เคล็ดการดูผิวพระเบญจภาคี: พระสมเด็จผิวนวล พระรอดผิวขี้ผึ้ง พระผงสุพรรณผิวฉ่ำ พระซุ้มกอผิวผดผื่น พระนางพญาผิวร่องทรายมน


จากการศึกษาวิธีการสร้างและพัฒนาการของผิว ทำให้สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่ควรมีที่ผิวพระเบญจภาคีไว้เป็นหลักจำได้เลย

หหลังจากผมใช้เวลาทบทวนวิวัฒนาการของการสร้างพระในชุดเบญจภาคี และพัฒนาการของผิวพระ ที่เป็นเอกลักษณ์ใหญ่ๆ หรือเป็นองค์รวมของพระแต่ละชุดทั้ง 5 ในเบญจภาคี ทำให้ผมได้ข้อสรุปเป็นคำสำคัญ ดังนี้

  • พระสมเด็จ ผิวนวล
    • เนื่องจากเป็นพระเนื้อผงปูนดิบ มีการละลายของน้ำปูนแคลเซียมคาร์บอนเนตออกมาคลุมที่ผิวเป็นผิวแข็งสีมุกโทนสีต่างๆ
    • และ มักจะมีส่วนผสมปูนสุก แคลเซียมไบคาร์บอนเนต ในพระสมเด็จมากบ้างน้อยบ้าง
    • น้ำปูนสุกจะละลายออกมาเคลือบผิว และรอยแตก จะทำให้เกิดคราบนวลๆ ตามผิวและรอยแยก
    • ถ้าไม่มี มักจะเก๊ 
  • พระรอด ผิวขี้ผึ้ง
    • เนื่องจากการผสมแร่เหล็กกับดินกรองแล้วเผาไปที่ความร้อนสูงเกิน 1000 องศาเซลเซียส ทำให้แร่ต่างๆละลาย จนถึงไปทำปฏิกริยาใหม่เป็นแร่เชิงซ้อน ออกสีเขียวเข้มออกดำ
    • เมื่อเวลาผ่านไป แร่ต่างๆก็จะมีการสลายตัวบ้าง ออกมา มากน้อยตามระดับความร้อนที่เผา ถ้าร้อนน้อยจะสลายตัวมาก ออกเป็นสีนวลๆ และสีสนิมของแร่ขาวนวลคล้ายขี้ผึ้ง
    • ทำให้ผิวพระรอด "มาตรฐาน" เป็นสีขาวนวลออกแดงๆ แต่ถ้าร้อนมาก สีพื้นจะเป็นสีเขียวของแร่เหล็กเชิงซ้อน แต่สนิมเหล็กจะต้องมีแบบบางๆ แต่ยังต้องมี
    • ถ้าไม่มี มักจะเก๊
  • พระผงสุพรรณ ผิวฉ่ำ
    • เนื่องจากพระผงสุพรรณเป็นพระดินดิบ ไม่ผ่านการเผา จึงอาศัยเนื้อว่านในการรักษารูปทรง และความคงทนของเนื้อพระ
    • น้ำว่านจะซีมออกมาคลุมเนื้อดินไว้ไม่ให้กร่อน จึงทำให้ผิวมีความมันฉ่ำ ยิ่งมากยิ่งดี
    • ถ้าไม่มี มักจะเก๊
  • พระซุ้มกอ ผิวผดผื่น
    • พระกำแพงซุ้มกอ จะมีการผสมน้ำว่านที่ส่วนใหญ่มีสีแดง แร่เหล็ก ลงไปในเนื้อพระ กดอัดเข้ารูป สีน้ำว่านทำให้กลายเป็นพระซุ้มกอเนื้อแกร่ง แดง ขาว เหลือง หรือเนื้อดำ
    • แต่ พระซุ้มกอส่วนใหญ่ ยังคงรักษาสภาพ เม็ดแดงๆในเนื้อ ที่แข็งกว่าเนื้อดินเล็กน้อย
    • เมื่อดินกร่อนยุ่ยหลุดไป ก็จะเห็นเม็ดแดงๆ ของก้อนน้ำว่าน และแร่เหล็กลอยขึ้นเหนือผิวดินยุ่ย เห็นเป็นเม็ดผดผื่นแดงๆ มนๆ นูนสูงกว่าผิวดินเล็กน้อย
    • ถ้าไม่มี มักจะเก๊
  • พระนางพญา ผิวร่องทรายมน
    • พระนางพญาพิษณุโลก จะมีการผสมเม็ดทรายในเนื้อพระดินดิบ ที่แน่นอนว่าจะมีการกร่อนช้ากว่าเนื้อดิน
    • และมักมีรอยแยกระหว่างผิวทรายกับผิวดิน เป็นร่อง เรียกว่า ร่องทราย เนื่องจากการกร่อนของเนื้อดินรอบเม็ดทราย 
    • ขณะเดียวกัน เม็ดทรายก็จะกร่อน มีความมน ถ้าผ่านการใช้จะกร่อนเป็นริ้วๆ
    • จึงเกิดเป็นเม็ดทรายมน ท่ามกลางร่องทราย
    • ถ้าไม่มี มักจะเก๊

ดังนั้น จากการศึกษากระบวนการสร้าง และผิวพระแท้ๆที่หลากหลาย 

ทำให้สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่ควรมี ที่ผิวพระเบญจภาคี ไว้เป็นหลักจำไว้ใช้ได้เลย

ลองดูนะครับ

หมายเลขบันทึก: 493171เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2012 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ครับ รูปหายไปไหนหมดครับ

นั่นนะซิ งง ผมต้องมาเติมให้ใหม่มั้งนี่

 

 

กรุณาเติมรูปหน่อยครับอาจารย์ จะได้เห็นภาพที่อาจารย์ได้กรุณาอธิบายไว้ครับ

ไปดูในเฟสครับ ที่นี่มีปัญหาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท