Science teaching


กุญแจสำคัญของกระบวนการสืบเสาะและการสอนวิทยาศาสตร์อยู่ที่ "วิธีการสอน"

Teaching : Using Strategies that Unite Science and Learning 

        มาถึงส่วนที่ 2 ของ paper นี้แล้วค่ะ ยังพูดถึงกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์และการสอนวิทยาศาสตร์กันอยู่นะค่ะ  ก่อนหน้านี้เราพูดเรื่องกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างจากการอธิบายทั่วไป วันนี้เราจะพูดถึงเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ค่ะ
     
       เรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิธีการจัดโครงสร้างการสอนวิทยาศาสตร์
1) การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาความสามารถและความเข้าใจการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ 2) ส่งเสริมการเรียนรู้หลักการของวิทยศาสตร์  
3) การตระหนักถึงความเป็นจริงในห้องเรียนและโรงเรียน
      ในส่วนของการสืบเสาะ เป้าของเนื้อหา : นักเรียนควรเรียนเนื้อหาและความสามรถของกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์(Scientific Inquiry) ตามที่อธิบายในมาตรฐานแห่งชาติเสนอถึงสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้โดยตรงจากวิธีการสอนของครู ดังนั้นกุญแจสำคัญของเรื่องนี้คือ วิธีการสอน นักการศึกษาโดยทั่วไปไม่ได้ระบุให้ชัดเจน ทิศทางที่แน่นอนและเส้นทางที่มีความหมาย นั่นหมายความว่าเราต้องการระบบวิธีการที่เชื่อมโยงกันและมุ่งเน้นไปที่วิธีการสอน แม้ว่ากลยุทธ์ (strategies) การสอนมีหลากหลายในทิศทางและลำดับบทเรียนแต่ควรมีการเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ เพื่อประยุกต์ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเข้าใจ บทเรียนควรมีความชัดเจนมุ่งเน้นผลการเรียนรู้ของการสืบเสาะและ หลักการของวิทยาศาสตร์  
       รูปแบบการสอน 5 ขั้น หรือ 5E ที่ประกอบด้วย engage, explore, explain, elaborate  และ evaluate โครงสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทีสอดคล้องกับทฤษฎีร่วมสมัยที่เสนอว่านักเรียนจะเรียนรู้ดีที่สุดเมื่อมีการพัฒนาความเข้าใจหลักการตลอดเวลา มุ่งเน้นการสอนที่มีความหมายและความเข้าใจ ลดหรือจำกัดการจดจำข้อเท็จจริง หลักการและการจำกัดความของคำศัพท์ต่างๆ
       ทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแนะนำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆด้วยความรู้และการอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติ นักเรียนจะสร้างความเข้าใจ โดยการเชื่อมต่อสารสนเทศใหม่เข้ากับประสบการณ์ของตนเอง ความสำคัญของหลักสูตรและผู้สอนคือการจัดเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมต่อระหว่างหลักการและความรู้ที่ได้เรียนรู้
      การเรียนรู้อย่างมีความหมายต้องเกิดตลอดการเรียนรู้ ถ้านักเรียนมีความเข้าใจวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงและพัฒนาทักษะ นักเรียนจะไม่เพียงแค่อ่าน จำและ ท่องคำศัพท์ พวกเขาจะพยายามอย่างหนักในการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ด้วยการอภิปรายความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนและครู รวบรวมข้อมูล สร้างข้อสรุป ฝึกทักษะ ในท้ายที่สุดนักเรียนจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้ มาดู 5E กันอีกสักครั้งนะค่ะ

ENGAGEMENT: เป็นขั้นเริ่มต้นของกิจกรรมควรเริ่มจาก 1. การเชื่อมต่อประสบการณ์ในอดีตและประสบการณ์ในปัจจุบัน 2.   This phase of the instructional model initiates the learning task. The activity should (1) make connections between past and present learning experiences, and (2) เป้าหมายของกิจกรรมและนักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดว่าการเรียนรู้นี้ควรจะเกิดผลการเรียนรู้อย่างไร การคิดเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการและทักษะในการสำรวจ

EXPLORATION:  ครูจัดเตรียมประสบการณ์พื้นฐานที่จะทำให้นักเรียนได้ตรวจสอบและพัฒนาหลักการที่มีอยู่ในปัจจุบัน, กระบวนการ และทักษะ ในขั้นนี้ นักเรียนจะได้สำรวจสิ่งแวดล้อมและตัวแปรที่หลากหลาย

EXPLANATION: ขั้นนี้มุ่งเน้นให้นักเรียนสนใจลักษณะพิเศษจากประสบการณ์ที่ตนเองสนใจและสำรวจ ครูจัดเตรียมโอกาสเพื่อให้นักเรียนได้พูดความเข้าใจหลักการ สาธิตทัษณะหรือพฤติกรรมที่มี ครูจะได้แนะนำให้นักเรียนเข้าใจอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ ทักษะและพฤติกรรม 

ELABORATION: ขั้นนี้เป็นขั้นท้าทายและขยายความเข้าใจหลักการของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทํกษะและลักษณะที่ต้องการ การได้รับประสบการณ์ใหม่พัฒนาผู้เรียนอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง สารสนเทศที่มากขึ้น ทักษะอย่างเพียงพอ

EVALLUATION: ขั้นสุดท้าย กระตุ้นให้ผู้เรียนวัดผลความเข้าใจและความสามารถ และเป็นโอกาสที่ผู้สอนจะได้ประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ที่นำไปสู่เป้าหมายทางการศึกษา 

      เป็นอย่างไรบ้างค่ะ เหมือนหรือต่างจากความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
การสอนด้วยรูปแบบ 5E มีปรัชญาคือการพัฒนาความเข้าใจหลักการตลอดเวลา การสอนอย่างมีความหมายและการสร้างความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ วันนี้ครุปุ้มได้แนวคิดใหม่ในการเขียนแผนการรียนรู้เพิ่มเติมแล้วนะค่ะ แล้วคุณครูล่ะค่ะ อ่านเรื่องนี้แล้วได้อะไรบ้าง อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนกันนะค่ะ 

    พรุ่งนี้มาดูวิธีการที่ Prof.bybee นำเสนอแนวทางในการนำไปใช้ในห้องเรียนนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 493503เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท