พาลลิเอทีฟแคร์ การดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยวิกฤติ


ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการรับสวัสดิการชุมชน เป็นการให้อย่างมีคุณค่าเป็นการรับอย่างมีศักดิ์ศรี ประคับประคองให้ผู้ป่วยวิกฤติไปสู่สุขาวดีตายอย่างมีความสุข

       ตามปฎิทินวันที่  20 พค.นี้ มีการประชุมกลุ่มโซน สวัสดิการชุมชน เพื่อเตรียมการทำ MOU บันทึกข้อตกลงกับ พมจ.(พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง) เพื่อรับการสนับสนุนสมทบจากรัฐบาลตามโครงการ   1 ต่อ 1 ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 3 ของการสนับสนุนจากรัฐบาลของกองทุนสวัสดิการชุมชนเทสบาลตำบลปากพะยูน ......

   

      .แต่ทางหัวหน้างานคุณภาพ  บอกว่า วันที่ 20 นี้ แม้จะหยุดราชการ แต่งานของศูนย์คุณภาพโรงพยาบาลไม่หยุด เพราะจะมีอาจารย์จาก"หน่วยชีวันตาภิบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  คณะแพทย์ จะมาเป็นพี่เลี้ยง   ตามโครงการเสริมสร้างความตระหนักด้าน Palliative care และพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 

       งานหลวงขาดไม่ได้ จึงมอบหมายงานราษฎร์ให้เลขากองทุนออมบุญสวัสดิการไปประชุมสวัสดิการแทน

 

         ทางหน่วยชีวันตาภิบาล คณะแพทย์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สนับสนุนทางด้านวิชาการ  ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแก่เครือข่ายในรอบนี้  มีโรงบาลที่โชคดีได้รับการสนับสนุน 9 โรงพยาล  ประกอบด้วยจังหวัดสตูล  4 โรง

 รพ.ช ท่าแพ

รพ.ชทุ่งหว้า

 รพ.ชควนกาหลง และ

รพ.ชละงู  

 

    จังหวัดพัทลุง  4 โรงมี

รพ.ชกงหรา

รพ.ชบางแก้ว

รพ.ชปากพะยูน

รพ.ชศรีบรรพต

 

      และจังหวัด นราธิวาส 1 โรงคือ รพ.ช ตากใบ

 

      >.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง พาลลิเอทีฟแคร์

ให้เป็นที่   แพร่หลายทั้งภายในและภายนอก  

    >. รณรงค์ให้บุคลากรในทีมสุขภาพ        

ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงาน ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  

    >. สร้างแกนนำผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  ให้มีความเข้มแข็งทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลและเครือข่ายการดูแล  

    >.  สนับสนุนให้เกิดการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลเครือข่ายบริการดูแลผู้ป่วย  9  แห่งเพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งต่อ  

       >. ส่งต่อการเรียนรู้ร่วมกันและพัฒนาความก้าวหน้าด้านการดูแลผู้ป่วย  โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 

ตามหมายหมายกำหนดการที่ได้รับให้ศึกษาก่อนเข้าประชุม ช่วงเช้าจะคุยกันเรื่อง

"การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้าย และบทบาทในการดูแลแบบประคับประคอง  ต่อด้วยการดูแลอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน  และบทบาทชุมชนในการดูแลแบบประคับประคอง

 

    ส่วนวันที่  2  หรือครั้งที่ 2*  ชี้แจงเรื่อง  Cop - Palliativc   แล้วก็กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่องเล่าของโรงพยาบาล   ตามด้วยแนวทางการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในบริบท โรงพยาบาลเครือข่าย

 

     ถือว่าสำเร็จเสร็จสิ้นกระบวนการสนับสนุนทางวิชาการของหน่วย"ชีวันตาภิบาล  ซึ่งนำทีมพี่เลี้ยง โดยพี่ ฟ่ง คุณกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ และคุณ สุนี    นิยมเดชา นามนิคเนม "นกเป็ดน้ำ ในGotoKnow" แห่งชมรมจันทร์เสี้ยว

 

    วิทยากร พี่ฟ่ง ผู้เขียนได้ฟังเรื่องเล่าการดูแลแบบประคับประคองน้อง อ๋องผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เวที อิ๊กไนท์หาดใหญ่(พลังบวก)มาแล้ว วันนั้นฟังไปกลั้นสะอื้นไป  

 

   ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน  ผู้เขียนคิดว่ากองทุนสุขภาพตำบล   จับมือกับกองทุนสวัสดิการตำบลจัดการให้คนอาสาในชุมชนให้มีเครื่องมือการดูแลได้เป็นอย่างดี มีทีมพี่เลี้ยงสนับสนุนวิชาการงานนี้ หากทำสำเร็จ ตอบโจทย์คำว่าเมืองลุงน่าอยูได้เป็นอย่างดี

"ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการรับสวัสดิการชุมชน

เป็นการให้อย่างมีคุณค่า

เป็นการรับอย่างมีศักดิศรี

 

    ประคับประคองให้ผู้ป่วยวิกฤติไปสุขาวดี  คนตาย  ตายอย่างมีสุข

คนดูแลมีความสุขที่ได้ดูแลก่อนตาย

ชุมชนก็สบายใจจ่ายสวัสดิการก่อนตายให้ผู้ป่วย

พี่เลี้ยง พยาบาลหมอทีมสนับสนุนได้รับรางวัลทุนความดีที่นำการรักษาพยาบาลรับใช้ชุมชน  สุขภาวะชุมชนใช่เป็นเพียงวาทกรรมหากนำมาช่วยสร้างช่วยกันทำ นำมาซึ่งสุขส่วนรวม

หมายเลขบันทึก: 488449เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีใจที่วงการ พาลลิเอทีฟแคร์ ได้คนเก่งคนดีมาช่วยอีกมากมายค่ะ :)

เรียนอาจารย์ คุณหมอ ป.

ได้ฟังเรื่อง พาลลิเอทีฟแคร์ มาจากท่านอาจารย์หมอ สกล สิงหะ และอาจารย์หมอเต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี ผ่านบันทึก

แต่ไม่ได้ลงลึกศึกษาเพราะเห็นว่าทำประเด็นอื่นๆในเรื่องสุขภาพอยู่

เมื่อต้องมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับน้องๆในรพ. ก็ต้องสืบเสาะหาข้อมูล จากท่าน กู จึงได้รู้ข้อมูลมาคุยเล่าให้ฟังกัน

ว่าฮอสพิช กับพาลลิเอทีฟแคร์ที่แท้สายพันธ์เดียวกัน

ทั้งอโรคยาศาลวัดคำประมง กับวัดพระบาทน้ำพุ คือชุมชนดูแลผู้ป่วย

งานนี้หากทำตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายคงยากที่ไปถึง หากขาดใจอาสาสั่งมาให้ทำ

ในส่วนของการสร้างเครือ สร้างใจคนทำงาน และชุมจัดการต้องอาศัยหลายภาคส่วน

ดังนั้นในวันอาทิตย์ ที่คนราชการต้องมาประชุมในวันหยุดตามรายชื่อ จะเป็นการประเมินกำลังเครือข่ายในเบื้องต้น

 

ขอชื่นชม  ท่าน วอญ่า-ผู้เฒ่า  คนดีของสังคมค่ะ

ขอบคุณครูทิพย์ ที่มาให้กำลังใจผู้เฒ่า ทำดี ทำเพิ่ม ทำเผื่อ เพื่อสังคม น่าอยู่ครับครู

เรื่อง Palliative care .. ที่สูงเนินยังทำได้ไม่เวิร์คเท่าไรค่ะ ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน.. ระบบยังไม่นิ่ง..

ส่วนใหญ่จะทำได้-ทำเป็น เฉพาะคนที่ไปอบรมมาค่ะ.. ต้องพัฒนา Competency ทีมงานเรื่องนี้อีกเยอะ เพราะอยู่ที่จิตใจล้วนๆ ต้องใช้เทคนิคและ ทักษะอย่างมาก


 

ที่มโนรมย์ เริ่มทำที่แผนกผู้ป่วยในมา 1 ปี กว่าๆ และประสานศูนย์เยี่ยมบ้าน ร.พ.สต. เครือข่าย ซึ่งถือว่าดีระดับหนึ่ง แต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและยากมาก จึงได้ อบรมสหสาขา 100% รวมทั้ง ER ด้วย เนื่องจากเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการวิกฤต ญาติบางส่วนจะนำผู้ป่วยมา ER ทำให้ ER มีส่สนในการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายด้วยเช่นกัน

เรียนคุณ ระพี...วันนี้ไปต่อยอดPalliative care เด็กที่ รพ.มอ. มีอาจารย์หมอสกล มาให้ความรู้

และมีการเล่าเรื่องจาก รพ.ต่างๆใ้เรียนรู้กัน

เรียนคุณ มโนรมย์  ที่ปากพะยูนก็เคลื่อนงานแบบค่อยเป็นค่อยไป ยังสร้างเครือข่ายกันต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท