แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่ค่ายนักเรียน


ทำค่ายนักเรียนจากความรู้แบบครูพีกลักจำ

     ผมเองไม่มีความถนัดและความชำนาญในการทำค่ายนักเรียนเลยครับ  แต่วันหนึ่ง "น้องแหม่ม" ในที่ทำงาน มาบอกว่า  จะทำค่ายเด็ก ช่วยเป็นวิทยากรให้หน่อย   ผมก็ตอบตกลงทันที  ทั้งๆที่ยังไม่รู้เลยว่าจะทำอะไรแบบไหน


     ผมก็กลับมานั่งทบทวนดู  แบบ "ครูพักลักจำ"  ว่าวิทยากรค่ายที่เคยประทับใจ มีใคร  และ เขาทำกิจกรรมแบบไหน   ก็ค่อยๆ ทบทวนไปทีละคนสองคน  รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ  ที่เคยไปร่วมประชุมสัมมนาในหลายๆ ครั้ง


     ก็พอนึกรูปแบบมาได้บ้าง  แต่ทีมวิทยากร  จะเป็นใครนัก  ก็ต้องค่อยๆ หาไป    เพราะผมจะเน้นกิจกรรมค่ายแบบ Active learning  จะเชิญคุณครูมาเป็นวิทยากร  คุณครูก็จะติดรูปแบบ  Passice learning อยู่   ก็เลยชวนเพื่อนคนหนึ่ง  ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย  ลองชวนให้มาทำกิจกรรมค่ายเด็กดู   เพื่อนรับปากก็โอเค

    กลับไปก็ไปเตรียมเนื้อหาเตรียมกิจกรรมเอาไว้มากมาย  โดยกะว่าผมกับเพื่อนผม  จะเป็นวิทยากรหลัก   พอไปถีงสถานที่  ไปพบกับเด็กที่จะมาทำกิจกรรม ก็ต้องปรับแผน เปลี่ยนกิจกรรมใหม่หมดครับ   เพราะเด็กที่มาเข้าค่าย เป็นเด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก ครอบครัวยากจน  และ ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่  ก็เลยมาบอกกับเพื่อนว่า  คงต้องปรับกิจกรรม  ไม่ต้องเน้นวิชาการมาก   เน้นการพูดคุยสนทนา ให้เด็กได้พูด ได้แสดงออก  เราก็มีหน้าที่ฟัง และ คอยสอดแทรก  เพื่อนผมก็โอเค


    วิืทยากรหลัก ตอนแรกจะเชิญคุณครูที่มา มาเป็นวิทยากรด้วย  แต่คุณครูติดภารกิจ ก็เลยได้น้องปีสี่  กำลังเรียนอยู่  มาร่วมเป็นวิืทยากร   ก็โอเคครับ   ไม่ต้องใช้เวทีบรรยายอะไร  นั่งล้อมวงคุยกันอย่างเดียว

   จากการคุยกันในวงใหญ่  เพื่อนผมบอกว่า  ต้องปรับเป็นวงเล็ก  เพราะวงใหญ่เด็กจะไม่ค่อยกล้าพูด

    ผมก็เล่นเกมละลายพฤติกรรม สองเกม  ให้เกิดความเป็นกันเอง  และ  ผ่อนคลาย  หลังจากนั้นก็ให้เข้ากลุ่มย่อยสามกลุ่ม

   พูดคุยกันแบบไม่เป็นทางการ คุยเรื่องสบายๆ  เรื่องชีวิตของตัวเอง เรื่องราวรอบตัว

   เพื่อนผมที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มานั่งพูดคุยกับเด็ก   เพื่อนผมประทับใจครับ  ที่ได้มาฟังเด็กและเด็กเล่าปัญหาชีวิตให้ฟัง  จากเด็กที่มีท่าทีต่อต้าน  สักพัก ก็อ่อนลงมา สงบ เรียบร้อย

    น้องนักศึกษาก็พูดคุยกับเด็กอย่างสนุกสนาน

    ฝึุกให้ทำงานกลุ่มย่อย

    ฝึกนำเสนอผลงาน

   สิ่งที่เด็กได้จากการเข้าค่าย

    ผมเอง ก็ประเมินกิจกรรมอยู่ตลอดครับ จากเพื่อนและจากน้องนักศึกษา  ปรับเปลี่ยนกิจกรรมตลอกเวลา  ตามสถานการณ์  ที่ประทับใจ คือ เด็กเขากล้าพูด กล้าแสดงออก และ กล้าเล่าปัญหาชีวิตให้ฟัง อย่างเปิดใจ  เด็กลางคนจากนั่งนิ่ง ก้มหน้า  พอเขาได้พูดและมีคนรับฟังเขา  เขาจะเริ่มมีความกล้า  และ  กล้าออกมาพูด

   สิ่งที่วิทยากรได้จากการเข้าค่าย

    ๑. เพื่อนผมบอก "คุ้ม" มากๆ ครับ ที่ได้มาเข้าค่ายแบบนี้ ได้พัฒนาตัวเองมากๆ 

    ๒. ผมเอง ก็ได้ความรู้ในการทำค่ายไปจากเด็กละครับ เด็กจะเป็นตัวสะท้อนเอง ว่าแต่ละกิจกรรม Work หรือ ไม่ work

     ความสำเร็จในกิจกรรม  ผมว่าเกิดจากตรงนี้ครับ

      ๑.  กิจกรรมไม่เน้นวิชาการ  ไม่เน้นกิจกรรมที่มาจากครู    แต่จะเน้นกิจกรรมตามความพร้อม ตามความสนใจของผู้เรียน

     ๒.   จะเน้นบรรยากาศที่ปลอดภัย และ บรรยากาศแห่งความไว้วางใจ  ไม่ตำหนิ ไม่จับผิด   เสริมแรงอยู่ตลอดด้วยการชื่นชม

     ๓.  วิทยากร จะเน้นความเท่าเทียม  เป็นกันเอง 

      จากความสำเร็จตรงนี้   ก็จะนำไปใช้ในการทำค่ายสภานักเรียน และ  ค่ายสิทธิเด็ก  อีก ๒ ค่าย  ซึ่งรับปากน้องแหม่มไว้แล้ว   โดยใช้ทีมวิทยากรชุดเดิม

     ข้อสังเกต

      ใจจริง ผมจะเชิญทั้งครูและผู้บริหารที่มาด้วย  เชิญให้มาเป็นวิทยากรประจำกลุ่ม   แต่มีภารกิจกันหมด

       มีคุณรูเหลืออยู่ ๑ ท่าน  ผมให้เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม  ทราบมาว่าคุณครูท่านนี้  เป็นคนพูดหมดเลย  เด็กไม่ได้พูดอะไรเลย  ทั้งๆ ที่ผมก็บอกไปก่อนแล้วว่า  "ครูพูดให้น้อย ให้เด็กพูดให้มาก"

   

หมายเลขบันทึก: 487125เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาให้กำลังใจ
  • ผมเชื่อว่าท่านรองฯทำได้แน่นอน
  • แต่กลายเป็นว่า ท่านรองฯ กลายเป็นวิทยากรงานน้องแหม่มที่เคยเป็นลูกน้องท่านรองฯ
  • ปกติเด็กจะกล้าพูดถ้าอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
  • แต่เจอคุณครูแบบนี้ก็แย่ครับ
  •   มีคุณรูเหลืออยู่ ๑ ท่าน  ผมให้เป็นวิทยากรประจำกลุ่ม  ทราบมาว่าคุณครูท่านนี้  เป็นคนพูดหมดเลย 

    เอาทุเรียนทองผาภูมิมาฝากครับ


- เรียนได้ว่า... "ผู้เรียนเป็น...ศูนย์กลาง"  จริงๆๆค่ะ

- บรรยากาศ  ที่...  "เป็นมิตร" 

- สิ่งแวดล้อม  เอื้ออำนวย  "ต่อการเรียนรู้"


หมอเปิ้นคิดว่า....เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่..... การเรียนรู้ที่มีทั้งประสิทธิผล และประสิทธิภาพ  นะค่ะ


- ขอบคุณค่ะ ที่แ่บ่งปัน สิ่งดีๆ..ให้...ชาวGoToKnow

ฝากทักทายเพื่อนท่านรองฯด้วยครับ...

ขอบคุณมากครับ อ.ขจิต

    หัวใจสำคัญอยู่ที่ตรงนี้นะครับ "เด็กจะกล้าพูดเมื่ิออยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย"

    เทคนิคการจัดค่ายต่างๆ ผมก็ได้มาจาก อ.ขจิต ละครับ ได้มามากมาย

     เขียนตกไปหน่ิอยครับ คำว่า "คุณครู"  กลายเป็น "คุณรู"

     "ทุเรียนทองผาภูมิ"  เพิ่งเคยได้ยิน  ขอบคุณครับที่นำฝาก ต้องหาโอกาสลองชิมดูหน่อยครับ

     สำหรับเพื่อนผม  เอาไว้จะฝากไปบอกครับ

อ.Somsri ครับ 

    ขอบคุณมากครับที่เข้ามาให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท