"หยองเองจนรู้" อีกหนึ่งกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร


"หยองจนรู้" อีกหนึ่งกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดนครพนม

 

 

สามปีแล้วที่เฝ้าดู "กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดนครพนม" จากการออกสนาม 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบการปรับเปลี่ยนของเกษตรกรหลายอย่าง หนึ่งประเด็นการเรียนรู้และการปรับตัวหนึ่งของเกษตรกรที่น่าสนใจคือ การเรียนรู้เรื่องการขยายพันธุ์ยางพาราเพื่อจำหน่าย เนื่องจากมีช่วงหนึ่งที่รัฐาบาลมีการส่งเสริมยางพารา 8 แสนไร่ การส่งเสริมนั้นนำมาซึ่งการขาดแคลนกล้ายาง รวมถึงความสนใจของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรอื่นๆ ไปเป็นพื้นที่ปลูกยางพารามีมาก ซึ่งแต่ก่อนเกษตรกรในอีสานส่วนหนึ่งที่ปลูกสร้างสวนยางเอง ด้วยทุนตนเองต้องอาศัยการสั่งซื้อกล้ายางจากภาคใต้ ทำให้กล้ายางขาดแคลนมาก ในช่วงที่กล้ายางเป็นที่ต้องการสูง กล้ายางที่มีอายุได้ สภาพต้นกล้าดี พร้อมปลูก จะมีราคาสูงถึงกล้าละ 80 บาท  ปัจจุบันกล้สยางมีราคาอยู่ที่ 35-50 บาท ขึ้นอยู่กับอายุ และขนาด 

การออกสนามครั้งนี้ พบว่า เกษตรกรหลายๆ ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลหนองซน อ.นาทม ได้ลงทุนทำกล้ายาง ติดตา ชำกิ่งไว้เพื่อจำหน่ายเอง กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดในการทำกล้ายาง เกษตรกรใช้คำว่า "หยองเองจนรู้" ซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ เป็นวิถีปกติของเกษตรกรโดยทั่วไปในอีสาน  แต่อะไรล่ะคือปัจจัยผลักดันให้เกษตรกรวิ่งเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้นี้รวมถึงการกล้าตัดสินใจลงทุนในเรื่องที่ใหม่มากสำหรับเกษตรกรภาคอีสาน อีกหนึ่งประเด็นที่ตั้งคำถามให้กับตัวเอง กล้ายางที่เพาะไว้มีมากพอสมควร แต่การบุกเบิกพื้นที่ปลูกใหม่แทบไม่เกิดขึ้น หรือไม่มีพื้นที่ปลูกแล้ว แล้วกล้ายางเหล่านี้ถูกนำไปปลูกที่ไหน??? เพราะถามคนขาย คนขายก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน

หมายเลขบันทึก: 487713เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาคใต้ก็ หยองแบบนี้มาเหมือนกัน จนชำนาญการพิเศษสุดๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท