รู้มั๊ย " แมวสีสวาด" มีต้นกำเนิดจากพิมาย


      ขอนำอีกความภาคภูมิใจของชาวพิมาย จากคนในเครือญาติ "ขุนท่าหลวงแถลงการณ์"  อย่างชลัญธร  มาเล่าให้ชาว GTK ฟัง  นั่นก็คือสัตว์ น่ารัก  นำโชค  (แล้วแต่จะคิด) ก็คือ แมวสีสวาดนั่นเอง

 

       แรงบันดาลใจในการเขียนครั้งนี้คือ  ไปบ้านพี่ ที่ทำงานด้วยกัน ชื่อพี่จี๋ 

 

       พี่จี๋ชอบแมวมาก  มีแมวหลายตัว  แต่ด้วยชลัญไม่ชอบแมว  ที่ไม่ชอบนี่ อย่ามองว่า  เป็นคนใจร้ายใจดำนะ  (เดี๋ยวจะไปประกวดนางไทยไม่ได้ เพราะ ไม่รักสัตว์ และไม่รักเด็ก อิ อิ )  แต่ที่ไม่ชอบแมวนี่เพราะชลัญเป็นคนขี้รำคาญ  ไม่ชอบอะไรที่เวอร์เกิน ยกตัวอย่างเช่น  สมัยสาวๆ ถ้ามีคนมาจีบเราแล้วรักเราเวอร์  โอ๊ยชีวิตนี้ไม่มีเธอไม่ได้  ไปไหนต้องมีเธอไปด้วย  ตามทุกฝีก้าว  คุยกับใครไม่ได้ หึงไม่เข้าเรื่อง นี่มันน่ารำคาญ  ซึ่งลักษณะของแมวเป็นแบบนี้ คือชอบมาคลอเคลียไร้เดียงสา ตรงนี้แหล่ะที่ไม่ชอบ 

 

 

 

       ก็เลยไม่เคยสนใจเรื่องแมวเลย  จนกระทั่งไปบ้านพี่จี๋ นี่แหล่ะไปเจอแมวตัวหนึ่ง ขนสีเทาๆ  เฮ้ย!  สีแปลกสวยดี  เออ...แต่มันเหมือนแมวจรจัด วิ่งไปวิ่งมาแถวบ้านเลย  บอกพี่จี๋อย่างนั้น  พี่จี๋งี้หูผึ่งเลย

 

      " มีด้วยเหรอแมวสีสวาด  อยากได้ ๆ ๆ เอามาให้พี่ชอบ พี่จะเลี้ยงเอง"

 

      จ๊ากกกก์..!!! ชลัญอุทานเลย "เอาปัญญาที่ไนจับมันล่ะพี่  วิ่งเร็วปานลิงลมเลย "  "ไม่รู้มันเป็นแมวบ้านใคร  เห็นวิ่งผ่านไปผ่านมานั่นแหล่ะ "

 

    พี่จี๋  บอก  "นั่นแหล่ะๆ ไปสืบดูให้หน่อย  บ้านใครพี่จะซื้อต่อ 

 

       "อ้าว!!!!!! งานเข้าซะแล้วชลัญ"  ก็เลยรับปากส่งๆ  มาบอกให้คนไม่ชอบแมวไปหาแมวมาให้ซะงั้น 

 

       ก็เลยถามพี่จี๋ต่อ  " แล้วทำไมถึงอยากได้นักแมวสีสวาด นี่"

 

       พี่จี๋ ก็เลยบอกว่า  " แมวสีสวาดนี่ต้นกำเนิดมาจากพิมาย  โคราชบ้านเรา เขาเชื่อว่า เป็นสัตว์นำโชค  " " แล้นี่คนพิมายไม่รู้หรือไง ชลัญธร"

 

    ชลัญก็เลยบอกว่า " ไอ้รู้น่ะรู้  ว่าแมวสีสวาดน่ะต้นกำเนิมาจากพิมาย  แต่บอกตามตรงไม่เคยเห็นตัวจริง  ชลัญยังนึกสงสัยมาตั้งนานว่า  สีสวาดนี่ สีมันเป็นยังไง เออ...ถ้าบอกแมวสีเหลือง  สีเขียว  สีแดง  เหมือนแม่สีนี่พอจะนึกสีออก  แต่ด้วยความไม่ชอบแมวแต่เดิมก็เลยไม่สนใจศึกษา น่ะ  อ้อ!! สีมันเป็นอย่างงี้นี่เอง แต่ชลัญว่า ไอ้ที่นำโชค น่ะคงไม่ใช่แล้วมั๊ง  ....  เพราะว่า ปานนี้มันผสมกันไม่รู้กี่รอบ  กี่พันธ์  แล้ว  กลายเป็น แมวสีสวาดลูกครึ่ง หรือลูกเสี้ยว  มันคงหมดขลังแล้วแหล่ะ"

 

    พี่จี๋นั่งหัวเราะ  " ไอ้ที่คิดได้ไม่เหมือนชาวบ้านนี่ ต้องยกให้ชลัญ  มิน่าเป็นพาร์กินสันตั้งแต่ยังไม่แก่  ทั้งที่คนอิ่นเขาไม่เป็นกัน "

 

    ชลัญ  "ซะงั้นพี่เรา  เข้าตัวจนได้นะชลัญธร 55555"

 

    กลับมาบ้านก็เลยมานึกว่า  เอ้า!!! ไหนๆ ก็เป็นของดีเมืองพิมายของชลัญ  ก็เอามาอวดชาว GTK หน่อยล่ะกัน  ก็เลยไปค้นข้อมูล  โอ๊วววว์ ..... เจอเพียบเลย  ต๊าย!!!! คนอื่นเขามีข้อมูลเพียบ สาวพิมาย อย่างชลัญ มิรู้ อับอายมาก ก็เลยนำข้อมูลมาแบ่งปันชาว GTK เผื่อใครอยากได้แมวสีสวาด  ก็มาช่วยชลัญวิ่งไล่จับแถวบ้านนี่แหล่ะ

 

ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org

 

แมวโคราช หรือ แมวมาเลศ ต้นกำเนิดพบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือที่รู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อยที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

 ไฟล์:Korat Family.jpg

 

       แมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา จึงเรียก แมวสีดอกเลา โดยจะต้องมีขนเรียบ ที่โคนขนจะมีสีขุ่น ๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว หรือเหมือนคนผมหงอก

 

        ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[1] โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว มีเรื่องเล่ามากมายหรือเป็นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับแมวโคราช รวมถึงตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงการที่แมวโคราชมีหางหงิกงอมากเท่าไหร่จะมีโชคลาภมากเท่านั้น (แม้ว่าลักษณะหางหงิกงอไม่ใช่มาตรฐานพันธุ์ตามหลักของ CFA ก็ตาม) แต่คนไทยบางกลุ่มจะเรียกแมวโคราชว่า แมวสีสวาด

 

         แมวโคราชได้ถูกนำไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกโดย Cedar Glen Cattery ในมลรัฐโอเรกอน โดยได้รับมาจากพี่น้องชื่อ นารา (Nara) และ ดารา (Darra) ในวันที่ 12 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2502 ประมาณเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2509 นักผสมพันธุ์แมวโคราชและแมวไทย (วิเชียรมาศ) ชาวรัฐแมริแลนด์ ได้นำแมวโคราชประกวดในงานประจำปีและ ได้รับรางวัลชนะเลิศและเป็นที่รู้จัก

 

ปัจจุบันได้มีการผลักดันให้แมวโคราชขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ประจำชาติไทย ในปี พ.ศ. 2552

 

ลักษณะที่เป็นข้อเด่น

       ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีสวาด (silver blue) ทั่วทั้งตัวและเป็นสีสวาดตั้งแต่เกิดจนตาย

       ลักษณะของส่วนหัว : หัวเมื่อดูจากด้านหน้าจะเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ในแมวตัวผู้หน้าผากมีรอยหยักทำให้เป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น หูใหญ่ตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปากสีเงิน หรือม่วงอ่อน

       ลักษณะของนัยน์ตา : นัยน์ตาสีเขียวสดใสเป็นประกาย หรือสีเหลืองอำพัน ขณะยังเป็นลูกแมวตาจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และเมื่อเติบโตเต็มที่ตาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวใบไม้ หรือสีเหลืองอำพัน

      ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อย ๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว

        คนสมัยโบราณมีความเชื่อว่า แมวสีสวาดเป็นแมวนำโชคลาภของคนโคราช และคนเลี้ยงทั่ว ๆ ไป จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิมงคลแก่ผู้เลี้ยง แมวสีสวาดเคยประกวดชนะเลิศในระดับโลกมาแล้วในปี พ.ศ. 2503 ที่สหรัฐอเมริกา เป็นแมวตัวเมียชื่อว่าสุนัน และเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก จึงนับว่าแมวไทยได้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นอันมาก

 

ลักษณะที่เป็นข้อด้อย

         ขนยาวเกินไป มีสีอื่นปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี

 

  แมสคอท

 

         แมวมาเลศได้ถูกใช้เป็นแมสคอทประจำการแข่งขันกีฬาซีเกมส์มาแล้วถึง 2 ครั้ง ได้แก่ ซีเกมส์ 1985 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ และ ซีเกมส์ 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นเจ้าภาพ โดยแมวมาเลศตัวนี้มีชื่อว่า "แคน" (Can) อันเนื่องจากแมวมาเลศมีถิ่นกำเนิดที่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมานั่นเอง

 

 

        ดูๆไปเจ้าแมวนี่ก็น่ารักดี  ถ้าตัดนิสัย คลอเคลียไร้เดียงสา  ออกไป ได้  ชลัญก็คงสนใจเอามาเลี้ยงนำโชคสักตัว 

 

ชลัญธร   ตรียมณีรัตน์

 

อ้างอิง :

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A8

หมายเลขบันทึก: 491545เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 04:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น้องชลัญ แมวสีสวาด......คนโบราณเขาเทียบเคียงกับสีของลูกสวาด(ไม้มงคลมหานิยม)

เมื่อก่อนเขาเทียบสีกับสิ่งที่เห็นตามธรรมชาติ เช่น

สีแดงเลือดนก แดงเลือดหมู (ความแดงต่างกัน)

สีเปลือกมังคุด สีเปลือกหมาก สีไก่ชน

ขาวปุยฝ้าย ขาวหยวก ขาวน้ำนม

เหลือวรพระ เหลืองย้อมฝาด สีกัก

เขียวใบไม้

ดำตะโก ดำไฟใหม้ อีกมากมายที่เทียบเคียงสับสี นึกไม่หมด ...ไปทำงานก่อนแล้ว

ตาสวยจังคะ

สีสวยด้วยหาดูยาก

 

น่ารักครับ อยากได้สักตัวเหมือนกัน บ้านผมมีแต่วิเชียรมาศ (ที่ไม่ครบองค์ประกอบตามตำราเท่าไหร่)

ขอบคุณค่ะ น้องชลัญฯ ..ที่นำมาแบ่งปัน..วีรกรรมและความภูมิใจของคนพิมาย...แมวสีสวาด. :-)) .. .. พี่ชอบแมวค่ะ..ชนิดไหนๆก็ชอบ. แอบเอาไปนอนกอดบนเดียงตั้งๆเล็กๆ ทั้งที่ถูกห้าม..เพราะแม่กลัวแพ้ขนแมว...สุดท้ายก็ผ่านด่านนี้ ไม่แพ้กันเลยในพี่น้องทุกคน..รักแมว....แต่.ยังไม่เคยเลี้ยง..เจ้าสีสวาด..เลยค่ะ ที่บ้านแม่พี่มีแมว 5 ตัว...เรียกกันว่า "ลูกสหประชาชาติ" ...น้องมืด น้องนาก น้องสวย และน้องลาย ตามลักษณะรูปร่าง ผิวพรรณ :-)) เพราะไม่ทราบว่าผสมกับสายพันธุ์ไหน แหม...มีแมวตัวเมียตัวเดียวแท้ๆ ได้ลูกมา 4 ตัว ครอกนั้น หลังจากนั้นตัวเมียทุกตัวจับทำหมัน ..เพราะเป็นที่หมายปองของ แมวหนุ่มใกล้บ้านเรือนเคียง ...เค้า กินกันเก่งทุกตัว เลยเมื่อกลับบ้านก็จะมีหน้าที่ชั่งน้ำหนักแมว.. เกือบ 5 กก.ไป ..เจ้านาก..อ้วนกลม... เลี้ยงเค้าแล้วก็ผูกพัน ยิ่งเวลาเค้าเล่นกัน ยิ่งน่ามอง..เดี่ยวนี้เลี้่้ยงแมวก็ต้องดูแลมาก เอาไปให้สัตว์แพทย์รักษา มีโรคอะไรแปลกๆ นี่ก็เพิ่งตายไป.:-(( . เพราะพี่ๆน้องอยู่ห่างบ้าน หมา/แมวจึงเป็นสมาชิกในบ้านจำนวน มากกว่าเจ้าบ้าน ส่วนเจ้าแมวก็ครอบครอง..อ้อนแม่ได้ พอไม่มีแมวแล้ว ก็ไม่มีเสียงอ้อนแม่หล่ะ....คิดถึงเหมือนกันค่ะ...เอาไว้ค่อยหาใหม่ ..แมวไทยๆ อะไรก็ไ้ด้รักทุกตัวค่ะ...ขอบคุณบันทึกน่ารัำกๆ จุดประกายให้คิดถึง..น้องแมว :-))

ข้อเสียอีกข้อของแมว(ทุกชนิด)คืออยู่ตรงไหนขนเต็มไปหมด คนที่เป็นภูมิแพ้ ไม่ควรเลี้ยงเป็นอย่างยิ่ง.. แต่จะว่าไป ไม่ค่อยเจอเลยนะ แมวสีสวาดนี่หนะ

 

ต้นสวาด เป็นไม้เถาเลื้อย ลูกสวาดจะมีลักษณะกลม สีเทา..สมัยก่อน เด็กๆมักนำมาใช้เล่นหมากหลุม..เมืองสีมา (เมืองพิมาย - เมืองที่สร้างไม่เสร็จ)..ตามหลักฐานน่าจะเป็นต้นทางของอาณาจักรอยุธยา(พระเจ้าอู่ทอง)..น่าภาคภูมิใจที่เกิดเป็นชาวพิมาย ครับ..

555 ความรู้ใหม่ ๆ ๆ แม่ไจ่ไจ๋ นี่เก่งหลายเรื่องจริงๆ
ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท