ครูภาษาไทยกับการศึกษาสู่อาเซียน


สอนหนังสือให้ความรู้กับลูกศิษย์เท่ากันทุกคนได้แต่ไม่สามารถสอนให้ลูกศิษย์เป็นคนดีเท่ากันทุกคนได้

คุณภาพครูในการจัดการเรียนรู้ในประชาคมอาเซียนต้องพัฒนาด้านใดบ้าง ?

๑.มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

๒.สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร

๓.ใช้หนังสือ ตำราเรียนและสื่อที่เป็นภาษาต่างประเทศในการจัดการเรียนรู้

๔.ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ICT) ในการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลทั้งระบบออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline)

๕.ใช้เทคนิคและวิธีสอนที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้

๖.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ ทั้งในประเทศและในกลุ่มประชาคมอาเซียน

๗.ใช้ประสบการณ์การวิจัย สื่อและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

แหล่งอ้างอิง : ชุดฝึกอบรม ภาษาไทย ระดับมัธยมต้น โครงการพัฒนาครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา การศึกษาปฐมวัย การศึกษาพิเศษ บรรณารักษ์ และแนะแนว สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ ๒๕๕๕, หน้า ๑๒๕

------------------

วนิดาขอเพิ่มอีกสักสามสี่ข้อแบบส่วนตั๊ว...ส่วนตัว ไม่รู้ว่ามันจะเบื๊อกไปไหม ?

๗.เวลาสอนหนังสือต้องสร้างเจตคติต่อผู้เรียนอีกอย่างหนึ่ง (แบบวนิดาคิดเอง) ว่า......ชาติไทยไม่ใช่ชาติที่น่าภูมิใจเท่าไหร่ พวกเรามาลดความภาคภูมิใจลงบ้างดีกว่าไหม ? แล้วหันไปเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ เพื่อนบ้าน โดยไม่ดูถูกว่าด้อยกว่าเรา ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราเองน่ะแหละที่ด้อยกว่าเขา ทั้งความเสียเปรียบด้านภาษา เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีกว่าพี่ไทย แต่ที่สำคัญเขาสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ เข้าใจภาษาพูด ภาษาเขียน และอ่านภาษาไทยได้ แต่เรา....ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เรียนไปเพื่อใช้สื่อสาร แต่เราเรียนไปเพื่อใช้สอบ (อินี้...ก็อาจจะเป็นความคิดแบบเบื๊อก ๆ ของตัวเองคนเดียวก็เป็นได้) ภาษาเพื่อนบ้านที่อยู่ติดรั้วเราเอง เรายังไม่เข้าใจเขาเลย เพราะเราคิดว่าเราเป็นเราหรือเปล่า ? เราเลยทะนงในความเป็นเราแบบไทย ๆ

๘.คุณครูเองจะทำอย่างไรหากในอนาคตอาจมีลูกศิษย์นานาชาติมาศึกษาต่อที่ประเทศไทย เราพร้อมแล้วหรือยัง ? ภาษาอังกฤษก็ยังไม่แข็งแรง ภาษาอื่น ๆ ล่ะ เอาล่ะสิ เราจะก้าวทันไหม ?

๙.คุณครูอย่างเราจะต้องจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ลูกศิษย์มีการคิดแบบกาลามสูตร มองเห็นคุณค่าของความแตกต่าง เพื่อความอยู่รอดของตนเอง ต่อผู้อื่นและสังคม และไม่ลืม ไม่ดูถูกความเป็นตัวตนของตนเอง

------------------------

วนิดามีความเชื่ออยู่นิดว่า ครูอย่างวนิดาสามารถสอนหนังสือให้ความรู้กับลูกศิษย์เท่ากันทุกคนได้  แต่ไม่สามารถสอนให้ลูกศิษย์เป็นคนดีเท่ากันทุกคนได้ ในอนาคตที่เราต้องก้าวไปข้างหน้า......ไปสู่อาเซียน เราจะเหลือคนสักกี่คนที่คิดถึงผู้อื่นเพื่อสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและต่อสังคมสักกี่คน ?

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 495490เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท