จรรยาบรรณห้ามลืม


จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 (กันลืม)


1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

  • สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษย์แต่ละคนและทุกคน
    ตัวอย่างเช่น
    ให้ความเป็นกันเองกับศิษย์, รับฟังปัญหาของศิษย์และให้ความช่วยเหลือศิษย์, ร่วมทำกิจกรรมกับศิษย์เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม, สนทนาไต่ถามทุกข์สุขของศิษย์ ฯลฯ
  • ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษย์บนทางสร้างสรรค์ ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของศิษย์แต่ละคนและทุกคน
    ตัวอย่างเช่น
    สนใจคำถามและคำตอบของศิษย์ทุกคน, ให้โอกาสศิษย์แต่ละคนได้แสดงออกตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ, ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของศิษย์, รับการนัดหมายของศิษย์เกี่ยวกับการเรียนรู้ก่อนงานอื่น ฯลฯ
  • เสนอและแนะแนวทางการพัฒนาของศิษย์แต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษย์
    ตัวอย่างเช่น
    มอบหมายงานตามความถนัด, จัดกิจกรรมหลากหลายตามสภาพความแตกต่างของศิษย์เพื่อให้แต่ละคนประสบความสำเร็จเป็นระยะๆอยู่เสมอ,แนะแนวทางที่ถูกให้แก่ศิษย์,   ปรึกษาหารือกับครู ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียน เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาของศิษย์ ฯลฯ
  • แสดงผลงานที่ภูมิใจของศิษย์แต่ละคน และทุกคนทั้งในและนอกสถานศึกษา
    ตัวอย่างเช่น
    ตรวจผลงานของศิษย์ย่างสม่ำเสมอ, แสดงผลงานของศิษย์ในห้องเรียน (ห้องปฏิบัติการ), ประกาศหรือเผยแพร่ผลงานของศิษย์ประสบความสำเร็จ ฯลฯ

2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม ให้เกิดแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ

  • อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์ย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ
    ตัวอย่างเช่น สอนเต็มเวลา ไม่เบียดบังเวลาของศิษย์ไปหาผลประโยชน์ส่วนตน, เอาใจใส่ อบรม สั่งสอนศิษย์จนเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน, อุทิศเวลาเพื่อพัฒนาศิษย์ตามความจำเป็นและเมหาะสม,  ไม่ละทิ้งชั้นเรียนหรือขาดการสอน  ฯลฯ
  • อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์ย่างเต็มศักยภาพ
    ตัวอย่างเช่น เลือกใช้วิธีการที่หลากหลายในการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของศิษย์, ให้ความรู้โดยไม่ปิดบัง, สอนเต็มความสามารถ, เปิดโอกาสให้ศิษย์ได้ฝึกปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ, สอนเต็มความสามารถและด้วยความเต็มใจ, กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย พัฒนาขึ้น, ลงมือจัด เลือกกิจกรรมที่นำสู่ผลจริง, ประเมิน ปรับปรุง ให้ได้ผลจริง, ภูมิใจเมื่อศิษย์ได้พัฒนา ฯลฯ
  • อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    ตัวอย่างเช่น สั่งสอนศิษย์โดยไม่บิดเบือนหรือปิดบัง อำพราง, อบรมสั่งสอนศิษย์โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง, มอบหมายงานและตราวจผลงานด้วยความยุติธรรม ฯลฯ

3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

  • ตระหนักว่าพฤติกรรมการแสดงออกของครูมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของศิษย์อยู่เสมอ
    ตัวอย่างเช่น ระมัดระวังในการกระทำ และการพูดของตนเองอยู่เสมอ, ไม่โกรธง่ายหรือแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต่อหน้าศิษย์ มองโลกในแง่ดี ฯลฯ
  • พูดจาสุภาพและสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศิษย์ละสังคม
    ตัวอย่างเช่น ไม่พูดคำหยาบหรือก้าวร้าว, ไม่นินทาหรือพูดจาส่อเสียด, พูดชมเชยให้กำลังใจศิษยด้วยความจริงใจ ฯลฯ
  • กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี สอดคล้องกับคำสอนของตน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
    ตัวอย่างเช่น ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดีอยู่เสมอ, แต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ, แสดงกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ, ตรงต่อเวลา, แสดงออกซึ่งนิสัยที่ดีในการประหยัด ซื่อสัตย์อดทน สามัคคี มีวินัย  รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

  • ละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษย์เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมของศิษย์
    ตัวอย่างเช่น ไม่นำปมด้อยของศิษย์มาล้อเลียน, ไม่ประจานศิษย์, ไม่พูดจาหรือกระทำการใดที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาหรือข้อบกพร่องของศิษย์, ไม่นำความเครียดมาระบายต่อศิษย์, ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือสีหน้า ท่าทาง, ไม่เปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่ของศิษย, ไม่ลงโทษศิษย์เกินกว่าเหตุ ฯลฯ
  • ละเว้นการกระทำที่เป็นอันตราต่อสุขภาพและร่างกายของศิษย์
    ตัวอย่างเช่น ไม่ทำร้ายร่างกายศิษย์, ไม่ลงโทษศิษย์เกินกว่าระเบียบกำหนด, ไม่จัดหรือปล่อยปละละเลยให้สภาพแวดล้อมเป็นอันตรายต่อศิษย์, ไม่ใช่ศิษย์ทำงานเกินกำลังความสามารถ ฯลฯ
  • ละเว้นการกระทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของศิษย์
    ตัวอย่างเช่น ไม่ตัดสินคำตอบถูกผิดโดยยึดคำตอบของครู, ไม่ดุด่าซ้ำเติมศิษย์ที่เรียนช้า, ไม่ขัดขวางโอกาศให้ศิษย์ได้แสดงออกทางสร้างสรรค์, ไม่ตั้งฉายาในทางลบให้แก่ศิษย์ ฯลฯ

5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์  ให้แก่ตนโดยมิชอบ

  • ไม่รับหรือแสวงหาอามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์อันมิควรจากศิษย์ตัวอย่างเช่น ไม่หารายได้จากการนำสินค้ามาขายให้ศิษย์, ไม่ตัดสินผลงานหรือผลการเรียน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยน, ไม่บังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ศิษย์มาเรียนพิเศษเพื่อหารายได้ ฯลฯ
  • ไม่ใช้ศิษย์เป็นเครื่องมือหาประโยชน์ให้กับตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความรู้สึกของสังคม
    ตัวอย่างเช่น ไม่นำผลงานของศิษย์ไปแสวงหากำไรส่วนตน, ไม่ใช้แรงงานศิษย์เพื่อประโยชน์ส่วนตน, ไม่ใช้หรือจ้างวานศิษย์ไปทำสิ่งผิดกฏหมาย ฯลฯ

6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง วิทยาการ เศรษฐกิจสังคมและการเมืองอยู่เสมอ

  • ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ
    ตัวอย่างเช่น หาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่างๆอยู่เสมอ, จัดทำและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ ตามโอกาส, เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา หรือฟังการบรรยาย หรืออภิปรายทางวิชาการ ฯลฯ
  • มีความรอบรู้ทันสมัย ทันเหตุการณ์ สามารถนำมาวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี
    ตัวอย่างเช่น นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน, ติดตามข่าวสารเหตุการณ์บ้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเมืองอยู่เสมอ, วางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ฯลฯ
  • แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะตัวอย่างเช่น รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ, มีความเชื่อมั่นในตนเอง, แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย,  มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคม ฯลฯ

7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรวิชาชีพครู

  • เชื่อมั่น ชื่นชม ภูมิใจในความเป็นครูและองค์กรวิชาชีพครู ว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม
    ตัวอย่างเช่น ชื่นชมในเกียรติและรางวัลที่ได้รับและรักษาไว้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย, ยกย่องชมเชยเพื่อนครูที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการสอน, เผยแพร่ผลสำเร็จของตนเองและเพื่อนครู, แสดงตนว่าเป็นครูอย่างภาคภูมิ ฯลฯ
  • เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพครูและสนับสนุนหรือเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู
    ตัวอย่างเช่น ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดขององค์กร, ร่วมกิจกรรมที่องค์กรจัดขึ้น, เป็นกรรมการหรือคณะทำงานขององค์กร ฯลฯ
  • ปกป้องเกียรติภูมิของครูและองค์กรวิชาชีพ
    ตัวอย่างเช่น เผยแพร่ประชมสัมพันธ์ผลงานของครูและองค์กรวิชาชีพครู, เมื่อมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวงการวิชาชีพครูก็ชี้แจงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ฯลฯ

8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

  • ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม
    ตัวอย่างเช่น ให้คำปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ, ให้คำแนะนำการผลิตสื่อการเรียนการสอน ฯลฯ
  • ให้ความช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ สิ่งของแด่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม
    ตัวอย่างเช่น ร่วมงานกุศล, ช่วยทรัพย์เมื่อเพื่อนครูเดือนร้อน, จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฯลฯ
  • เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
    ตัวอย่างเช่น แนะแนวทางการป้องกัน และกำจัดมลพิษ, ร่วมกิจกรรมตามประเพณีของชุมชน ฯลฯ

9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย

  • รวบรวมข้อมูลและเลือกสรรภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เหมาะสมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    ตัวอย่างเช่น เชิญบุคคลในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากร, นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการเรียนการสอน, นำศิษย์ไปศึกษาในแหล่งวิทยาการชุมชน ฯลฯ
  • เป็นผู้นำในการวางแผน และดำเนินการเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม
    ตัวอย่างเช่น ฝึกการละเล่นท้องถิ่นให้แก่ศิษย์, จัดตั้งชมรม สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น, จัดทำพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา ฯลฯ
  • สนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
    ตัวอย่างเช่น รณรงค์การใช้สินค้าพื้นเมือง, เผยแพร่การแสดงศิลปะพื้นบ้าน, ร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น ฯลฯ
  • ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    ตัวอย่างเช่น ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ตำนานและความเชื่อถือ, นำผลการศึกษาวิเคราะห์มาใช้ในการเรียนการสอน ฯลฯ




ที่มา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541

ข้อมูลเพิ่มเติเข้าไปดูได้ที่ : http://www.edu.chula.ac.th/knowledge/rule/rule2539.htm

 

วิดีโอนี้นานมาก ลองดูละกันครับ เสียงเรียบไปหน่อย แต่ครบครับ

คำสำคัญ (Tags): #ครู#จรรยาบรรณ
หมายเลขบันทึก: 489287เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท