มาสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกันเถอะ


นักศึกษาที่ผ่านการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มาจากอาจารย์อื่นๆ และได้รับผลการเรียนในระดับดีมาก (A) ดี (B) กันมา แต่พอผู้เขียนทดสอบทักษะการฟัง/พูดภาษาอังกฤษ โดยนำอาจารย์ชาวตะวันตก เข้าไปพูดคุยสนทนาในห้อง นักศึกษาทั้งห้อง กลับไม่มีใครยอมปริปากสื่อสารกับอาจารย์ แม้เพียงประโยคเดียว

       รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานคณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ได้กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” ในการประชุมวิชาการ “TK Conference on Reading 2012” ระหว่างวันที่ 10-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สรุปความตอนหนึ่งได้ว่า การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ. 2558 เป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกันในด้านการค้า การผลิต การบริการ การลงทุน การใช้แรงงานฝีมือที่เสรี…สิ่งที่กังวลในใจมากที่สุดคือ เรื่องภาษาอังกฤษ คนแอฟริกาใต้ 50 ล้านคนทั่วประเทศ แทบทุกคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แม้แต่คนแก่และเด็ก ทั้งที่การพัฒนาภาษาอังกฤษในประเทศนี้ เพึ่งจะเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2537 จากการสอบถามวิธีการสอนพบว่า มีการกำหนดให้ทุกคนต้องพูดภาษาอังกฤษวันละ 1 ชั่วโมง ขณะที่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประชากรของอินโดเซียจำนวน 230 ล้านคน และประชากรของมาเลเซียจำนวน 25 ล้านคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ สำหรับฟิลิปปินส์ไม่ต้องพูดถึง สามารถพูดภาษาอังกฤษได้หมด ส่วนภาษาอังกฤษในประเทศไทยจำเป็นต้องยกเครื่องใหม่ ...ในความเชื่อของผู้เขียนนั้น เห็นว่ายกเครื่องกันกี่ครั้งก็จะไม่ได้ผล เว้นแต่คนไทยจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเอง ให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนพบว่า ไม่มีวิธีไหนที่จะทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้ ยกเว้นตัวเราเอง ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ  ทำใจให้ชอบภาษาอังกฤษ และเชื่อมั่นว่าตนจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ แล้วเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จากแหล่งเรียนรู้ซึ่งมีอยู่หลากหลายรอบตัว ผู้เขียนเองก็เรียนรู้ภาษาอังกฤษในลักษณะดังกล่าวทุกวัน แม้แต่อยู่ในช่วงเวลาของการเดินทางระหว่างประเทศ ก็ไม่เว้นที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษทั้งขณะอยู่บนเครื่อง และลงจากเครื่องไปเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ดังภาพ

 

    เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2555 "รายการสถานีประชาชน" สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ได้สนทนากับอธิบดีกรมการจัดหางาน และผู้ได้รับการจ้างงานให้ไปทำงานในมาเก๊า (ผู้เขียนบันทึกรายการดังกล่าวเป็น DVD เพื่อเป็นสื่อจัดการเรียนรู้) คุณอธิวัฒน์ เริ่มศรี (ผู้ร่วมรายการ) บอกว่า ตนได้รับการจ้างงานเป็นคนแรก เพราะสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับผู้ทำการสัมภาษณ์ผู้สมัครงานได้ แม้ตนจะไม่มีความรู้และประสบการณ์ ในตำแหน่งงานที่สมัคร คือ "Bartender" แต่บริษัทที่จ้างงานก็หางานอื่นให้ คือให้ไปทำงานในตำแหน่ง Bar Back (ผู้ช่วยเตรียมอุปกรณ์) ในขณะที่ ผู้สมัครงานจำนวนสี่สิบกว่าคนจากจังหวัดมหาสารคาม ที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ตามตำแหน่งงานที่สมัคร และมีใบรับรองฝีมือแรงงานจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แต่กลับถูกคัดออกตั้งแต่โต๊ะแรกที่สัมภาษณ์ เพราะสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ ทำให้ในจำนวน 1,353 คนที่กรมการจัดหางานพาไปสมัครงานนั้น มีผู้ได้รับการจ้างงานเพียง 388 คน จากตำแหน่งงานที่ประกาศรับ 500 กว่าตำแหน่ง ท่านอธิบดีประวิทย์ เคียงผล จึงกล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่คนหางานไทยจำเป็นจะต้องพัฒนาตนเองให้มากที่สุด ก็คือ ความสามารถในการสื่อสาร (ฟัง/พูด) ภาษาอังกฤษ ผู้เขียนเองเชื่อว่า ทุกคนทำได้ ถ้ามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้ได้ผลอย่างจริงจัง อย่างเช่น คุณอธิวัฒน์ก็ไม่ได้ไปเรียนภาษาอังกฤษจากสถาบันสอนภาษาใดๆ อาศัยว่าชอบภาษาอังกฤษ และเรียนรู้ด้วยตนเองจากการฟังเพลงภาษาอังกฤษ ดูภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม และฝึกสนทนากับพี่สาวในแต่ละวัน (คุณอธิวัฒน์ได้รับการจ้างงาน ด้วยวุฒิม.ปลายในเงินเดือนขั้นต้น 22,000 บาท พร้อมด้วยที่พัก อาหาร และบริการซักรีดฟรี จากษริษัทที่มีคนทำงานในเครือ ถึง 25,000 คน) 

 

 

          ส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “ทำอย่างไรให้พูดภาษาอังกฤษเก่งเร็วๆ" (URL Blog: http://learning.eduzones.com/winny) ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ น่าจะให้ข้อคิดกับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษได้บ้าง

      "เราเรียนภาษาอังกฤษกันมานาน เรียนมาก็หลายวิธี ทั้งนั่งเรียนในห้องและหาหนังสือมาอ่านเอง แต่ขอให้น้องช่วยคุยกับฝรั่งหน่อยได้มั้ยครับ ถ้ามีฝรั่งเดินเข้ามาหาน้องด้วยหน้าตาสงสัย พร้อมกับแววตาที่ส่องประกายถึงความหวังว่าน้องจะช่วยเขาได้ “Excuse me. I wanna get to MBK. Could you tell me where it is?” ถ้าเป็นน้อง น้องจะทำอย่างไร ระหว่าง 1) บอกทางเค้าด้วยความมั่นใจเป็น ภาษาอังกฤษแบบถูก Grammar เป๊ะๆ 2) บอกทางเค้าแต่เป็นแบบไทยคำอังกฤษคำ “นี่นะ you walk ไปทางนี้นะ แล้ว you ก็เลี้ยวซ้ายนะ turn left นะ you know? แล้ว you ก็ walk ข้ามสะพานลอยนะ นั่นแหละ MBK ล่ะ you understand มั้ย 3) อึ้ง…หันไปพูดกับเพื่อน “นี่ ตัวเองเก่งภาษาอังกฤษไม่ใช่เหรอ บอกเค้าไปซี่นั่นไงมาบุญครอง เราพูดไม่เป็น 4) หน้าซีด พูดอะไรวะไม่เห็นรู้เรื่อง เฮ้ย! เผ่นเถอะ                                                                                                                                                                                                              

        ว่าไงครับ น้องเลือกข้อไหนเอ่ย เลือกข้อไหนก็ไม่ผิดทั้งนั้นแหละ แต่พี่ไม่อยากให้น้องเลือกซักข้อเลย อย่างข้อแรกนี่ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะ ถ้าน้องตอบข้อแรกก็แสดงว่าน้องเก่งมาก แต่เวลาพูดกับฝรั่ง ถ้าต้องมานั่งนึกให้มันถูก Grammar มันก็เสียเวลานะ อย่างเรานี่เวลาพูดภาษาไทย ก็ไม่มีใครมานึกว่า ต้องพูดให้ถูกหลักไวยากรณ์ เราใช้กันจนเป็นธรรมชาติ ฝรั่งก็เหมือนกัน เวลาคุยกันเค้าก็ไม่นึกถึงเรื่อง Grammar หรอก เค้าแค่ต้องการสื่อสารให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันก็พอแล้ว เวลาจะพูดอย่าไปเครียดเพราะไม่มีใครมาคอยจับผิดว่าเราจะพูดถูกหรือพูดผิด แต่ไม่ใช่ว่า Grammar ไม่จำเป็นนะ ถ้าน้องพูดได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ก็ดีมากๆ เลย แต่ถ้าไม่แม่นก็ไม่ต้องไปกลัว พูดไปเถอะ ผิดเป็นครูนะ บางคนฟังออกหมดว่าฝรั่งเค้าพูดอะไร แต่ไม่รู้จะตอบเค้าว่ายังไง ถ้าจะให้พี่แนะนำก็คือ อย่าทำให้มันยาก Keep it simple. เข้าไว้ ถ้าน้องเลือกข้อสุดท้าย พี่ก็ขอบอกว่า ถึงแม้ว่าประเทศตะวันตกเค้าจะมีความเจริญรุ่งเรืองกว่าเรา แต่เขาไม่ได้มาล่าเมืองขึ้นนะ เค้าแค่มาเที่ยว มาชมความสวยงามทางธรรมชาติ และวัฒนธรรมของประเทศเรา แล้วน้องจะไปกลัวเขาทำไม ถ้าพูดไม่ได้จริงๆ ก็ยิ้มให้เค้าหน่อย แล้วโบกมือให้เค้ารู้ว่าเราไม่เข้าใจ แล้วเค้าก็จะไปถามคนอื่นเองแหละ แต่เอาเข้าจริงๆ น้องก็อยากจะสื่อสารกับฝรั่งให้รู้เรื่องใช้มั้ยล่ะ

        ครั้งแรกที่พี่ไปเมืองนอกตื่นเต้นมาก ไปออสเตรเลียทางฝั่ง Sydney, Melbourne กับทัวร์ ตอนนั้นพี่เรียนอยู่ประมาณ ม. 2 ตอนแอร์โฮสเตสของ Qantas ถาม “Fish or beef?” แค่นั้นพี่ก็ไม่กล้าตอบ กลัวมาก แกล้งทำเป็นหลับให้แม่เลือกให้ เจ็บใจตัวเองมาก แต่วันจะกลับมีฝรั่งมาคุยด้วย เขาถามอะไรจำไม่ได้รู้แต่ว่าตอบไปแล้วเค้ารู้เรื่อง กลับมาอวดเพื่อนว่าไปคุยกับฝรั่งมา เพื่อนๆ ก็ฮือฮา เฮ้ย! เก่งจังเลย ฟังเค้ารู้เรื่องด้วยเหรอ เราก็ปลื้มสิ ไม่มีใครรู้หรอกว่าเราคุยกับฝรั่งแค่ประโยคเดียว หลังจากนั้นพี่ก็เลยชอบภาษาอังกฤษ ฟังเพลงฝรั่ง ดูหนังฝรั่ง ชอบศิลปินฝรั่ง ต่อมามีโอกาสได้ไปอเมริกา คราวนี้มั่นใจมากนั่งตรง Aisle Seat เลย พอแอร์ผ่านมา “Excuse me? Can I have some more snack?” เค้าตอบว่า “Sorry, we don't have any left.” 

         สำหรับนักศึกษาที่เรียน "รายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" กับผู้เขียน ถ้าไม่อยากให้ชาวฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย (และสิงคโปร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ) มาแย่งตำแหน่งงานในประเทศไทยไปหมด เหตุด้วยมีข้อได้เปรียบ ที่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ ก็ต้องมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองในด้านนี้ และ...ตามข้อตกลง สัปดาห์หน้าเราจะ (พยายาม) สื่อสารกันเป็นภาษาอังกฤษในชั้นเรียน และทุกโอกาสที่เจอะเจอกัน โดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆ คือ ให้นักศึกษาแต่ละคนบอกรหัสส่วนตัวเป็นภาษาอังกฤษดังตัวอย่างข้างล่าง นักศึกษาต้องฝึกพูดบ่อยๆให้คุ้นลิ้นและจำได้ ไม่ใช่เขียนใส่ฝ่ามือไว้ดู (หลักฐานจาก Video) จากการลองทดสอบ "การออกเสียงภาษาอังกฤษของนักศึกษา" ในเดือนที่ผ่านมา พบว่า บางคนราวกับว่า ไม่เคยเอ่ยปากเป็นภาษาอังกฤษมานับสิบปี (ยกเว้นเอ่ยคำที่ถนัด Yes, No, OK) เรื่องของการพูดนั้น ถ้าไม่หัดพูดเป็นประจำก็จะพูดไม่ออก ดังตัวอย่างนักศึกษาที่ผ่านการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มาจากอาจารย์อื่นๆ และได้รับผลการเรียนในระดับดีมาก (A) ดี (B) กันมา แต่พอผู้เขียนทดสอบทักษะการฟัง/พูดภาษาอังกฤษ โดยนำอาจารย์ชาวตะวันตก เข้าไปพูดคุยสนทนาในห้อง นักศึกษาทั้งห้อง กลับไม่มีใครยอมปริปากสื่อสารกับอาจารย์ แม้เพียงประโยคเดียว เคยดูจากหนังสือเรียน ก็พบว่ามีบทสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ ครบถ้วน แต่นักศึกษาบอกว่า อาจารย์ไม่ได้ให้หัดพูด แต่ให้เขียนตอบในแบบฝึกหัด แล้วอาจารย์เฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้ (ผู้เขียนก็เลยถึงบางอ้อว่า อ้อ! มันเป็นเช่นนี้นี่เอง)

    

      ในการฟัง/พูดภาษาอังกฤษนั้น ทักษะการฟังดูจะเป็นปัญหามากกว่าการพูดเสียอีก เพราะนักศึกษามักฟังสำเนียงของเจ้าของภาษาไม่ออก จึงควรฝึกฝนตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ดังผังมโนทัศน์ข้างล่าง

                                             

       และอาจารย์ขอแจ้งข่าวดี ให้นักศึกษาทราบว่า ในช่วงปลายเดือนกรฏาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม จะมีชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เข้ามาเยือนบ้านเราเป็นจำนวนมาก (ปกติก็มีอยู่แล้วไม่น้อย) เป็นโอกาสดีที่พวกเราจะได้สื่อสารภาษาอังกฤษณ์ในสถานการณ์จริง จึงขอให้นักศึกษาจับกลุ่ม 4 คน เตรียมวางแผนและเตรียมการที่จะออกไปสัมภาษณ์พูดคุยกับชาวต่างชาติ โดยทุกคนในกลุ่มต้องมีโอกาสพูด และหาคนถ่ายคลิป Video ให้ เพื่อนำไปเสนอในชั้นเรียน ตอนนี้ ให้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยอ่านจากคำเชิญชวนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้ศิลปินจากทั่วโลก มาร่วมงานปั้นและแกะสลักเทียน และร่วมงานประเพณีแห่เทียน ต่อไปนี้ 

      The Tourism Authority of Thailand would like to take this opportunity to inform you about "The 7th International Wax Sculpture and Thai Candle Wax Carving, Ubon Ratchatani, Thailand"; as well as promoting the Candle Procession an annual famous festival at Ubon Ratchathani province. This year, the 7th UBON Wax Sculpture 2012, Thailand will be held during 20 July-5 Aug, 2012. The Thai Candle Festival is organized with the aim to conserve unique Thai arts and culture as well as to publicize this wonderful event to be well-known. This can also encourage future generations to realize in the value of arts. ... The list of selected artist will be announced on 5 June, 2012 by E-Mail.

Program :

      19 July - Depart to Ubon Ratchathani/ Welcome Party Briefing/Start Workshop

      20 -31 July : Workshop

      1 Aug : Sightseeing Ubon Ratchatani

      2 Aug : Attend a ceremony of Asalha Puja Day

      3 Aug : Enjoy Wax procession / Thank you Party

(http://inter.tourismthailand.org/sg/home/whats-new/whats-new-info/?home_news_id=878&cHash=225e1a2e59)

 

       

     อาจารย์หวังว่า นักศึกษาจะเต็มใจทำกิจกรรมดีๆ ดังกล่าว ดังตัวอย่างจากบันทึกของนักศึกษารุ่นก่อน ข้างล่าง

       ก่อนสัมภาษณ์ : ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นและคิดในใจอยู่เสมอว่า เราต้องทำให้ได้ พูดให้ได้ จะถูกหรือผิดหลักไวยากรณ์ก็ตาม แต่เราต้องสื่อสารกับเขาให้เข้าใจไว้ก่อน

       ขณะสัมภาษณ์ : ความตื่นเต้นของข้าพเจ้ากำลังจะจากไป เมื่อข้าพเจ้าสัมภาษณ์ประโยคแรก   และข้าพเจ้าก็พยายามคิดหาคำถามมาถามชาวต่างชาติอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการขาดตอน และเราโชคดีที่ชาวต่างชาติคนนี้ใจดีมาก ไม่เรื่องมาก

      หลังจากสัมภาษณ์เสร็จแล้ว รู้สึกสนุก ชอบที่จะทักทายและกล้าที่จะพูดกับชาวต่างชาติมากขึ้นเมื่อมีโอกาส เป็นประสบการณ์ที่ดีมากเลย ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความมั่นใจมากขึ้น ในการสนทนาภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ ถ้าหากมีโอกาสได้ไปเที่ยว หรือไปที่ไหนก็ได้ที่มีชาวต่างชาติอยู่ข้าพเจ้าจะไม่ลังเลที่จะทักทาย

       สำหรับนักศึกษาที่รู้สึกกังวลที่จะทำกิจกรรมนี้ ขอแนะนำให้เข้าไปอ่านบันทึกของนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ที่ Link ข้างล่าง (เพิ่งลงบันทึกไม่กี่ชั่วโมง อาจารย์อ่านเมื่อเช้านี้) อ่านแล้วมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร เขียนอนุทินเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อนๆ และอาจารย์ด้วยนะคะ (อาจารย์ได้ขออนุญาตเจ้าของบันทึกแล้ว ที่จะแนะนำให้นักศึกษาเข้าไปอ่าน)

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/493359?refresh_cache=true

 

(http://www.dannylipford.com/how-to-grow-beautyberry-in-your-yard/)

         อ.วิ ไปพบไม้ชนิดนี้ เพียงกระถางเดียวในร้านขายไม้ดอกไม้ประดับ เห็นว่าไม่มีที่ฟาร์มและผลสวยงามจึงถามชื่อ คนขายบอกชื่อให้ด้วยความไม่มั่นใจ อ.วิซื้อไปปลูกเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นก็ไม่ค่อยได้ดูแลเพราไปเที่ยวเชียงใหม่แล้วไปเกาหลีใต้ ต่อมาพ่อใหญ่สอก็ไปผ่าตัดที่กทม. ถูกทิ้งข้วางแต่เธอก็เติบโตด้วยความอดทน เพิ่งจะมีโอกาสสืบค้นข้อมูล ดีใจมากที่ค้นเจอเพราะชื่อที่คนขายบอกไว้ถูกต้อง และดีใจมากขึ้นไปอีกเมื่อรู้ว่า ผลบิวตี้เบอรี่กินได้ และสามารถนำใบมาขยี้แล้วถูที่ผิวหนังแก้อาการที่เกิดจากแมลงกัดต่อยได้ จากข้อมูลต่อไปนี้  Due to its color, most people think berry is poisonous.  However, this is incorrect.  Not only is beauty berry not poisonous, it has several household uses.  Berries are edible, they  make a great jam. Another use  comes from its leaves.  The leaves can act as an insect repellent in a pinch when they are broken and rubbed against the skin. (http://www.motherearthnews.com/Natural-Health/Beautyberry-Natural-Insect-Repellent.aspx)

     คุณชลัญคุยกับอ.วิว่า ."..ชลัญท่าจะต้องเกาะเรื่องนี้ล่ะ เพราะภาษา อังกฤษชลัญนั้น มัน เป็น แบบ English is fan ไอ้ที่ fun น่ะ คือคนอื่นเขาเห็นเราพูดแล้วเขา Fun น่ะ อาจารย์" อ.วิขอตอบว่า "English...is fan is better than... is fun. เพราะ คำว่า "fan" มาจากคำว่า "fantastic" แปลว่า คลั้งไคล้ใหลหลงค่ะ และสนับสนุนให้เกาะติด เพราะเชื่อว่าถ้าคุณชลัญเกาะติดในเรื่องใดแล้ว ต้องทำได้สำเร็จแน่นอน อย่างการคิดแก้ปัญหาโจทย์ที่เพื่อนวิดวะ นำมาให้แก้ไงคะ ถ้าเกาะติดภาษาอังกฤษ ไม่นานคนที่เคยหัวเราะเวลาได้ยินคุณชลัญพูด ต้องเปลี่ยนมาอ้าปากค้างแน่ๆ รายการ TV ที่เหมาะสำหรับผู้สนใจพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน คือ "English Breakfast" ช่อง Thai PBS วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. ค่ะ อ.วิ บันทึกเป็น DVD เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาด้วย   

      อาจารย์หมอป. บอกว่า "...เจ้าของภาษาบอกว่า Grammar ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในการพูด ฟัง ที่ทำให้ไม่เข้าใจ คือการ "ออกเสียง" ค่ะ อย่างหนูเอง เคยเตรียมนำเสนอผลงาน มีเจ้าของภาษาขัดเกลาประโยคให้ มั่นใจว่า grammar ถูกแน่ แต่พอพูดจริง ก็มี feedback จากผู้ฟัง ว่า เข้าใจยาก ถ้าไม่ดูสไลด์ ... ภาษาอังกฤษกับคนไทย คงเป็นการต่อสู้ที่น่าตื่นเต้นต่อไป จนกว่าเราจะพูดได้ด้วยความรู้สึก" อ.วิขอตอบว่า "ภาษาไทยเสียงวรรณยุกต์ต่างทำให้ความหมายต่าง เช่น  ปา ป่า ป้า แต่ภาษาอังกฤษเขียนเหมือนกัน  ถ้าเน้นเสียงพยางค์ต่างกันความหมายก็จะต่าง อย่างเช่น  present  ถ้าเน้นพยางค์แรกออกเสียงเป็น เพรซเซินท์ จะแปลว่า ปัจจุบัน แต่ถ้าเน้นพยางค์หลังออกเสียงเป็น พริเซนท์ จะแปลว่า นำเสนอ เป็นต้น อ.วิฟังนักศึกษาพูดแยกไม่ออกเลยว่า Fourteen หรือ Forty เพราะเขาและเธอจะเน้นพยางค์แรกทั้งสองคำเสียงจึงออกมาไม่ต่างกัน จริงๆ แล้ว คำแรกต้องออกเสียงเน้นพยางค์หลัง และ คำหลังเน้นพยางค์แรก

     "คุณ sr"  ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์มากว่า  "Language is a tool - we use tools to make something else -- our life? If we are scared of using a tool, we cannot be good at using a tool -- we can't make something easily.  In our later years, we may wonder why did we not learn to use other languages to our advantage. We may feel sorry to have to work a lot harder without using tools, but it is never too late to learn. I am with you. I am learning. I like walking with learners ;-" ซึ่งแปลเอาความได้ว่า "มนุษย์เราใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เพื่อการดำรงชีวิต ถ้าเรากลัวที่จะใช้เครื่องมือ เราก็จะใช้เครื่องมือนั้นได้ไม่ดี ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต เราอาจจะถามตัวเองว่า ในเวลาที่ผ่านมา ทำไมเราจึงไม่คิดที่จะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์นะ เราอาจจะรู้สึกเสียใจที่ต้องทำงานหนักขึ้นมาก เหตุเพราะไม่สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำงาน แต่มันก็ไม่สายเกินไปที่จะเรียนรู้ ผมจะอยูเคียงข้างคุณ เพราะผมเองก็กำลังเรียนรู้และชอบที่จะเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน" ขอบพระคุณ "คุณ sr" มากนะคะ ที่กรุณาเข้ามาให้แง่คิดดีๆ และให้กำลังใจในการเรียนรู้ภาษา สำหรับนักศึกษา บันทึกของท่านที่ผ่านมา ที่อ.วิรวบรวมไว้ใน Plannet "Learning English" จะนำมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยค่ะ   

     "ผศ.เดชา สว่างวงค์" บอกว่า "เข้ามาเยี่ยมชมด้วยคนนะครับ" ...ยินดีต้อนรับเสมอค่ะ

      "หนูปู" หายไปนาน จนหวั่นใจ แต่แล้วเธอก็กลับมา พร้อมคำพูดจาที่คุ้นเคย "สวัสดีค่ะอาจารย์แม่ อาจารย์แม่สบายดีนะคะ ปูเพิ่งกลับจากทริปบาหลีกับที่บ้านมาค่ะ น้องชายยังบ่นเลยว่า ผมหล่อแต่พอไปตปท. พูดภาษา ไม่ได้นี่ ความมั่นใจหายไปหมดเลย ฮา สุขสันต์ หรรษา ทุกวี่วันนะคะ ขอบคุณค่ะ" ขอบคุณนะคะที่มาให้เห็น ช่วงหนึ่งเดือนที่หายหน้าไป รู้สึกราวกับว่า มีสิ่งสำคัญที่ขาดหายไปจากชีวิต ตอนนี้ชีวิตมีชีวาขึ้นมาอีกครั้ง...แหมอยากจะเห็นภาพไปเที่ยวบาหลีของครอบครัวหนูปูจังเลย จะได้รู้ด้วยว่า คนหล่อที่ความมั่นใจหดหายนี่สีหน้าประมาณไหน ขอให้มีความสุขทุกๆ วันเช่นกันนะคะ

     "พี่ชายวอญ่า" เข้ามาขอบคุณที่ อ.วิเข้าไปช่วยพิสูจน์อักษร และบอกว่าได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว...ยินดีรับใช้เสมอค่ะ

  
 
 
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 493040เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (70)

ขอบคุณ อ.แม่ ชลัญท่าจะต้องเกาะ เรื่องนี้ล่ะ เพราะภาษา อังกฤษชลัญนั้น มัน เป็น แบบ English is fan ไอ้ที่ fun น่ะ คือคนอื่นเขาเห็นเราพูดแล้วเขา Fun น่ะ อาจารย์

สวัสดีครับอาจารวิลัย ใช่ครับผมว่าถ้าได้มีการใช้ยุบ่อยๆ มันคงจะดีสามารถที่จะจำคำศัพท์ได้มากขึ้น

จะแจ้งให้สมาชิกนกลุ่ม 4 ทราบครับผม ขอบคุณอาจารย์มากครับ

รับทราบคะอาจารย์ หนูจะแจ้งให้สมาชิก กลุ่ม 6 คะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หลังจากที่หนูได้อ่านบทความเรื่องมาสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกันเถอะ นี้แล้วหนูเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะกับประโยคที่ว่า "ผู้เขียนพบว่าไม่มีวิธีไหนที่จะช่วยให้เราเก่งภาษาอังกฤษได้ ยกเว้นตัวเราเองซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ ทำใจให้ชอบภาษาอังกฤษ และเชื่อมั่นว่าตนจะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้" เพราะว่าถึงแม้จะมีใครสอน ใครบอกมากเท่าไร ถ้าตัวเรามีอคติและไม่สนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียนแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูคิดว่าการใช้ภาษาอังกฤษในทุกวันนี้มีความจำเป็นมากค่ะ เพราะต่อไปประเทศไทยเราก็จะเข้าสู่อาเซียนแล้ว ซึ่งภาษาอังกฤษเป็นภาษาระดับสากลค่ะ หนูก็จะพยามยามเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้นค่ะ และวิชาที่เรียนกับอาจารย์ก็มีประโยชน์มากค่ะในการใช้ภาษาอังกฤษสามารถฝึกฝนการใช้ภาษาด้วยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่กระตุ้นเรื่องสำคัญนี้อย่างต่อเนื่องค่ะ เจ้าของภาษาบอกว่า Grammar ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในการพูด ฟัง ที่ทำให้ไม่เข้าใจ คือการ "ออกเสียง" ค่ะ อย่างหนูเอง เคยเตรียมนำเสนอผลงาน มีเจ้าของภาษาขัดเกลาประโยคให้ มั่นใจว่า grammar ถูกแน่ แต่พอพูดจริง ก็มี feedback จากผู้ฟัง ว่า เข้าใจยาก ถ้าไม่ดูสไลด์ .. ภาษาอังกฤษกับคนไทย คงเป็นการต่อสู้ที่น่าตื่นเต้นต่อไป จนกว่าเราจะ "พูดได้ด้วยความรู้สึก" นะคะ

บางทีถ้าว่างว่างผมก็จะดูอาจะซีร่า ฟังออกบ้างไม่ออกบ้าง คนเขาว่าบ้าก็ช่างเขาครับ

ภาษาอังกฤษจำเป็นกับเรามากๆครับ และสำคัญกับผู้คนทั่วโลกเลยครับ

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนหันมาใส่ใจในภาษาอักฤษ เพราะภาษาอังกฤษจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคนครับ

ขอคุณอาจารย์ ผศ.วิไล แพงศรี มากนะครับที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษผมจะพยายามเรียนรู้เพิ่มเติมและหัดพูดให้มากขึ้น

ภาษาอังกฤษยากแต่คงไม่ยากมากสำหรับคนไทยใช่ไหมคะ ขอบคุณคะที่ช่วยกระตุ้นให้หนูยากพูดภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมว่าภาษาอังกฤษจำเป็นมากที่จะต้องใช้ในอนาคตตต่อไปเมื่อเราได้ฝึกอ่านพูดเขียนบ่อยๆมันน่าจะทำให้เราได้ภาษาอังกฤษมากขึ้นและเราจะสื่อสารได้บ้างโดยอัตโนมัติ...

สวัสดีครับอาจารย์ รับทราบครับ

Language is a tool - we use tools to make something else -- our life?

If we are scared of using a tool, we cannot be good at using a tool -- we can't make something easily. In our later years, we may wonder why did we not learn to use other languages to our advantage. We may feel sorry to have to work a lot harder without using tools, but it is never too late to learn.

I am with you. I am learning. I like walking with learners ;-)

สวัดดีค่ะอาจารย์หลังจากที่หนูได้อ่านบทความของอาจารย์แล้วทำให้หนูได้เข้าใจว่าภาษาอังกฤษจำเป็นแล้วสำคัญมาก ยิ่งประเทศไทยได้เปิดเป็นประชาสังคมอาเซียนแล้วภาษาอังกฤษยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ชึงมีการแข่งขันกันหลายด้าน ถ้าหากเราไม่สามารถพูดคุยหรือสื่อสารกับชาวต่างชาติได้โอาสที่เราจะได้งานก็น้อยลงมากขึ้น ดังนั้นเราจึงเรียรู้ภาษาอังกฤษให้เข้าใจและมั่นฝึกฟัง พูด อ่าน และเขียนให้คุ้น และเข้าใจ

ปล.ถึงหนูจะชอบภาษาอังกฤษแต่หนูก็ไม่เก่งภาษาอังกฤษ พออ่านได้บ้างเป็นบางประโยคสั่นๆ แต่หนูจะพยายามอ่านให้คล่องและสามารถแปลได้ค่ะ

จะแจ้งให้เพื่อนกลุ่ม4ทราบค่ะอาจารย์

รับทราบครับ จะแจ้งในกลุ่มและทำตามคำสั่งครับ

รับทราบค่ะอาจารย์ จะปฏิบัติตามค่ะ

รับทราบครับ ผศ.วิไล แพงศรี ถึงผมจะอ่านภาษาอังกฤษไม่ข่อยได้แต่ผมก็รู้แล้วคับว่าจำเป็นผมจะตั่งใจฝึกอ่านนะครับ

หนูขอขอบคุณ ผศ.วิไล แผงศรี นะค่ะที่ให้ความรู้เกียวกับการใช้ภาษาอังกฤษ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูได้อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วค่ะ หนูว่าเป็นสิ่งที่ดีที่อาจารย์ให้ฝึกพูดภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำงานและการเข้าสู่ประเทศอาเซียน

สวัสดีครับ อ. วิไล เเพงศรี ผมได้อ่าน การให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ต่อไปนี้ผมจะตั้งใจฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษให้คล่องเพื่อที่จะได้มีความรู้ติดตัว เเละปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างสะดวก

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ความยากงายเท่ากันกับภาษาไทย มีคำ นาม สรรพนาม กรรม เเละอื่นๆที่คล้ายกัน มันขึ้นอยู่กับการที่เราจะฝึกฝนค่ะ เช่นกับประโยคที่ว่า "เสาะหาไม่ใช่เกิดมาเป็น"

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่คอยกระตุ้นในเรื่องภาษาอังกฤษเพราะมันเป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีความจำเป็นมากในปัจจุบันนี้ค่ะ

หนูได้อ่านบันทึกของ ผศ.วิไล แล้วค่ะ หนูมีความเห็นว่าปัจจุบัน คนไทยเริ่มล้าหลังแล้ว ขอบคุณที่อาจารย์เป็นห่วงในเรื่องของภาษาและคอยย้ำนักศึกษาอยู่บ่อย ๆ หนูคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้นักศึกษากล้าพูดกล้าแสดงออก มั่นใจในตัวเอง และการเรียนกับอาจารย์หนูว่าสนุกมากค่ะ

ทราบแล้วค่ะอาจารย์จะปฏิบัติตามค่ะ

      หนูได้อ่านบันทึกของอาจารย์แล้ว ทำให้หนูรู้ว่าในปัจจุบันนี้การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากคะ และอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะเป็นประชาคมอาเซียนเราก็ต้องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ และหนูก็ขอบคุณอาจารย์มากนะคะที่นำเรื่องดีๆมาให้นักศึกษาได้อ่าน  ถึงแม้ว่าหนูจะพูดและสื่อสารภาษาอังกฤษไม่เก่งแต่หนูก็จะพยายามฝึกพูดฝึกอ่านให้คล่อง เพราะในวันข้างหน้าเราก็จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและใช้ในการทำงานคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ จากที่ได้อ่านบทความการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ดิฉันคิดว่าภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันมากไม่ว่าจะเป็นการไปสมัครงาน การสนทนากับชาวต่างชาติและอื่นๆดังนั้นคนไทยก็ต้องให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษและควรจะฝึกการสนทนาให้มากเพื่อจะได้เป็นผลดีต่อเรา และขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่คอยกระตุ้นในเรื่องภาษาอังกฤษเพราะมันเป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีความจำเป็นมากในปัจจุบันนี้ค่ะ

จากที่หนูได้อ่านบันทึกของอาจารย์ทำให้รู้ถึงความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพราะตอนนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่อาเชียนประเทศไทยก็ต้องพัฒนาในด้านภาษาอังกฤษอีกมาก และตัวของหนูเองก็ไม่ค่อยเก่งในทางด้านภาษาอังกฤษอยู่แล้วแต่หนูก็จะพยายามรับเอาสิ่งที่อาจารย์สอนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงานต่อไปค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ วิไล แพงศรี จากที่หนูได้อ่านบันทึกของอาจารย์ คือ หนูมีความรู้สึกว่าภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างมากหรือมากที่สุดในปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสารที่ควบคลุมทั่วโลก แต่ถ้าเราอยากจะเก่งภาษาอังกฤษก็จะต้องฝึกฝนที่ตัวเราก่อน......จึงจะสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติต่างภาษาได้ ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ วิไล แพงศรี จากที่หูนได้อ่านบทความของอาจารย์หูนมีความคิดว่าภาษาอังกฤษมีความจําเป็นต่อทุกเพศทุกวัยค่ะเราทุกคนจะต้องได้เรียนภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานอยู่แล้วเพราะจะต้องสือสารกับคนต่างภาษาอยู่บ่อยๆจากนี้เราต้องฝึกฝนและเรียนรู้เรื่องภาษาให้มากกว่านี้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเรารเองและประเทศชาติค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่คอยกระตุ้น พัฒนา และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งประเทศไทยก็กำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำให้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

ภาษาอังกฤษไม่ยากอย่างที่คิดนะคะ ขอแค่กล้าพูดค่ะั

รับทราบคับ ถึงผมจะพูดภาษาอังกฤษไม่เก่งแต่ก็จะทำให้สุดความสามารถคับ

การสื่อสารเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆค่ะโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ถ้าฟังไม่ออก หรือพูดไม่ได้เลยจะยิ่งสื่อสารลำบาก

ขอบคุนมากคับ ภาษาอังกฤษมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากเลยคับ

สวัสดีค่ะอาจารย์แม่

อาจารย์แม่สบายดีนะคะ ปูเพิ่งกลับจากทริปบาหลีกับที่บ้านมาค่ะ

น้องชายยังบ่นเลยว่า ผมหล่อแต่พอไปตปท. พูดภาษาไม่ได้นี่ ความมั่นใจหายไปหมดเลย ฮา

สุขสันต์ หรรษา ทุกวี่วันนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันคิดว่าภาษาอังกฤษมีความจำเป็นไม่น้อยในปัจจุบัน ยิ่งในอีก3ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ยิ่งทำให้ดิฉันคิดว่าควรจะฝึกฝนและพัฒนาภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น

เรียนอาจารย์น้องวิไล ขอบคุณที่เข้าไปเป็นนายภาษา ได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว

จึงขอบคุณมา

สวัสดีค่ะอาจารย์วิไล แพงศรี การสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตประจำไม่มากก็น้อยหนูจะนำไปปรับปรุงเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิไล แพงศรี จากบทความอาจารย์ที่กระตุ้นให้นักศึกษาใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นนั้นเป็นการดีอย่างยิ่ง เพราะอีกไม่กี่ปีเราก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกันแล้ว มันคงจะไม่ยากเกินไปที่ทุกคนจะมาฝึกพูดในชีวิตประจำวันบ้าง การฝึกพูดภาษาอังกฤษก็ทำให้เรามีความกล้าแสดงออก มั่นใจ และสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง

                   It is never too late to mend =  ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ผศ. วิไล แพงศรี ขอขอบพระคุณมากๆนะค่ะ สำหรับแนวคิดดีๆเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ เพราะปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษมีบทบาทในการทำงานและการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ภาษาอังกฤษมีความจำเป็นเป็นอย่างมากในทุกวันนี้ หนูจะนำไปปรับปรุงฝึกฝนการพูดค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูที่เคารพ

   ดิฉันคิดว่าภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอย่างมากในปัจุบัน เราควรศึกษาและเรียนรู้ไว้ ไม่จำเป็นว่า จะต้อง เรียนเอกภาษาอังกฤษ เพราะในการาเข้าไปสมัครงาน นสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ คนรับเข้าทำงาน จะถามว่าเราสามารถ เขียนหรือพูด ภาษาอังกฤษได้ไหม ถ้าเราพูดหรือเขียนได้ เราก็ได้โอกาสในการเข้าทำงานสูง กว่าคนที่พูดหรือเขียนไม่ได้

ผมว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญในปัจจุบันนะครับเพราะใช้ในการติดต่อสื่อสาร ผมถึงแม้จะยังไม่เก่งด้านภาษาอังกฤษแต่ผมจะพยามฝึกพูด และใช้ภาษาอังกฤษให้ดีที่สุดครับ

ต้องยอมรับว่าผมเองคนนึงที่มีประสบการณ์ต่อภาษาอังกฤษที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก เพราะในอดีตผมเคยเป็นนักเรียนที่เก่งภาษาอังกฤษแต่เมื่อเริ่มเข้าช่วงชั้นที่ 2 ครูผู้สอนทำให้ผมรู้สึกกลัวและไม่ชอบภาษาอังกฤษ มาจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รู้จักกับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งครอบครัวของเธอและตัวเธอเองนั้นเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษอยู่มาก ทำให้ผมค่อยๆซึมซับความรู้สึกดีๆต่อภาษาต่างชาติมากขึ้น และเมื่อไม่นานมานี้เหตุการณ์ที่เปลี่ยนความคิดของผมเองไปโดยสิ้นเชิงคือ เธอได้ไปเที่ยวที่มาเลเซีย และสิงคโปร์ เธอบอกว่าไม่ว่านักท่องเที่ยวหรือคนในชาติเองก็ต่างใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกันทั้งนั้นถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ภาษาประจำชาติก็ตามแต่ผู้คนต่างเชื้อชาติก็ยังสื่อสารกันได้ผ่านทางภาษาอังกฤษ ทำให้ผมเห็นความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้ผมรู้ว่าไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ประเทศอะไรคุณก็สามารถสื่อสารกันคนในประเทศนั้นๆได้โดยง่าย และนี่เป็นเหตุผลและแรงกระตุ้นให้ผมหันมาให้ความสำคัญและความสนใจในภาษาอังกฤษอย่างเต็มที่ .............................สุดท้ายผมขอฝากไว้ว่า แม้ภาษาจีนจะเป็นภาษาที่คนใช้มากที่สุด หรือแม้แต่ภาษายาวีที่เป็นภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในอาเซียน แต่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนประเทศอะไร ที่นั้นๆจะมีคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ในทุกๆที่ ทั้งจีน อินเดีย รัสเซีย หรือแม้แต่อาเซียนของเรา ฉะนั้นหากเปรียบ ภาษาอังกฤษก็คือภาษาที่ทุกคนท่วโลกรู้จักและใช้กันเป็นอย่างดี............................... ............................แล้วคุณล่ะไม่อยากที่จะใช้ภาษาอังกฤษเพื่อที่จะได้ใช้สำหรับการเดินทางรอบโลกของเรา ศึกษา ท่องเทียว หรือแม้การทำงานบ้างหรือ
............................................ภาษาเดียวเชื่อมคนเชื่อมโลก ขอบคุณครับ ...............................................................

ขอบคุณท่านอาจารย์มากน่ะค่ะที่นำสาระดีๆมาฝากอยู่เสมอ จะพยามใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเพื่อเป็นการฝึกฝนเเละพัฒนาคนเองให้มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ

จะดีมากเลยครับถ้าเยาวชน หันมาสนใจภาษาอังกฤษกันมากขึ้นทุกวัน ๆ

           

ขอบคุณบันทึกดีดี มีสาระของ ผศ. วิไล

เริ่มจากต้องกล้าก่อนคะภาษาไหนๆ ก็สนุกได้

ยิ่งถ้าได้สนทนาเป็นประจำ จะทำให้กล้าและเก่งขึ้น

 

รับทราบค่ะอาจารย์ เพราะเป็นสิ่งที่ดีในการเข้าสู่สังคมอาเซียน เพื่อที่จะฝึกฝน และกล้าพูดกับชาวต่างชาติในอนาคตได้ค่ะ ขอบคุณในกิจกรรมนี้ดีมากค่ะ

  • ขอบคุณ "คุณBlank" มากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ และให้ข้อคิดว่า การสื่อสารภาษาต่างประเทศนั้น "เริ่มจากต้องกล้าก่อน...ภาษาไหนๆ ก็สนุกได้ ยิ่งถ้าได้สนทนาเป็นประจำ จะทำให้กล้าและเก่งขึ้น"
  • นักศึกษาจำคำแนะนำของ "Blank" ไว้นะคะ ว่า การฝึกภาษาต้องกล้าก่อน และให้ฝึกสนทนาเป็นประจำ อาจารย์เห็นใจที่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้รับการฝึกฝนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษจากโรงเรียน ก็เลยเคอะเขินกัน กลัวผิด แอนดรูวว์ บิกส์ (Andrew Biggs) ผู้สอนภาษาอักฤษที่คนไทยรู้จักดี ได้บอกหลักปฏิบัติไว้ข้อแรกที่จะช่วยให้สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีว่า 1) ต้องไม่กลัวผิด เพราะหัดพูดใหม่ๆ มันก็ต้องผิดเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว และถ้าเราพูดผิด เจ้าของภาษาจะแก้ให้ อย่างที่เขาเอง ก็เรียนรู้ภาษาไทยด้วยตนเองจนสามารถใช้ทำมาหากินในเมืองไทยได้ แต่เขาก็พูดผิดในช่วงแรกๆ เช่น สั่งไข่ม้าเยี่ยว (เยี่ยวม้า) และขอซื้อข้าวเหนียวสังฆราช (สังขยา) เป็นต้น 

สวัสดีครับอาจารย์ ผมอาจจะตอบช้ากว่าเพื่อนหน่อยบ้านไม่มีอินเตอร์เน็ต การได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษบ่อยๆจนเป็นนิสัยอาจทำให้ตัวเรา สามารถชินต่อการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น

อาจารย์ครับต้อนนี่ผมกำลังตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษนะครับผมคิดว่าภาษาอังกฤเป็นสิ่งที่จำเป็นถ้าเราอยากพัฒนาต้นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท