เพิ่มพื้นที่นาข้าว สร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการทำให้ "ชาวนา" รวย


"คนพัทลุง" สร้างกระแสปลูกข้าวกิน แม้ปลูกยางปลูกปาล์มจะรวย แต่ต้มกินไม่ได้้

อาชีพ "ชาวนา" กับคำว่า "รวย" ช่างดูเป็นคำที่ไม่สามารถนำมาอยู่ในประโยคเดียวกันได้ แต่ชาวนากลุ่มหนึ่งได้พยายามยกระดับรายได้ด้วยคำว่า "อินทรีย์" จนทำให้คำว่า "รวย" ไม่ยากอย่างที่คิด

หลังจากร้อนจนอึดอัดอยู่ในบางกอกนานเกือบเดือน ทริปนี้หลินปิงมุ่งหน้าลงใต้ ตามคำชวนของพี่เสนี ผู้ติดตามชุดโครงการชุมชนน่าอยู่ สสส. ประจำจังหวัดพัทลุง แบบไม่ต้องคิดนาน เพื่อไปร่วมงานที่มีชื่อสุดเท่ห์ว่า "สืบโยด สาวย่าน ข้าวเมืองลุง" งานรณรงค์บริโภคข้าวพื้นเมือง ที่บ้านควนกุฏ อ.เมือง จ.พัทลุง 

แม้จะงงๆ อยู่บ้างกับชื่องาน แต่ก็เข้าใจว่าเนื้อหางานน่าจะเกี่ยวกับการปลูกข้าวของชาวนาพัทลุง และในใจก็อยากจะไปดูประเพณี "ทำขวัญข้าว" แบบดั้งเดิมของคนใต้ ที่ พี่เสนี การันตีว่าเป็นแบบดั้งเดิมจริงๆ

บรรยากาศงานใหญ่กว่าที่คิด พิธีเปิดเริ่มขึ้นตั้งแต่เช้า คือ 9 โมง ด้วยความตั้งใจระดับหลินปิง เราก็ไปถึงเกือบตอนเที่ยง เหมือนจะรู้ว่าภาคเช้าเป็นพิธีสงฆ์ (หากอยู่ก็คงจะร้อนกว่าอากาศเมษาในกรุงเทพฯ ที่หนีมา) แต่แอบประทับใจที่พี่เสนี ประกาศชื่อต้อนรับกันออกไมค์ ก็แหมเพิ่งงานนี้แหละ "หลินปิง" ดูจะมีตัวตนกะเค้าจริงๆ

งานใหญ่ไม่ใหญ่ก็มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงมาเปิดก็แล้วกัน พิธีเปิดเริ่มอย่างเป็นทางการตอนเที่ยงร้อนเปรี้ยง แต่เค้ารำวงเปิดงานกลางลานข้าวเจ้าค่ะ กว่า 15 นาที ที่ชาวบ้านและผู้ร่วมงานร่วมรำกันอย่างมีความสุข เหมือนรำวงกันตอนเย็นย่ำ ช่างไม่รู้ร้อนรูหนาวกันซะบ้างเลย

รองผู้ว่าฯ จ.พัทลุง กล่าวเปิดอย่างน่าประทับใจในฐานะที่ท่านก็เป็นลูกชาวนาว่า

" พัทลุงเป็นแหล่งผลิตอาหารหลากหลาย เป็นแหล่งข้าวที่สำคัญของภาคใต้ ชาวนาพัทลุงสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชน เป็นผู้เสียสละ ให้ประเทศและโลก  ขอขอบคุณที่รักษาพื้นนาไว้ให้คนรุ่นหลังได้สืบทอด เป็นมรดก จังหวัดพัทลุงมีพันธุ์ข้าวดั้งเดิมกว่า 400 สายพันธุ์ อย่างสังข์หยด ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ จึงควรสนับสนุนและรณรงค์ให้เกิดการพึ่งพาและดำรงวิถีชีวิตได้อย่างยั่งยืน ให้มุ่งมั่นและรักษามรดกวิถีชีวิตชาวนาให้สมบูรณ์"

บรรยากาศในงานจะมีภาคีนำกิจกรรมและพืชผลของตนเองมาแสดง แน่นอนว่ามีข้าวพันธุ์พื้นเมือง และข้าวปลอดสารมากมาย มีหลายซุ้มที่จัดแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง นำรวงข้าวมาให้ดูกันตัวเป็นๆ

ที่เก๋ที่สุดก็คือ กองข้าว (ไม่แน่ใจว่าเรียกแบบนี้หรือเปล่า) เหมือนกับที่ปักกองฟาง แต่อันนี้เอารวงข้าวนานาพันธุ์มารวมกัน แต่หลินปิงดูแล้วก็ไม่เห็นความต่างของรวงข้าวในแต่ละพันธุ์มากนัก ซึ่งถ้าดูกันจริงๆ เค้าจะบอกว่าเมล็ดสั้น เมล็ดยาว สีเหลืองเข้ม อ่อนอะไรประมาณเนี๊ยะ

ความรู้เรื่องข้าวใหม่ๆ จากงาน ก็มีอย่างเช่น

ข้าวนก ของคนพัทลุง มีจมูกข้าวใหญ่ แป้งน้อย เป็นข้าวบำรุงสุขภาพ มีประโยชน์ทางโภชนการสูงมาก แต่หากไปแปรรูปหรือหุงกินจะแข็งมาก ต้องเอามาต้มกินน้ำข้าว 

ชาวนากลุ่มนี้เค้าคิดไปว่า จะเอาข้าวนก ที่ไร้ประโยชน์ คนไม่กิน ทิ้งไว้ให้นกกินนี้ มาทำเป็นยาเลยทีเดียว 

เดินดูงานไปรอบๆ หลินปิงไปเม้าท์กับพี่เอกชัย อิสระทะ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกสงขลา ก็ได้ความรู้ใหม่คือ

"จมูกข้าว มีประโยชน์มากที่สุด"

"ข้าวมีสีจะดีกว่าข้าวขาว"

วลีสำคัญ ก็คือ

"ยางกะปาล์มต้มกินไม่ได้ มีข้าวต้องรักษา ให้อยู่กันได้

โซนใต้ ต้องมียาง มีนาข้าว ให้ยางเป็น ATM ส่วนนาข้าวก็ให้เป็นอาหาร"

ในขณะที่ยางและปาล์มเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ทุกคนอยากปลูก แม้ว่าสภาพพื้นที่จะไม่ค่อยอำนวยอย่างในแถบอีสานและภาคเหนือ จนถึงกับเผาป่าให้หมอกควันคลุมไปทั่วเมืองเพื่อเอาที่ไปปลูกยางกันเลยทีเดียว ส่วนสำคัญที่คนพัทลุง อยากอนุรักษ์ข้าวไว้ ก็เพราะอยากให้คนพัทลุงมีข้าวกิน ด้วยต่อไปถ้าทุกคนปลูกแต่พืชเศรษฐกิจ ก็จะไม่มีข้าวให้คนได้กินกัน ในวันนั้น คนปลูกข้าวก็จะเป็นเศรษฐีกันทุกคน

คนปลูกข้าวก็รวยได้

ข้าวอินทรีย์เกวียนละ 70,000 บาท ส่งออกขายให้ต่างประเทศ มีตลาดสำคัญคือทางยุโรป คนพัทลุงสามารถปลูกข้าวได้ถึง 2 รอบต่อปี ทั้งนาปี และนาปรัง ชาวนาผู้ร่วมงานกำลังบอกเล่าด้วยความภูมิใจ แต่ดันทิ้งท้ายว่า ไม่รวยแล้วจะเรียกว่าอะไร ยกเว้นว่าน้ำไม่ท่วมนะ (ดับฝันกันซะงั้น) แต่ชาวนาจะเป็นอาชีพที่เหนื่อยมากจึงต้องใช้ความเสียสละอย่างสูงในการที่จะปลูกข้าวให้เรากิน และต้องเผชิญกับความท้าทายที่จะเลิกไปปลูกยางและปาล์มที่มีรายได้สูงกว่ามาก เมื่อเทียบกับปลูกข้าว กข. ขายโรงสี

555 พลาดไม่ได้กะช็อปปิ้ง ข้างสังข์หยด นางเอกของข้าวพัทลุง หลินปิงได้ยินเสียงล่ำลือมานาน เลยซื้อกลับบ้านซะ 13 โล เสียตังค์ได้ก็สบายใจ จิ๊ดส์นึง

งานนี้มีภาคีเครือข่ายของ สสส.ที่รับทุนชุมชนน่าอยู่มาร่วมถึง  7 แห่ง ด้วยกัน ไม่นับว่าพื้นที่่จัดงานเป็นโครงการที่ได้รับทุนชุมชนน่าอยู่ สสส. อยู่แล้ว แต่เป็นโครงการ "ขยะ" งงมั๊ยล่ะ พี่น้อง เกี่ยวอะไรกับ "ข้าว" โปรดติดตามต่อไปนะคะ

กับบทสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านควรกุฏ อ.เมือง จ.พัทลุง

 

 นาข้าวพัทลุง ที่ปลูกถั่วเขียวคั้นระหว่างนาปีกับนาปรัง

 


หมายเลขบันทึก: 486812เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พยาบาม้เขียนจาก tablet ปรากฏว่าวรรณยุกต์ ไม่ขึ้น จะรีบใส่ข้อความให้ค่ะ

up เนื้อหาพร้อมรูปภาพแล้ว เชิญอ่านได้ค่ะ

เรียนคนสร้างสุข งานนี้จะขึ้นเสวนาตอนบ่ายด้วย แต่ติดเวที การเตรีมเกษตรกรสู่อาเซี่ยนที่เขาค้อกับกลุ่มเกษตรกร 76 จังหวัด

วันนี้เข้าประชุมเมืองลุงน่าอยู่ กับทีมสำเริงที่รพสต นาท่องแล้วจะนำประเด็นมาแลกเปลี่ยนครับท่าน

นำมาตราตวงข้าวสารมาเรียนรู้

(*ป้อย เครืองมือตวงของไทย มีหน่วยตวงดังนี้ มาตราชั่งตวงวัดโบราณ...ถ้าจำไม่ผิดมีดังนี้

๘ กำมือ เท่ากับ ๑ จังออน (ป้อย...บ้านเรา)

๒ ป้อย เท่ากับ ๑ แล่ง

๒ แล่ง เท่ากับ ๑ ทะนาน(ลิตร)

๔ ทะนาน เท่ากับ ๑ กันตัง

๕ กันตัง เท่ากับ ๑ ถัง

๕๐ ถัง เท่ากับ ๑ บั้น

๒ บั้น เท่ากับ ๑ เกวียน

สมัยแต่แรกข้าวสารกันตังละ ๕ บาท ถังหนึ่งก็ ๒๕ บาท)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท