ปฏิกิริยาร่วมของปูน น้ำ และน้ำมัน ในการพัฒนาการของเนื้อพระผงปูนผสมน้ำมันตังอิ้ว


ปูนกับน้ำจะทำปฏิกิริยากันได้ดี ในระบบสารละลาย ในขณะที่น้ำมันจะเป็นระบบสารแขวนลอย และจะกลั่นรวมตัวกันได้ดีเมื่อน้ำน้อยลงหรือแห้งสนิท

ในระยะนี้ผมพยายามคิดหาทางช่วยคนที่ยังไม่สามารถเข้าใจพัฒนาการของเนื้อ และผิวพระเนื้อผงปูนได้

โดยเฉพาะ

ความแตกต่างของ

พระสมเด็จที่เพิ่งสร้างใหม่ๆ และพระสมเด็จที่มีอายุมาก ว่ามีอะไรแตกต่างกัน

ผมตระหนักดีว่า

การอธิบายนี้อาจเป็นดาบสองคม คือ

นอกจากจะทำให้นักส่องพระเข้าใจพระมากขึ้น

ก็อาจเป็นช่องทางให้ช่างทำพระเก๊ได้ ทำเนียนมากขึ้น

แต่ผมก็มาชั่งใจว่า

การทำให้คนรู้มากขึ้น น่าจะคิดต่อได้ดีกว่าเดืม การโดนหลอกก็จะยากขึ้นและมีขีดจำกัดในตัวเอง

ประเด็นสำคัญของการพัฒนาการของเนื้อและผิวพระสมเด็จเนื้อปูนเปลือกหอย ก็คือ

ความเข้าใจเชิงปฏิกิริยาของปูน น้ำ และน้ำมัน ในการพัฒนาการของเนื้อพระผงปูนผสมน้ำมันตังอิ้ว

ปูนที่มีในระบบของพระผงปูนก็จะมี

  • ปูนสุก หรือปูนขาว (Calcium oxide) ที่ทำให้เกิดการเชื่อมประสาน (concretion)ของเนื้อพระในระยะแรกๆ และเกิดความนวลของผิวพระ (coating) ในระยะต่อๆมา และ
  • ปูนดิบ หรือหินบด หรือเปลือกหอยป่น (calcium carbonate) ที่จะเคลือบผิวหินปูนด้านนอก ทำให้เกิดความแข็งแกร่งของเนื้อและผิวพระในระยะต่อๆมา

น้ำ

  • จะเป็นตัวทำละลายปูนให้ทำปฏิกิริยาเกาะกัน โดยเฉพาะในระยะแรกๆ และ
  • เคลื่อนที่มาที่ผิวตามแรงตึงผิว และความแห้ง (Capillary flow)  และ
  • เมื่อมีความชื้นเข้าไปในองค์พระอีก ก็จะไปเกิดการละลายเนื้อปูนดิบและสุก เท่าที่มีอยู่ในเนื้อ
  • แล้วไหลกลับออกมาเมื่อบรรยากาศและความชื้นภายนอกแห้งกว่า
  • การไหลของน้ำทำให้มีการตกตะกอนของปูนทั้งสองชนิดตามจำนวนครั้งของการไหลของน้ำออกมาระเหยที่ผิว
  • ผิวพระเนื้อปูนดิบที่พัฒนาจนปิดผิวพระโดยรอบแล้วจะเก็บกักความชื้นในองค์พระได้มากและนานกว่าเนื้อปูนสุก
  • และการระเหยน้ำของพระเนื้อปูนดิบ ส่วนใหญ่จะผ่านรูเปิดที่เหลือ ที่เรียกว่า "บ่อน้ำตา" หรือรอยแยก หรือรอยปริร้าวของแผ่นปูนดิบที่เก่าได้อายุ
  • ทำให้พระที่มีอายุมากที่น่าจะผ่านความแปรปรวนของความชื้นเหล่านี้มาบ่อย ก็จะมีการพัฒนาผิวค่อนข้างมาก

และน้ำมัน ที่ใช้ก็คือนำมันข้นที่เรียกว่า "ตังอิ้ว"

  • จะแขวนลอยในน้ำ ทำหน้าที่ประสานให้เนื้อปูนที่กำลังแห้งเกาะกันต่อไป ด้วยแรงเชื่อมของน้ำมัน
  • ทำให้เนื้อปูนที่แห้งลงไม่แตกหักโดยง่าย
  • การเชื่อมประสานจะยิ่งมีมากถ้าพระแห้งมาก และจะน้อยลงเมื่อพระมีความชื้นมากขึ้น
  • จึงเป็นการประสานแรงให้มีความคงทนทั้งในสภาพแห้งและชื้น ที่แปรปรวนอยู่ของเนื้อพระ
  • ถ้าเนื้อพระแห้งมากๆ นานๆ น้ำมันตังอิ้วก็จะมีแรงการกลั่นตัวและไหลออกมาถึงผิวด้านนอกตามรูน้ำตา และรอยปริแยกของผิว ให้เห็นเป็นคราบๆ ที่เรียกว่า "คราบตังอิ้ว"

ทั้งนี้ เพราะ ปูนกับน้ำจะทำปฏิกิริยากันได้ดี อย่างต่อเนื่อง ในระบบสารละลาย

ในขณะที่น้ำมันจะเป็นระบบสารแขวนลอย และจะกลั่นรวมตัวกันได้ดี เฉพาะเมื่อมีน้ำน้อยลงหรือแห้งสนิท

และถ้าเนื้อพระแห้งมากๆ นานๆ น้ำมันตังอิ้วก็จะมีแรงการกลั่นตัวและไหลออกมาถึงผิวด้านนอก

การไหลของตังอิ้วจะถูกปิดกั้นด้วยความชื้นที่สูงขึ้นในเนื้อ ที่ผิว หรือรอบๆองค์พระ เช่น การแช่น้ำทั้งร้อนและเย็น แต่การแช่น้ำร้อนนานๆ อาจทำให้น้ำมันบางส่วนระเหยออกมาแทนการไหลตามปกติ

พระเนื้อปูนดิบจะปิดกั้นการไหลของน้ำมันตังอิ้วได้ด้วยความชื้นที่สูงกว่า และช่องทางเปิดที่จำกัดกว่า

และการไหลของน้ำมันตังอิ้วจะถูกเร่งให้ไหลมากขึ้นในสภาพที่ร้อนและแห้ง เช่น การแขวนพระใช้กับตัว ที่มีความร้อนอบอยู่ตลอด

ดังนั้น ถ้าอยากให้พระเนื้อฉ่ำมันก็ต้องแขวนใช้บ่อยๆ

ถ้าอยากให้พระออกนวลสวย ก็ล้างบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับองค์พระ

และโดยธรรมชาติ พระที่อยู่ในสภาพแห้งจะออกผิวฉ่ำ เพราะจะมีน้ำมันตังอิ้วออกมามาก

ในขณะที่พระอยู่ในสภาพชื้นจะออกผิวนวล เพราะน้ำจะนำปูนออกมาที่ผิวมากขึ้น

เมื่อเข้าใจแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ทั้ง

  • ประเมินอายุ และอ่านประวัติของพระสมเด็จแต่ละองค์
  • นำมาปรับให้ผิวพระฉ่ำ หรือนวล ก็แล้วแต่ชอบ และ
  • สามารถประเมินอายุของพระได้ ตามหลักการที่เขียนและแสดงตัวอย่างผิวไว้แล้วในบทความก่อนๆ

ขอให้โชคดีครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 495296เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น้ำปูนจะมีวันไหลปะคับถ้าเคยแช่แร้วครั้ง2ครั้งคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท