เรียนรู้จากการอ่านหนังสือ "พระผงสุพรรณ" ของ มนัส โอภากุล


หนังสือนี้ได้สรุปสาระสำคัญของการก่อกำเนิดเมืองสุพรรณบุรี หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับพระผงสุพรรณและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

หลังจากที่ผมศึกษาพระผงสุพรรณตามหนังสือพระเครื่องที่วางขายตามแผงหนังสือทั่วไป มาระยะหนึ่ง พร้อมๆกับหัดส่องพระผงสุพรรณแบบไม่รู้เรื่อง ไปเรื่อยๆ

ก็รู้สึกว่าตำราเหล่านี้ไม่ค่อยให้ความรู้ในการศึกษาพระเท่าไหร่

อย่างมากก็ชี้จุดดูพระอย่างเดียว

มีประวัติการสร้างประกอบก็สรุปสั้นๆ เล็กๆน้อยๆ ไม่ค่อยมีประเด็นให้คิดและเข้าใจอะไรมากมาย

และบางประโยคก็ลอกต่อๆกันมา ดูกี่เล่มๆ ก็เหมือนๆกัน

ทำให้ยังไงๆ ก็ไม่สามารถแยกพระผงสุพรรณเก๊ออกจากพระแท้ไม่ได้

เพราะ พระเก๊ทั้งหลาย ก็พยายามทำตามตำราเหล่านั้นได้ครบหมดทุกประเด็นแล้ว

แบบว่า

อยากเห็นอะไร เรามีให้ท่านดูให้ครบ ก็แล้วกัน

อย่างมากก็มีเพียง คำเดียวที่ชอบเขียนในตำราว่า "ความเป็นธรรมชาติ" ที่ผมเชื่อว่า ไม่มีนักส่องพระมือใหม่คนไหนจะเข้าใจประโยคนี้

ผมเลยเลิกอ่านหนังสือประเภทนั้น อย่างมากก็ไว้ดูพิมพ์เปรียบเทียบเท่านั้น

แต่.....

เมื่อสัปดาห์ก่อน คุณนิพนธ์ พัชระภัทร์ ได้ให้ยืมหนังสือ "พระผงสุพรรณ" มาให้ศึกษา ก็เลยขอยืมยาวเลย 

พอได้มา ผมก็อ่านคร่าวๆ และส่งต่อให้อาจารย์ที่ มข. ช่วยทำสำเนาไว้อ่านในรูป pdf files ที่ใช้เวลาประมาณสัปดาห์กว่าๆ ก็ได้คืนมาเมื่อวานนี้

พอได้มาก็รีบอ่านแบบลงรายละเอียดทันที

จึงได้ความรู้มาเสริมความรู้ที่มีอยู่แล้ว และความรู้ใหม่ในการพิจารณาพระผงสุพรรณที่มีการทำเลียนแบบมาตั้งแต่สมัยนานมาแล้ว และคาดว่าน่าจะพัฒนาไปไกลแล้ว

สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้

ได้สรุปสาระสำคัญของการก่อกำเนิดเมืองสุพรรณบุรี

หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับพระผงสุพรรณและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

และที่สำคัญมาก ก็คือ วิธีการทำพระผงสุพรรณเก๊ ในสมัยโน้น ที่ไปไกลพอสมควรทีเดียว

สรุปได้ว่า

ผู้เขียน เชื่อว่า

พระผงสุพรรณน่าจะสร้างก่อนยุคอยุธยา ปลายๆยุคอู่ทอง (หรือปลายสุโขทัย) ประมาณ พ. ศ. 1890 โดยใช้ศิลปะอู่ทอง ทั้งองค์พระในกรุ และโครงสร้างเจดีย์ โดยใช้ดินเหนียวผสมเกสร สารเหนียวยึดเนื้อดิน และว่าน 108 คลุกกันแล้วนำไปกดพิมพ์โดยฤๅษี จนมีลายมือปรากฏอยู่ที่ด้านหลัง ตัดด้วยไม้ หรือมีดที่ไม่คมมาก นำไปผึ่งให้แห้ง และเก็บในกรุโดยไม่มีการเผา

สีของพระมีทั้งดำ เหลือง แดง และเขียว แต่ส่วนใหญ่ที่แสดงในหนังสือเป็นสีแดง

น้ำว่านทำให้พระมีเนื้อฉ่ำมัน ทนการผุพังได้ดี

พิมพ์หน้าแก่ เป็นพิมพ์ที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าเพิ่งชนะมารมาใหม่ๆ ยังเคร่งขรึม ลำพระองค์ซูบผอม

พิมพ์หน้ากลาง เป็นพิมพ์ที่เริ่มมีความสมบูรณ์ของพระองค์ พระพักตร์สดใสและ

พิมพ์หน้าหนุ่ม คือพิมพ์ที่สะท้อนความแข็งแรงของพระวรกาย ในระยะต่อมา

พระที่ได้อายุจะมีความเหี่ยวของผิว และมีน้ำว่านม้นๆเคลือบผิว อาจมีรารัก คราบกรุอยู่ด้วย

การพิจารณาต้องดูพิมพ์ทรง ความเหี่ยว น้ำว่านที่ผิวพระ

การทำพระเก๊ในยุคแรกๆ จะเผา แล้วแต่งผิวด้วยน้ำมัน ให้ดูเหมือนน้ำว่าน ทำให้เนื้อแข็งกว่าธรรมดาแบบดินเผา ขอบคมแข็ง ขนาดผิดไปจากเดิม สังเกตได้ง่าย

แต่ในระยะต่อๆมา ก็ใช้วิธีอัดดินโดยไม่เผา ที่ใกล้เคียงดินดิบมากขึ้น แต่พิมพ์จะเพี้ยนได้มาก เพราะฉะนั้น พระปลอมสมัยก่อนยังสังเกตได้ง่าย

หลังจากเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ "พระผงสุพรรณ" ของ มนัส โอภากุล ผมก็มาพิจารณา

พระปลอมที่ผมมีอยู่

พบว่า

มีการแต่งผิวได้ใกล้เคียงกว่าเดิมมาก

พระดินเผาจนดินแข็งก็ยังพบบ้างประปราย

และ

ที่เพิ่มเข้ามาคือพระเนื้อสารสังเคราะห์ ที่ทำได้ใกล้เคียงกว่ามาก

ทั้งผิวเหี่ยว เส้นน้ำตก ตำหนิต่างๆ ครบตามตำราแทบทุกประการ

แต่ก็มีหลายระดับฝีมือ เช่น

ฝีมือขั้นต่ำ

  • ยังคงเผา
  • แต่งผิว
  • ตำหนิครบ แต่อาจเพี้ยนนิดหน่อย
    • ที่มือใหม่จะคิดว่าเป็นพระคนละบล็อกกัน ไปเข้าทางของช่างทำพระเก๊พอดีๆ
  • ตรวจสอบจากความแข็งของผิวพระ และคราบโปะต่างๆ ก็พอจะแยกได้

ฝีมือขั้นกลาง

  • ใช้พระดินอัด
  • แต่งผิวให้มันด้วยสารเคลือบ
  • แต่งลายมือ และ
    • ทำเป็นลงรักหรือมีคราบกรุปิดบังผิวที่พื้นองค์พระ
    • ผิวโผล่เฉพาะตามขอบ
    • บางทีก็ปิดหมด
  • แต่ก็พอมองลอดผ่านไปเห็นความเรียบ และ
    • ตำหนิที่ผิดพลาดได้
    • แต่ต้องดูพระแบบใจเย็นๆ
    • รีบร้อนโดนทันที
  • จุดที่ใช้แยกก็คือพระที่มีคราบปิดๆบังๆให้ระวังเป็นพิเศษ
  • ถ้ามีผิวโผล่ ให้ดูผงเกสรและน้ำว่านเป็นลายๆในเนื้อพระ และ
  • พยายามแอบดูตำหนิของพิมพ์ต้นแบบที่มักจะเพี้ยน หรือไม่มีเลย

ฝีมือขั้นสูง

  • อาจใช้ดินผสมแร่อัดให้เห็นเนื้อลาย
  • ชุบน้ำมัน
  • แต่งผิว หรือใช้สารสังเคราะห์อัด แต่งผิว
  • ทำคราบเล็กน้อยเพื่อปิดบังพื้นผิว
  • วิธีการสังเกต
    • ให้ดูความกลมกลืนของผิวและเนื้อตามหลักการสร้าง การกด และวิวัฒนาการของผิวพระ
    • การบิดหรือหดตัวของพระและผิวพระ
    • จุดสำคัญคือความกร่อนที่ควรมี
      • เพราะพระเนื้ออ่อนดินดิบ มีการกร่อนได้ง่ายมาก และ
      • ผิวเหี่ยวที่พระเก๊ยังทำได้ไม่เนียน
        • ที่จำเป็นต้องอาศัยความเคยชินกับลักษณะการเหี่ยวของผิว
        • ที่ต่างจากการทำให้ดูเหี่ยว โดยการโปะย่นๆที่ผิวพระ

ลองดูนะครับ ว่าท่านเจอแบบไหนบ้าง มาเล่าสู่กันฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 492759เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)


รูปทรงและเนื้อผิวไม่ได้ครับ (ปลอมตาเปล่า)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท