กะทิและน้ำมันมะพร้าว


ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา

 

  

 

 กะทิ และน้ำมันมะพร้าว

 

 

  หนึ่งในไขมันอิ่มตัวที่ถูกกล่าวหาและถูกตัดสินไปแล้วว่า เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น อันนำไปสู่การเป็นโรคไขมันอุดตัน ในเส้นเลือด และโรคหัวใจวาย แต่ดูเหมือนว่า ทฤษฎีและความเชื่อนี้ จะไม่ค่อย ตรงกับสภาพความเป็นจริงของคนในพื้นถิ่นเอเชีย ชาวเกาะแปซิฟิก แอฟริกา  และอเมริกากลาง ที่ใช้มะพร้าวเป็นแหล่งของพลังงานและประกอบอาหาร มาช้า นาน  โดยไม่ปรากฏอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

 

    จากรายงานขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2521 ประเทศศรีลังกา เป็นประเทศที่บริโภคมะพร้าวทั้งในรูปแบบกะทิ หรือน้ำมันมะพร้าวมากที่สุด ประเทศหนึ่ง มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพียง 1 ในแสน ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ซึ่งไม่บริโภคน้ำมันมะพร้าว หรือบริโภคเพียงเล็กน้อย มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวระหว่าง 18 – 187 ในแสน

 

      แต่ด้วยแรงโฆษณาชวนเชื่อ ของธุรกิจการค้าถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกา บวกกับสถานะความรู้ที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ในการควบคุมโรคหลอดเลือดหัวใจ โน้มนำชาวอเมริกา และคนทั้งโลกให้คิดว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันไม่ดี เพราะ มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง  ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสียงต่อการเป็นโรคหลอด เลือดหัวใจอุดตัน

 

         ปัจจุบันคนไทยจำนวนไม่น้อย พลอยกลัวมะพร้าวไปด้วย ไม่กล้ากินกะทิ แทบไม่รู้จักน้ำมันมะพร้าว ลืมเลือนไปแล้วเสียว่า มะพร้าว คือต้นไม้แห่งชีวิต (Tree of Life) ที่เลี้ยงดูคนไทยมาอย่างยาวนาน และเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งว่า คนจำนวนมาก กลับไม่เคยรู้เลยว่า จริง ๆ แล้ว "มะพร้าวเป็นสุดยอดอาหาร"

 

        หลายท่านเข้าใจว่า การบริโภคกะทิหรือน้ำมันมะพร้าว เป็นสาเหตุทำให้ คอเลสเตอรอลสูงขึ้น จนมีทฤษฎีว่ากรดไขมันอิ่มตัว ทำให้คอเลสเตอรอลใน เลือดสูงนั้น จากการวิจัยในระยะหลัง ทั้งในต่างประเทศหลายงานวิจัย ได้พบว่า น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดลอริค (lauric acid, C-12)  48-54% กรดคาปริค (capric acid, C-10) 7% กรดคาปริลิค (caprylic acid, C-8) 8% และกรดคาโปรอิค (caproic acid, C-6) 0.5%  ซึ่งทั้งหมด เป็นกรดไขมันห่วงโซ่ยาวปานกลาง (medium chain fatty acid - MCFA) มีโครงสร้างทางเคมี ที่แตกต่างจากกรด ไขมันที่เป็นกรดไขมันสายยาวเหมือนความแตกต่างระหว่างดำกับขาว

 

       กล่าวคือ กรดไขมันห่วงโซ่ยาวปานกลาง แตกตัวและถูกย่อยได้ง่ายกว่ากรดไขมันสายยาว ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำดีจากตับอ่อนมาช่วยย่อยไขมัน จึงเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ หมด ไม่เกิดการสะสมเป็นไขมันในหลอดเลือด หรือส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมกินกะทิแล้วไม่อ้วน จนขนาดบางประเทศมีการศึกษา พบว่าน้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลเลว (LDL) และเพิ่มคอเลส- เตอรอลดี (HDL) ซึ่งดีกับสุขภาพหัวใจอีกด้วย 

 

         นอกจากนั้น กรดลอริค (lauric acid) นี้  เป็นชนิดเดียวกันกับที่พบในน้ำนม แม่ เมื่อสู่ร่างกายจะแตกตัวออกเป็นโมโนลอริน (monolaurin)  ซึ่งมีคุณสมบัติ ในการฆ่าเชื้อโรค ที่เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ และโปรโตซัว   ช่วยเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกัน และต้านเชื้อไวรัส  ถึงกับมีงานวิจัยที่ทำในประเทศฟิลิปปินส์ ที่ใช้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์กิน ปรากฎว่า ช่วยทำให้ผู้ป่วยมี ภูมิคุ้มกันดีขึ้น   

  

         นอกจากนั้น น้ำมันมะพร้าวพรหมจรรย์ (virgin coconut oil) ที่ผลิตโดยกระบวนการที่ไม่ผ่านความร้อนสูง และสารเคมี ยังมีวิตาอี ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ได้จากแครอต มะเขือเทศ ฯลฯ วิตาอี ทำหน้าที่เป็นตัวทำลายอนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดความเสื่อมของร่างกาย เช่นการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ (อันนำไปสู่การเหี่ยวย่นของผิวหนัง และการแก่ก่อนวัย) การกลายพันธุ์ของเซลล์ (อันนำไปสู่การเกิดมะเร็ง) และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย

 

          ความตั้งใจของผู้เขียน ที่เรียบเรียงเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพื่อบอกพวกเราคนไทย ว่าไม่ต้องให้พวกฝรั่ง มาบอกว่ากินอะไรดี-ไม่ดี เพราะผู้เขียนเชื่อว่า คนไทยมีภูมิ ปัญญาไม่ด้อยไปกว่าฝรั่งอย่างแน่นอน และที่มากไปกว่านั้นอยากให้คนไทยภูมิใจ ที่มะพร้าวเป็นหนึ่งในภูมิปัญญา ในการดำรงเอกลักษณ์ความเป็นที่หนึ่งของรส ชาติอาหารไทย อย่างที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ สุดท้าย ความเข้าใจที่ถูกต้องนี้ สามารถทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว ไม่ต้องโค่นมะพร้าว - ต้นไม้แห่ง ชีวิต (Tree of Life) เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นแทน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมปฏิบัติอยู่ในเวลานี้ จนทำให้พื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลงเหลือเพียง 1.4 ล้านไร่ จากที่เคยมีถึง 2.6 ล้านไร่ เมื่อ 20 ปีก่อน

 

      อีกทั้งยังไม่ต้องนำเข้าน้ำมันถั่วเหลือง เพื่อมาฆ่าคนไทยอย่างผ่อนส่ง ที่ประเทศไทยของเรา ต้องเสียเงินปีละไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาทในการนำเข้าน้ำมันถั่วเหลือง (รวมผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง) และน้ำมันไม่อิ่มตัวอื่น ๆ และยังต้องเสียค่าเงินรักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวเป็นเงินมหาศาล แต่ก็ไม่เท่ากับค่าของชีวิตของคน ที่ต้องเสียไปจากการถูกแพทย์หลอกให้บริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว

 

 ขอบคุณ บทความโดย  ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา

ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย

 

     ต้นมะพร้าว ทั้ง 7 ต้นในภาพนี้ ก็โดนตัดทิ้งตายหมดแล้วเช่นกัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 481082เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2012 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อยากกินขี้มัน.....ที่เกิดจากการเคี้ยวน้ำมันมะพร้าว

พี่ใหญ่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของผลิตภัณท์มะพร้าวค่ะ

สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะ ดอกไม้และกำลังใจ

            ที่มอบให้ บันทึก กะทิกับน้ำมันมะพร้าว

 

สวัสดีค่ะ  Ico48   Ico48    Ico48

 

คุณวอญ่า Ico48

ขึ้มันผสมเมล็ดลำไยไปฝากแล้วน่าอร่อยไหมค่ะ เมื่องานประชุมวิชาการที่ผ่านมาน้องๆจากชุมพร อธิบายถึงขนมหน้าขี้มันให้ทราบแล้ว อยากจะชิมมากๆ แต่จะลองซื้อขนมอื่นที่คล้ายๆมาแล้วนำขึ้มัน กินไปด้วยกันก็น่าจะได้นะคะ

 

น้องหนูรี  Ico48

ขอบคุณเช่นกันค่ะ คิดถึงเสมอนะคะ

 

คุณพี่ใหญ่ Ico48

 จำเรื่องที่ดานำประสบการณ์การใช้น้ำมันมะพร้าว เมื่อคราวที่ดาไปกทม.ได้นะคะ อาจารย์ณรงค์นำมาเขียนลงในหนังสือกัลปพฤกษ์ค่ะ ดาคงจะเขียนบันทึกอีกครั้งหนึ่ง อาจารย์ต้องการประสบการณ์เพิ่มอีกนอกเหนือจากที่ดาจะเขียนให้อาจารย์ใหม่ด้วย ตอนนี้ดามีแฟนพันธุ์แท้เพิ่มขึ้นอีกมากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

 

สวัสดีคะคุณกานดา  อย่าว่าแต่ความคิดผิดเลยเรื่องน้ำมันมะพร้าว สุก็ยังคิดเหมือนเขาว่า กินอาหารที่ใส่กะทิ  จะทำให้อ้วนและเพิ่มไขมันให้กับตนเอง และช่วงนี้ยังกลัวว่าจะทำให้ไอไม่หาย ซึ่งแท้จริงแล้วคิดอย่างนี้ควรจะเป็นมันหมูมากกว่า สุเห็นมีน้ำมันมะพร้าว มาใช้แทนน้ำมันหมู เขาขายกัน อยากจะลองนำมาใช้ แต่กลัวกลิ่น จะหืนไหม และน้ำมันมะพร้าวสดถ้าทำเองได้ นำมาดื่ม ผิวคงจะสดชื่นหายเหี่ยวแห้งภายใน ส่วนภายนอกก็นำไปทาให้หายแห้งเหี่ยวไปด้วย

 พูดถึงต้นมะพร้าว ทางบ้านสุ คิดว่าเขาคงจะพยายามตัดทิ้ง เพื่อจะขยายบ้าน หรือไม่ก็กลัวมันหล่นใส่หัว ใส่หลังคา นับวันจะเหลือน้อยลง และเช่นเดียวที่ภูเก็ต ที่ขึ้นชื่อเรื่องมะพร้าว ก็คงนำพื้นที่ไปทำรีสอตร์หมด ตัดกันหมด ในอนาคตจะเหลือมะพร้าวเท่าไหร่กัน อยากจะให้คนรู้คุณค่าให้มากๆๆ และรักษาต้นมะพร้าว หรือช่วยปลูกมะพร้าวไว้ซักคนละต้น สองต้น ในพื้นที่ปลอดอุบัติเหตุ ไว้ให้ลูกหลานได้รู้จักคุณค่ากัน

 ขอบคุณคุณกานดานะคะ สุก็คิดถึงเสมอ แต่เวลาน้อย วันนี้ก็ตอบเม้นไปหลายคน แต่สุเป็นคนเม้นยาว ก็หมดเวลาไปไม่น้อยในแต่ละคน  พอเม้นคนโน้น ก็กลัวคนนี้น้อยใจ เลยทั้งวัน วันนี้ เม้น ก็ได้ไม่มากรายคะ สงสัยคุณกานดาจะเป็นคนสุดท้าย แต่เมื่อกี้เห็นท่านมีคนเข้าไปเยี่ยมอีกราย คงจะต้องตอบให้หมด เพราะไม่เช่นนั้น วันต่อไป ไม่รู้ว่าจะมีเวลาหรือเปล่าคะ คิดถึงน้า..

สวัสดีค่ะ คุณสุฯ

ดีใจมากนะคะ ที่คุญสุมาคุยด้วย หายจากไม่สบายมากหรือยังค่ะ เมื่อวันที่น้องเกษตรอยู่จังหวัดมาเชียงใหม่ ก็เอ่ยถึงคุณสุค่ะ ว่าคุณสุกลับมาแล้วดีใจมาก แต่ไม่สบายมาก เป็นห่วงและคิดถึงเสมอนะคะ หายเป็นปกติเร็วๆนะคะ 

   เรื่องมะพร้าว กะทิ น้ำมันมะพร้าว แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน เชื่อผิดเชื่อถูก ก็แล้วแต่ความคิดที่ไม่เหมือนกัน เหตุผลต่างกัน ทุกอย่างไม่ว่าอะไรต้องพอดี แต่ก็เสียดายแทนในสิ่งดีๆที่อยู่ในมะพร้าว แล้วมองข้ามไป อาหารที่มีสิ่งเหมือนน้ำนมแม่หาได้ยากมาก มีแล้วไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็น่าเสียดายที่ไม่ทราบคุณค่าในสิ่งที่หายากในอาหารอื่นๆแทบไม่มีในโลกนี้ แต่เราหาได้ง่ายในมะพร้าว 

 

คิดถึงเรื่องราวเมื่อครั้งเดินทางไปยังเชียงใหม่ ผมมักแวะจิบกาแฟแถวลำปางเสมอ

โดยเฉพาะร้านที่เป็นแหล่งรวมผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของชุมชน

สิ่งเหล่านี้ คือภูมิปัญญา คือมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่อาจละข้ามไปได้

ขอบพระคุณครับ

* มาขอบคุณเมล็ดพันธุ์พืชหลายชนิดที่ส่งมาให้ ดีใจจัง กำลังคิดจะเพิ่มต้นไม้ในสวนค่ะ

* บางอย่างไม่รู้จัก เช่น ทองอุไร และรางจืด ..หาดูจาก. Google สรรพคุณมากมาย

* เมล็ดดอกอัญชัน สีอะไรคะ? คราวก่อนได้สีขาว

* เมื่อลงดินแล้วจะมารายงานความคืบหน้านะคะ

* น้องดามีน้ำใจมากๆ ขอให้มีความสุขทุกประการค่ะ

ยังไม่ได้เขียนเล่าเรื่อง น้ำมันมะพร้าวเลยค่ะ  ยังไม่ว่างจากภารกิจหลักค่ะ แต่รับปากว่าจะเขียนนะคะ

  • ขอบคุณแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ที่น้องดานำมาแบ่งปันค่ะ ขอรวบรวมไว้ในแหล่งเรียนรู้ฟาร์มไอดินฯ เพื่อการมีสุขภาพที่ดีด้วยวิถีชีวีธรรมชาติด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

เมื่อเช้าไปตลาด ก็เห็นมีแม่ค้า เอาน้ำมะพร้าว มาขาย ด้วยค่ะ

กึดเติงหา ปี้ดา อย่าลืมจับภาพน้องฟ้ากะนายเมฆ ณ เวียงพิงค์ มาฝากนะคะ

ตัดต้นมะพร้าวทิ้งทำไม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท