ภูมิปัญญาในการทำดินให้แข็งเป็นหินในการสร้างพระรอดลำพูน


การทำดินให้แข็งเป็นหินเป็นทั้งจินตนาการ ความฝันและความสามารถของคนโบราณที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะและของใช้ในอดีตกาล

ด้านหน้าพระรอดลำพูนเนื้อแกร่งดำ แบบหินบาซอลท์

จากการใช้เวลานั่งศึกษาและวิเคราะห์เนื้อพระรอดลำพูนมาระยะหนึ่ง

ทำให้ผมเริ่มเข้าใจหลักทางวิทยาศาสตร์ของหินและแร่ ที่ผุพังมาเป็นดิน แล้วหวนคืนกลับไปเป็นหินได้อีกครั้งหนึ่ง อย่างน่าทึ่งจริงๆ

หลายท่านอาจจะเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ก็คงไม่ตื่นเต้นอะไร

แต่ผมเพิ่งจะคิดตามภูมิปัญญาได้ทันกำลังตื่นเต้นกับความรู้นี้ครับ

ในกรณีของการสร้างพระรอดลำพูนนั้น

ผมเชื่อว่า

น่าจะลอกเลียนมาจากประสบการณ์การถลุงโลหะที่พบว่า ทำให้ดินบางส่วนที่อยู่ข้างๆเตากลายเป็นหินในระยะต่อๆมา

ที่น่าจะมีการคิดย้อนไปว่าทำไมบางส่วนแข็ง บางส่วนไม่แข็ง แล้วย้อนไปคิดค้นหาส่วนประกอบตั้งต้นที่มาของความแกร่งเหล่านั้น

โดยหลักทางวิทยาศาสตร์แล้วก็น่าจะเป็นการเผาทำลายโครงสร้างของแร่ดินเหนียวที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบสูง ทำให้เหล็ก หรือแร่เหล็กหลอมละลายมาเป็นตัวเชื่อมให้กับเนื้อส่วนที่เหลือ

ภายใต้หลักการเดียวกันกับน้ำว่านที่ไม่ใช้ความร้อนอบบพระเนื้อว่าน หรือการอบไอร้อนบางส่วนเพื่อเสริมพลังน้ำว่านแบบในพระผงสุพรรณ

ดังนั้น พระเนื้อแกร่งเป็นหินเหล่านี้ก็จะมีการผุกร่อนแบบเดียวกับหิน ที่กร่อนเป็นชั้นๆ แบบมีชั้นยุ่ยบางๆอยู่ที่ผิว ที่ทำให้สามารถบอกอายุของเนื้อพระได้

โดยหลักการนี้การฝึกดูผิวพระรอดลำพูนจึงน่าจะดูจากผิวของหินที่มีเหล็กมาก เช่น บาซอลท์ (คล้ายกับพระรอดดำ หรือเทา )หรือ แอนดีไซท์ (สีเขียว คล้ายพระรอดเนื้อเขียว)  มีเหล็กน้อย สีอ่อน เช่น ไดโอไรท์ (ที่คล้ายกับเนื้อพระรอดขาว) หรือ สีอื่นๆตามส่วนผสม

แต่ถ้าไม่ร้อนจัด ไม่สุกมาก หรือส่วนผสมของเหล็กน้อยไป ก็จะออกสีอิฐ สีแดง สีเหลือง ที่จะออกยุ่ยๆ ไม่แกร่งมาก แบบเนื้อพระคง หรือพระลำพูนอื่นๆ

ด้านหลังพระรอดลำพูนเนื้อดำ

ซึ่งเป็นความรู้ในการทำดินให้แข็งเป็นหินได้นั้น เป็นทั้งจินตนาการ ความฝันและความสามารถของคนโบราณที่จะสร้างสรรค์งานศิลปะและของใช้ในอดีตกาล

และนำภูมิปัญญาในการทำดินให้แข็งเป็นหินในการสร้างพระรอดลำพูน ภายใต้แนวคิดของการสร้างความแข็งแรง ทนทาน ตามหลักการของ คงกะพัน ของพระรอด

ผมคิดดังๆมาเพื่อฟังความเห็นจากท่านผู้รู้มากกว่าครับ

หมายเลขบันทึก: 489648เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Could you tell about the "process" of making these emulets?

You are quite right to be excited about old "metalurgy" processes. Making new materials is as has been a stepping stone of civilization. If we could find out how they make these emulets, we may be able to apply the technologies in other areas.

Please tell us more.

พระรอดสวยมากครับ ล่าสุดที่ผมไปลำพูนได้พระรอดจากอาจารย์ท่านหนึ่ง เเต่เป็นพระรอดแห่งวัดมหาวันรุ่นหลังๆเเล้ว องค์เดิม ผมเคยมีแต่ได้หายไป

รุ่นหลังๆไม่ทราบว่าแกร่งเท่ารู่นเก่าๆไหมครับ น่าศึกษาครับ

จานมั่วได้ใจ

พระรอดไม่ได้แข็งทุกองค์นะครับ โดยเฉพาะสีขาว ต่อให้กาลเวลาผ่านเป็นพันปี พระรอดขาวก็ยังเป็นเนื้อดินอยู่ครับ และหายากมากที่สุดในบรรดาทุกสีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท