๓๓๕.บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิต ของ มจร.ที่มีต่อการพัฒนาสังคม


 

               นายไมตรี  อินทุสุต  ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ได้บรรยายพิเศษ เรื่อง “บทบาทพุทธศาสตรบัณฑิต ของ มจร.ที่มีต่อการพัฒนาสังคม”  โดยอยากให้บัณฑิตที่ได้รับการฝีกอบรมทางด้านการศึกษาในเชิงพุทธจักร แล้วนำมาปรับใช้ในบริบทของอาณาจักร ทั้งนี้ อยากให้บัณฑิตของ มจร. เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงตามพันธกิจที่ ๒ ของจังหวัดพะเยา

     มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาได้ขับเคลื่อนงานด้านพระพุทธศาสนาให้กับสังคม โดยฉุดรั้งปัญหาในสังคมหลายเรื่อง ในที่นี้จะขอใช้คำว่านายบุญรั้ง ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วสังคมจะเตลิดไปมากกว่านี้หลายเท่า

                ผมอยากได้นักศึกษาอย่างท่านมาก ๆ เพราะถ้าได้เรียนทางพระพุทธศาสนามา ก็จะได้เกิดปัญญาทางธรรมขึ้น ไม่แน่ ผมอาจจะมาเรียนที่นี้ และอาจเป็นรุ่นน้องของท่านต่อไปในอนาคต

                ในปีนี้ เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ สังคมเร่งรีบ รวบรัด เร่าร้อน และเป็นสังคมแห่งการตรวจสอบสูง โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ พระคุณเจ้าอาจมีมือถือ แต่ต้องใช้มือถือให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ไม่ใช่เพื่อกลับมาทำร้าย ทำลายตนเองและสังคม

                ในปี ๒๕๕๘ นี้ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สังคมจะข้ามไปข้ามมา โดยปราศจากภาษี กลายเป็นหนึ่งประชาคม หนึ่งวิสัยทัศน์ และหนึ่งอัตลักษณ์ ดังนั้น สังคมจะเผชิญหน้ากันมากขึ้น อยากเป็นผู้นำ อยากมีที่ยืน บางคนก็มีรูปถ่ายลง internet สังคมกำลังเปลี่ยนแปลง ทุกคนกำลังเผชิญกับปัญหาในหลาย ๆ รูปแบบ แต่ทั้งหมดก็ต้องสง่างาม ดังนั้น ผมจึงขอเสนอ ๓ ประเด็น ดังนี้

     ประเด็นที่ ๑

     เพื่อไปดับความเร่าร้อนของโลก ที่มุ่นเร็ว นั้นก็คือ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน คือถึงพร้อมด้วยวิชชา (ความรู้) และจรณะ (ความประพฤติ) ทุกวันนี้อาจารย์พูดกับชาวบ้านทั่ว ๆ ไปไม่เข้าใจ พูดภาษาตนเอง ชาวบ้านก็พูดเฉพาะภาษาของตนเอง วันก่อนผู้ว่าฯ ไปแบกข้าวสารเพื่อไปส่งให้ชาวบ้าน ที่อำเภอแม่ใจ ขับรถอีแต๋นไป คือสื่อไม่เข้าใจว่าควรแค่ไหน? ไม่ควรแค่ไหน? หรืออีกกรณีหนึ่งเวลาไปแจกรางวัล การรับและการก้มรับ การยื่นมือ ฯลฯ (พิธีการรับ) ชาวบ้านไม่เข้าใจ

     สรรพวิชาทั้งหลาย ที่นำมาใช้กันของนักวิชาการ ทุกวันนี้มีปัญหาคือ “ผลัดกันเขียน-เวียนกันอ่าน-วานกันชม” นี้คือนักวิชาการ ไม่สามารถตอบสนองชาวบ้านได้ เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดพะเยา ทำงานซ้ำซ้อน ถ้าไม่มีการประสานงานกัน ก็จะไม่เป็นการส่งเสริมกัน ดังนั้น หน่วยงานภายในจังหวัดพะเยา ทุกวันนี้ผมให้บูรณาการกัน เช่น การศึกษานอกโรงเรียน ก็ให้มีการบูรณาการกันทั้ง ๕ ส่วน โดยให้ปลัดจังหวัดเป็นหัวหน้าทีม และมีเกษตรจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ฯลฯ ทำงานร่วมกัน

ประเด็นที่ ๒ เรื่อง ภูมิสังคม

                ภูมิสังคม คือ ภูมิศาสตร์ ภูมิบ้านภูมิเมือง คือแก่นของสังคม เช่น ประเพณีสงกรานต์ในจังหวัดทางภาคเหนือ ก็จัดกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หรืออย่างที่ผมอยู่จังหวัดตรัง เมื่อมีงานศพ ไม่มีการเชิญแขก แต่มีป้ายติดไว้ที่ถนน หรือตามร้านอาหาร ดังนั้น งานศพการกินเป็นเรื่องสำคัญ เวลาพระสวดก็มีคำแปลพร้อม การสวดของพระก็มีหลายๆ รอบ มีธุรกิจโต๊ะให้เช่าในงาน งานเผาศพเป็นงานเฉพาะญาติ แต่งานสวดพระอภิธรรมกลับเป็นงานสำคัญกว่างานเผา นี้คือภูมิสังคม บัณฑิตต้องรู้

     ภูมิสังคมบ้านเรา(พะเยา) วันนี้เป็นงานเทศกาลลิ้นจี่ของดีเมืองพะเยา (๑๑-๒๐ พค.๕๕) วันสุดท้าย ไม่มีการชุมนุม เพราะทีมงานเก่ง ผู้ว่าฯ ได้วางแผนไปเยี่ยมโดยใส่ข้อมูลทุกอย่างทางด้านการตลาดให้กับชาวบ้าน ท่านรู้ไหม? ลิ้นจี่ที่ออกในอำเภอแม่ใจ มี ๘๐% นอกนั้นเป็นลิ้นจี่ดอยซึ่งโดยมากก็เป็นลิ้นจี่มาจากอำเภอปง ดังนั้น ลิ้นจี่ที่อำเภอแม่ใจจะมีคุณภาพต่างจากลิ้นจี่อำเภอปง เพราะมีภูมิทางสังคมที่แตกต่างกันนั้นเอง

     ที่อำเภอภูซางมีถั่วลิสง ซึ่งพะเยาก็มีลำปางเป็นคู่แข่งกันในด้านการตลาด ที่จังหวัดทางภาคใต้ก็มีภูมิสังคมด้านยางพารา ส่วนภูมิสังคมของภาคอีสานก็คือข้าว หรือแม้กระทั้งพี่น้องชาวอิสลามที่อำเภอเมืองพะเยา มี ๕ ครอบครัว และที่อำเภอเชียงคำมี ๑๐ ครอบครัว บัณฑิตก็ต้องเข้าใจในภูมิสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ จะต้องรู้บริบทเพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ให้ถูกที่ถูกทาง(มีต่อ บันทึกที่ ๓๓๖)

หมายเลขบันทึก: 488945เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ท่านพระครูฯครับ เป็นภาพที่น่าประทับใจมาก มีความภาคภูมิใจที่มจร.จัดงานฉลองปริญญาให้พระพุทธศาสตรบัณฑิต พุทธศาสตรบัณฑิตส่วนคฤหัสถ์ และพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ผมตั้งใจว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการฉลองปริญญานี่แหละ แต่ว่าไม่รู้จะนำรูปที่ไหนมาลง แต่เห็นท่านนำมาลงตรงนี้ดีใจด้วย

เจริญพร ผศ.คนอง เห็นภาพบรรยากาศทีไร ชื่นใจทุกที ได้เห็นความสำเร็จของบรรดาลูกศิษย์ที่จบออกไป สร้างความภาคภูมิใจให้กับนิสิต และยังได้สร้างวิถีชีวิตให้กับสังคมมหาวิทยาลัยด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท