เป้าหมายและกิจกรรมต่างหากที่กำหนดคุณภาพของการสอน


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานบอกมาตรฐานและตัวชี้วัดเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอน แต่กระบวนการสร้างผลการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนคือหน้าที่ของครูนะคะ

TOWARD AN UNDERSTANDING OF INQUIRY IN SCIENCE CLASSROOMS    

      จากตัวอย่างในตอนแรกการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ภาพ UV ให้นักเรียนได้พัฒนาการอธิบายเรื่องหลุมดำ และถามคนอ่านว่านักเรียนได้สนใจในกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ และถามว่ากลยุทธิ์อะไรที่เหมาะสมกับการสอนที่สามารถอธิบายได้ว่านี่คือการสอนแบบสืบเสาะ
       สืบเสาะเปรียบเสมือนกลยุทธ์การสอนที่สามารถมองเห็นภาพหัวใจของกระบวนการตรวจสอบหาความจริง
 ( spirit of scientific investigation)   และการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโลกธรรมชาติ เป็นวิธีการที่สอนและเรียนรู้ รูปแบบที่จำเป็นของการสืบเสาะไม่จำเป็นที่จะต้องมาอธิบายว่าเป็น activity-based, hands-on หรือวิธีการอื่นๆ (หมายความว่าเราเลือกวิธีการสอนอะไรก็ได้ขอให้สามรถสอนให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการสืบเสาะอย่างมีวิทยาศาสตร์) แต่เป้าและกิจกรรมต่างหากที่กำหนดคุณภาพของการสอน

         Prof. Bybee ได้เสนอแนวทางในการสอนการสืบเสาะในห้องเรียนวิทยาศาสตร์และอธิบายการจัดประสบการณ์ในห้องเรียนที่จำเป็นเพื่อสร้างคุณสมบัติวิธีการสืบเสาะ มาดูเป้าหมายของมาตรฐานของหลักสูตรกันค่ะ
 
คุณสมบัติสำคัญของการสืบเสาะในห้องเรียนวิทยาศาสตร์
      : ผู้เรียนสนใจการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
      : ผู้เรียนให้หลักฐานเบื้อต้นในการตอบคำถาม
      : ผู้เรียนใช้หลักฐานในการพัฒนาการอธิบาย
      : ผู้เรียนเชื่อมโยงการอธิบายกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
      : ผู้เรียนสื่อสารและตัดสินการอธิบาย
            ข้อแรกเกี่ยวกับจิตพิสัยทางวิทยาศาสตร์ ข้อที่ 2 เป็นกิจกรรมที่ชัดเจนมีการวางแนวทางและพัฒนาคำออธิบาย ข้อที่ 3  ผู้เรียนเชื่อมต่อไปยังความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ข้อสุดท้าย มีพื้นฐานของการสื่อสารและการตัดสินใจ ัท้งหมดนี้คือคุณสมบัติที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนแต่ไม่มีการอธิบายวิธีการที่เฉพาะเจาะจงในการสอน

       ข้อที่ 2 มีความใกล้เคียงที่สุดในกลยุทธ์การสอน ถึงไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน แต่เน้นให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในห้องเรียน ท่านได้เสนอชาร์ทตัวอย่างที่จะทำให้เราคิดมากขึ้นและมีความสัมพันธ์กับการสืบเสาะมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น การสืบเสาะควรจะมีความเข้าใจลึกซึ้งมากกว่าการปฎิบัติตามคู่คือ ชุดปฏิบัติการ กระบวนการหรือวิธีการจิตพิสัย
         เพื่อจะให้ชัดเจน คำอธิบายในชาร์ทมีความชัดเจนมากกว่าที่จะมองแค่ครูเป็นศูนย์กลางหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และเพื่ออธิบายให้ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบหลักสูตรและครูผู้สอนการตัดสินอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับกลยุทธ์การสอนและวิธีการเป็นผู้อำนวยความสะดวกที่ดีที่สุด
       การสอนการสืบเสาะในห้องเรียนควรมุ่งเน้นที่ 
       A : มุ่งเน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน
       B : มุ่งเน้นที่ผลการเรียนมากกว่าประสบการณ์ของผู้เรียน
       C : มุ่งเน้นที่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้มากกว่าวิธีการสอน 

(Inquiry in the science classroom should:
focus on the learning, more than pedagogy, focus on learning outcomes, more than the experience of students, and focus on science and learning theory, more than teaching methods.) 

ผู้เรียนสนใจการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
     

ผู้เรียนถามคำถาม

ผู้เรียนเลือกคำถาม
และตั้งคำถามใหม่

ผู้เรียนทำให้คำถามมี
ความชัดเจนจาก
แหล่งข้อมูลต่างๆ

ผู้เรียนมี
ส่วนร่วม
ในคำถาม
ที่ครูจัดเตรียมไว้

ผู้เรียนให้หลักฐานเบื้อต้นในการตอบคำถาม
 

ผู้เรียนกำหนดหลักฐาน
และวิธีการรวบรวม

ผู้เรียนเก็บรวบรวม
ข้อมูลโดยตรง

ผู้เรียนให้ข้อมูลและ
ถามเพื่อวิเคราะห์

ผู้เรียนให้ข้อมูล
และถามวิธีการที่จะวิเคราะห์

 ผู้เรียนใช้หลักฐานในการพัฒนาการอธิบาย
 

ผู้เรียนสร้างการอธิบาย
หลังจากสรุปหลักฐาน

ผู้เรียนแสดงถึง
กระบวนการของ
การการอธบายจาก
หลักฐาน

ผู้เรียนให้วิธีการที่
เป็นไปได้ในการใช้
ข้อมูลเพื่อสร้างการอธิบาย

ผู้เรียนเตรียม
หลักฐาน

ผู้เรียนเชื่อมโยงการอธิบายกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
 

ผู้เรียนตรวจสอบอย่าง
เป็นอิสระในแหล่งการ
เรียนรู้และสร้างความ
เชื่อมโยงไปยังคำอธิบาย

ผุ้เรียนค้นหาแหล่งข้อมูลได้โดยตรง

ผู้เรียนแสดงความ
เป็นไปได้ของการเชื่อมโยง

 

ผู้เรียนสื่อสารและตัดสินการอธิบาย

ผู้เรียนสร้างเหตุผลและตรรกในการแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารการอธิบาย

ผู้เรียนแนะนำการพัฒนาการสื่อสาร

ผู้เรีนจัดเตรียม
บอร์ดเพื่อเป็นแนว
ทางในการสื่อสาร

ผู้เรียนให้ขั้น
ตอนและกระ
บวนการในการ
สื่อสาร

 
        หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานบอกมาตรฐานและตัวชี้วัดเพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้สอน แต่กระบวนการสร้างผลการเรียนรู้ให้เกิดกับผู้เรียนคือหน้าที่ของครูนะคะ ทำอย่างไรเราจะไปถึงจุดหมายนั่นได้ วิธีการแรกที่สำคัญคือ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เป้าหมายจะชัดเจนเมื่อครูวิเคราะห์ได้ว่า มาตรฐานนั่นๆต้องการให้เกิดอะไรกับผู้เรียน ผู้เรียนต้องผ่านกระบวนการใดบ้างเพื่อจะไปยังจุดนั้น เหมือนตารางของ Prof.Bybee ที่พยายามให้เราเห็นข้อย่อยในแต่ละมาตรฐาน เมื่อวิเคราะห์ได้ แนวทางที่จะพานักเรียนไปยังเป้าหมายก็ไม่อยากแล้วใช่ไหมค่ะ อาจงานเขียนเขียนของ Professor เก่งๆที่ท่านอยู่ในวงการการศึกษามาเนิ่นนาน ประสบการณ์ที่บอกเล่าผ่านตัวหนังสือทำให้เราได้คิดอะไรที่มากมายได้เช่นกันนะค่ะ 
หมายเลขบันทึก: 493689เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 01:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท