"ที่แห่งนี้มีรัก”..ล้วนประจักษ์..จากแหล่งทำรังวางไข่


การตามดูพฤติกรรมของพ่อ แม่ ลูก เวลาที่มีคุณภาพ (quality time).. คุณค่าของครอบครัว ที่สอนทักษะชีวิตให้ลูกในช่วงการฟูมฟัก เลี้ยงดู ให้อาหาร จนกระทั่งสอนบิน พร้อมจะออกหากินด้วยตนเอง และจากรังไป....นกสอนให้เรียนรู้อะไรเป็นองค์รวม ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิญญาน....holistic science.. นก..สะท้อนให้เห็นคนและตนเอง

"ที่แห่งนี้มีรัก"..ล้วนประจักษ์..จากแหล่งทำรังวางไข่



“ที่แห่งนี้”.. หลอมรวมความรัก ความผูกพัน ชีวิตต่อชีวิตและอีกหลายชีวิตที่เกี่ยวข้อง เกื้อกูลในมิติต่างๆ ...ที่สัมผัส รับรู้ได้ผ่านกระบวนการวิจัยทั้งงานภาคสนาม ห้องปฏิบัติการ และเวทีการนำเสนอผลงาน ..“ครูพื้นที่”..มีความภูมิใจที่ได้ร่วมกันสร้างและเป็นส่วนหนึ่งของที่แห่งนี้ เสริมสร้าง กระบวนการเรียนรู้ ในบริบทต่างๆ...บรรยากาศเป็นอย่างไร ลองตามไปดู



"ที่แห่งนี้"..เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland reserve) ส่วนหนึ่งของระบบนิเวศชายฝั่ง มีป่าชายเลนกระจายเป็นหย่อมๆ ท่ามกลางการพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งนิคมอุตสาหกรรมอาหารทะเลเช่นกัน  ..ชีวิตของนกและคน..จึงพบกันในโจทย์วิจัยของศิษย์ระดับ ป. ตรี (5  คน) และ ป.โท  (1 คน) ทั้งหมดอยู่ในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาท่านเดียวกัน  ทำงานทั้งในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ (lab) ปีนั้นห้องดูจะคับแคบไปถนัดตา เมื่อสมาชิกเข้ามาใช้พื้นที่พร้อมๆ กัน เราทำงานบน theme เรื่องนก 3 เรื่อง ได้แก่ 1) การฟักและเลี้ยงนกตีนเทียน  2) พิษของฟูราดานต่อนกกระทา และ 3) นกในแหล่งทำรังวางไข่ที่บริเวณเรือนจำกลาง  โดยมีเรื่องเดียวที่ทำงานในห้องปฏิบัติการล้วนๆ คือการศึกษาผลพิษของฟูราดานต่อนกกระทา ส่วนที่เหลือ..ทำงานเก็บข้อมูลทั้งในภาคสนามและปฏิบัติการในแล็บ  ขณะที่น้องๆ ป. ตรีเก็บข้อมูล  พี่ ป.โทก็ทำงาน preliminary thesis ไปด้วยเลย…..Science is great fun :-))


"ที่แห่งนี้..เป็นแหล่งทำรังวางไข่และพักนอน (nesting & roosting site) ของเหล่านกยางหลายชนิด (egret)  ไ้ด้แก่ ยางควาย ยางเปีย ยางโทนใหญ่ นกแขวก และนกกาน้ำเล็ก ที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก (colonial bird)  ช่วงก่อนฤดูฝนตกชุกของปัตตานี (พย.-ธค.) เราเข้าศึกษาในพื้นที่ก่อนที่นกกลุ่มแรกจะเริ่มทำรัง (นกกาน้ำเล็กและยางเปีย) ซึ่งจะทยอยทำรังวางไข่ในช่วงเดียวกัน จากนั้นก็จะเป็นช่วงของยางควาย  เราสำรวจดูทั้งลักษณะของรังที่สร้างในปีก่อน ความแตกต่างของรังนกแต่ละชนิด ตำแหน่งการสร้างรังที่นกต่างชนิดที่ใช้พื้นที่ร่วมกัน จำนวนรังที่นกแบ่งปันพื้นที่ต่อต้นแสมหนึ่งต้น (มากที่สุด 30 รัง บนแสมทะเล, Avicennia marina)  และเมื่อเข้าช่วงทำรังวางไข่ เลี้ยงดูตัวอ่อนเราศึกษา อัตราการอยู่รอดของลูกนก และชนิดของอาหาร บ่งชี้ความสำคัญของระบบนิเวศและพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณใกล้เคียง ...ล้วนแล้วแต่เป็นโจทย์ที่น่าสนใจ ชวนเชิญให้หาคำตอบ  สุดท้ายสิ่งที่เราค้นพบ ปีนั้นได้นำเสนอผลงาน พูดคุยแลกเปลี่ยนในเวที การประชุมวิชาการ (บทคัดย่อใน proceedings มอ.วิชาการ)  และเป็นงานวิทยานิพนธ์ระดับป.โท 1 เรื่อง ขอบคุณ..นกและธรรมชาติในที่แห่งนี้ ...Nature is our great teacher…



"ที่แห่งนี้"... เราไ้ด้รวบรวมข้อมูลร่วมกับการใช้ทักษะด้าน IT ซึ่งเป็นหนึ่งใน “เครื่องมือ” ที่ใช้ ร่วมกับการ ขีด-เขียน บันทึกไว้ เป็นระบบในเว็บไซต์บูรงตานี (http://burongtani.oas.psu.ac.th) เป็นการจัดการความรู้ จากพื้นที่  รู้จักชุมชน มุ่งสู่การดำรงตนอย่างมีความสุขพอเพียง แบ่งปัน สร้างทางเลือกที่หลากหลาย และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง..โดยได้รวบรวมผลงานเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์ ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและร่วมเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดในโลกนี้ เพื่อแบ่งบัน บรรยากาศการศึกษา/วิจัย ในแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ซึ่งแหล่งทำรังวางไข่ของนกยางจำนวนมาก (มากกว่าหมื่นตัวช่วง peak).. ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ..เป็นผลงานแรกที่ฝึกทำสื่อชนิดนี้ และในระยะเวลา 1 ปีที่upload ไว้ใน you tube channel มีผู้เข้าชม 28 ประเทศ และ แม้ สรอ. ก็ีมีผู้้ เข้าชม 22 รัฐ (จาก youtube analysis) ..น่าภูมิใจไม่น้อยทีเดียว กับการแบ่งปันผลงานเสกลเล็กๆ "ความรัก..จาำกพื้นที่เล็กๆ  ท่ามกลางข่าวสารความรุนแรงในพื้นที่" ...โลกได้รับรู้ร่วมกันในหลากหลายมิติ :-))


"ที่แห่งนี้..มีรัก"...  ศิษย์/ครู..เราต่างใช้เวลาร่วมกัน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์เข้าพื้นที่เกือบทุกอาทิตย์  การอยู่ในภาคสนามเฝ้าดูพฤติกรรมนก (ในช่วงทำรัง วางไข่ และเลี้ยงดูลูก) ..เริ่มงานด้วย การรายงานตัวเข้า "คุก" (พื้นที่เรือนจำกลาง จ. ปัตตานี) ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งศึกษาวิจัย ตั้งแต่ก่อนนกออกจากรังเช้าตรู่-เย็น (6 โมงเช้า-6 โมงเย็น) โดยพยายามไม่รบกวนนกในช่วงสำคัญของชีวิต  จึงสังเกตด้วยการส่องกล้อง จากมุมสูง โดยนั่งบนต้นไม้ (มะขาม) ห่างจากแหล่งทำรัง 500 เมตรจากชายป่า การเฝ้าสังเกตพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง บันทึกเป็นความถี่/เวลาในการแสดงพฤติกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อประมวล ตามดูพฤติกรรมของพ่อ แม่ ลูก  เวลาที่มีคุณภาพ (quality time) คุณค่าของครอบครัว ที่สอนทักษะชีวิตให้ลูกในช่วงการฟูมฟัก เลี้ยงดู ให้อาหาร จนกระทั่งสอนบิน พร้อมจะออกหากินด้วยตนเอง และจากรังไป    นกสอนให้เรียนรู้อะไรเป็นองค์รวม ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิญญาน holistic science...นกสะท้อนให้มองคน..และตนเอง :-)) 

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://burongtani.oas.psu.ac.th/forum/692) 

 

...๑ กรกฏาคม ๒๕๕๕...

...pax vobiscum.. (๑๔)



หมายเลขบันทึก: 493043เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณค่ะเรื่องดีๆ ที่ชลัญคงไม่มีโอกาสได้ไปเรียนรู้ ขอเรียนรู้ผ่านบล็อกอาจารย์ก่อนค่ะ

ส่องนกต้องใช้ความสงบ สยบความเคลื่อนไหว ด้วยใจเย็น

ขอบคุณอาจารย์ขวัญที่นำมาแบ่งปันจากพากเพียร

สวัสดีค่ะอาจารย์

เป็นการทำงานการเรียนที่น่าเรียนน่าศึกษามากค่ะ น่าอิจฉาน้องๆ ที่ได้ทำในสิ่งที่ใจรัก ขอเอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จโดยเร็วค่ะ

ชอบภาพลูกนกมากค่ะ ไม่เคยได้เห็นแบบนี้เลย ตื่นเต้นแทน ;)

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ พบ. ชลัญธร ..บังวอญ่า.. จ่าหมาย และน้องปริม..เป็นการเรียนรู้ที่สนุกและฝึกอะไรมากมายค่ะ...น้องชลัญธร ...โดยเฉพาะความอดทน...ที่ต้องตื่นเข้าไปยังพื้นที่ก่อนนก และ กลับหลังจากนก...อย่างกะที่..บังวอญ่า.. ว่าไว้"ใช้ความสงบ สยบความเคลื่อนไหว" เป็นความภูมิใจที่ พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเรือนจำกลางปัตตานี หน่วยงานรักษาเอาไว้ และท่าน ผบ.และเจ้าหน้าที่ที่นั่นเห็นความสำคัญ..เราจึงได้เข้าไปใน "คุก"ทุกอาทิตย์ค่ะ..สมัยนั้น..ก่อนเข้าไปทำวิจัย ก็ต้องรายงานตัวอย่างแข็งขัน เพราะชีวิตท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ แต่ไม่เคยเป็นอุปสรรคสำหรับเรา เพื่อการเรียนรู้

ส่วนงานวิจัยของนักศึกษาปโท. อยู่ในระหว่างการตีพิมพ์เผยแพร่ (ที่แก้ไขมาหลายรอบแล้ว รอการตอบรับว่า accept หรือให้แก้ไขอีก :-(( หากได้เผยแพร่ดังที่คิดไว้ คงจะนำมาแบ่งปันที่นี่ต่อไปค่ะ ..น้องปริม..และภาพลูกนกนั้น..ตั้งแต่เค้าฝักออกมา เป็นอย่างที่เห็น ทั้งพ่อและแม่ก็ผลัดกันยืนบังแดดให้ เมื่อแสงแดดจัดในยามสาย เที่ยง บ่าย เพราะลูกนกยังไม่มีขนตัว อุณหภูมิมีผลมากในช่วงแรกๆ  หรือแม้กระทั่งการป้อนอาหาร พ่อแม่จะใช้เวลามาก ทั้งฝึกให้รู้จักปลา (ที่ยังมีชีวิต) และอื่นๆ  ถ้าลูกไม่กิน พ่อแม่ก็จะรอที่จะสอนให้รู้จัก และกินได้ ในเวลาต่อๆมา ..เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการประมวลพฤิตกรรมของ พ่อ แม่ ลูกในแต่ละรังค่ะ .. amazing จริงๆ :-)) 

  • อาจารย์ครับ
  • รอกวนลบ spam mailของจ่าหมายข้างบนออกทีครับ
  • ชอบการทำงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม
  • ไปพร้อมกัน
  • เอานกหลังห้องพักมาฝากตามสัญญา
  • นกอะไรครับ
  • Large_kubirddorm2

ขอบคุณค่ะ น้องแอ๊ด..ที่แวะเข้ามาทักทาย..อืมม์...ตัวนี้เหรอ ถ่ายรูปได้ชัดเจนนะค่ะ เอียงคอท่าสวยด้วย เจ้านกช่างฉลาดนักหล่ะค่ะชนิดนี้.. (Yellow -vented Bulbul) ที่ปักษ์ใต้ ใน มอ. ตานี พี่มีกิจกรรมใส่ห่วงขานก (bird ringing) ทำมาสัก 5 ปีแล้วหล่ะ ปฏิบัติต่อเนื่องทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ถือเป็นโอกาสในการเจอพลพรรค น้องๆที่สนใจรักธรรมชาติ และลูกเล็กเด็กแดง ของอาจารย์ในมอ. หรือใครๆที่สนใจ เราก็ปลูกฝังความใกล้ชิดธรรมชาติให้ มาร่วมกิจกรรมกะเรา แฮ่ๆ พี่เป็นหัวหน้าเด็กๆตั้งแต่ตัวน้อย จนตัวโตๆค่ะ..จะบอกให้ว่า เจ้าปรอดหน้านวลชนิดนี้ (บางพื้นที่เรียก ปรอดหน้าหมา:-)) หลังจากที่ได้แหวน (ring) ไปมากพอดู และจับได้ใหม่ที่ใส่แหวนแล้วก็มี (recapture) เพราะเป็นนกประจำถิ่นที่นี่. ต่อมาเราก็ไม่ค่อยได้ใส่แหวนให้อีกเลย จะไ้ด้อีกครั้งก็เมื่อ นกรุ่นใหม่ เข้าสู่ระบบ...อย่างเดือนนี้ (มิย.) เพิ่งเสร็จกิจกรรมไปเมื่อเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้นกปรอดหน้านวลหลายตัวเชียวค่ะ แต่เป็นนกวัยละอ่อน (juvenile) ปีแรกทั้งงั้น ...ตัวพ่อแม่ไม่มาย่างกรายให้จับได้...แต่มาทำรังทีต้นไม้เล็กๆ หน้าห้องพี่ปีละหลายคู่เชียวค่ะ เลยแอบดูได้ถนัดทั้งกลางวันกลางคืนเลยนะ เพราะอยู่ข้างหน้าต่าง จะเปิดไฟก็ต้องเกรงใจเค้า สงสัยว่าจะชอบที่ตรงนั้นเพราะเงียบดี เจ้าของห้องเลยต้องระวังไม่ให้รบกวนนก ..ของน้องแอ๊ดอยู่หลังห้องเหรอค่ะ?? ...ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ:-))

ขอบคุณ..ทุกท่านที่มอบดอกไม้....สำหรับบันทึก.. "ที่แห่งนี้มีรัก".. ค่ะ

  • ชอบจังค่ะ อ.วิชอบวิจัย ชอบธรรมชาติ และชอบเรียนรู้เรื่องนก เกษียณแล้วจะศึกษาเรื่องนกจริงๆ จังๆ ค่ะ ศึกษาเรื่องคนมานานโขแล้ว
  • เดี๋ยวจะสร้าง Plannet "ฺBirds" ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อรวบรวมความรู้และสารสนเทศเรื่องนกค่ะ เริมจากบันทึกเรื่องนี้ค่ะ 
  • ขอบคุณมากนะคะ สำหรับสารสนเทศและภาพน่ารักๆ ของนก รวมทั้งข้อคิดที่ "คุณ kwancha" ทิ้งท้ายว่า "นกสอนให้เรียนรู้อะไรเป็นองค์รวม ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคม และจิตวิญญาน holistic science...นกสะท้อนให้มองคน..และตนเอง"

ขอบคุณค่ะ อ.วิ ที่ชอบคล้ายๆกัน บรรยากาศที่บ้านอาจารย์ก็น่าจะมีนกมากมาย หลายชนิดนะค่ะ.. อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติก็ได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ที่สอนโดยการเข้าใกล้ และเรียนรู้อะไรมากมายค่ะ...ถือโอกาสเป็นหัวหน้าแกงค์นำทีมเด็กๆเข้าไปศึกษาเรียนรู้ค่ะ องค์ความรู้ก็เลยส่งผ่านมารุ่นต่อรุ่น ช่วยกันหมุนไปด้วยกันเป็นทีม สักวัน natural history ของบ้านเราก็คงจะมีความชัดเจนขึ้น ถ้าทำไปอย่างต่อเนื่องค่ะ...อ. วิค่ะ รอชม planet birds นะค่ะ :-))

ศึกษาธรรมชาติ อย่าได้หยุด นะครับ เพราะธรรมชาตินี่แหละ คือวิชาที่สอน คน

คุณ แว่นธรรทองค่ะ...เห็นด้วยค่ะ ธรรมชาติคือวิชาที่สอน..คน...เพียงแต่บางครั้งผู้ถูกสอนจะรู้หรือไม่ ว่ากำลังถูกสอนเรื่องอะไร?? คล้ายๆกับจูน (tune) คลื่นไม่ติดหรือไม่ตรงกัน..?? บางครั้งถ้าไม่ปรับตัวให้รับรู้ได้ ก็พลาดไม่ได้เรียนรู้ในสิ่งนั้นๆ ปัจจุบันนี้การดำรงชีวิตมักจะแยกตัวจากธรรมชาติ จนจูนกันยากมากขึ้น สัมผัส รับรู้ที่ดีๆที่มีอยู่ ก็ไมได้รับการขัดเกลา จนเกือบจะนำมาใช้ไม่ได้ ค่ะ..ในฐานะ "ผู้สอน" ก็เลยทำหน้าที่ส่วนนี้มากขึ้นค่ะ บ่มเพาะทั้งองค์ความรู้และิด้านจิตวิญญาน

ส่วนที่ว่า ..ศึกษาธรรมชาติ "อย่าได้หยุด".. อืมม์ ... อันนี้แทนที่จะไม่หยุด ขอเป็น ชลอบ้าง ช้าลงบ้าง ส่งไม้ผลัดกันไปบ้างในทีม ...จึงเน้นการเรียนรู้เป็นทีมค่ะ ..คงได้นะค่ะ...กรณีเรื่องนกที่เราศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงเป็นฤดู เราก็เลยทำงานแบบหนักบ้าง เบาบ้าง หยุดพักเพื่อหาเวลามาร่วมพินิจ พิเคราะห์ ใคร่ครวญสิ่งที่ผ่านมาบ้าง เผื่อจะสกัดองค์ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยน/แบ่งปันกันได้บ้าง จะไ้ด้รู้สึกว่า มีความสุข และไม่หนักเกินไป..มีกำลังใจ ที่จะตามฝัำน ไปนานๆค่ะ :-)) ..ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย ฝากข้อคิดไว้...-^

  • ตามคำสำคัญคำว่า Happy Ba พามาพบบันทึกแห่งธรรมชาติที่งดงามนี้อีกครั้งค่ะ
  • นก สัญลักษณ์แห่งเสรีภาพและความสุขที่เป็นอิสระ เห็นวิถีชีวิตนกแล้ว ทำให้อยากรักษาสภาพแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์ตลอดไป
  • พื้นที่ที่อาจารย์นำเสนอให้ความสุขในภูมินิเวศน์ของเรา ทำให้เราได้เข้าใจ เข้าถึงธรรมชาติที่รายรอบตัวเราอย่างแท้จริง
  • ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท