือว่า “ผงปูน” ทำให้เกิดความคงกระพัน ทนทาน น่าจะเชื่อมโยงเข้ากับแนวคิดนี้ได้อีกเช่นกัน

ฉะนั้น ผมจึงขอตั้งสมมติฐานว่า

การสร้างพระเนื้อดินเผาบางกรุ โดยเฉพาะ พระกำแพงซุ้มกอ และพระนางพญาพิษณุโลก น่าจะมีการผสมน้ำปูน หรือผงปูนสุก หรือผงปูนดิบ เข้าไปในเนื้อพระก่อนการเผา

เพื่อผลในทางความแข็งแกร่งของมวลสารหรือด้านพุทธคุณก็แล้วแต่จะว่ากันต่อไป

จึงขอเสนอเพื่อการพิจารณาศึกษาต่อเนื่องไปครับ

หมายเลขบันทึก: 496928เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท