AR2R:4D สุนทรียวิถีในงานประจำ: ไม่อยากเจ็บซ้ำ


AR2R : 4D สุนทรียวิถีในงานประจำ

ไม่อยากเจ็บซ้ำ


 

     งานผู้ป่วยในมีการหมุนเวียนพยาบาลใหม่ และพยาบาลย้ายมาใหม่ในปีนี้หลายคน  น้องพยาบาลแทงน้ำเกลือเด็กเล็กรายหนึ่ง แม่ของเด็กถึงกับร้องไห้เมื่อ เห็นลูกเจ็บหลายครั้ง  ในการแทงน้ำเกลือครั้งนั้น  พยาบาลเองก็เสียความรู้สึกไม่น้อยไปกว่ากัน จึงเป็นที่มาในการตั้งคำถามดีดีและหาแนวทางดีดีเพื่อลดการแทงเข็ม เจาะเลือด ให้ยา ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดดำ ซ้ำหลายครั้ง 

   พยาบาลได้หารือกันลองเริ่มศึกษาในกลุ่ม ผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในช่วงวันที่ 1- 31 ธันวาคม 2554  เลือกเฉพาะกลุ่มที่ต้องกลับมารักษาซ้ำ จำนวน 80 ราย 60  ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด 30 รายให้น้ำเกลือในครั้งแรก อีก 30 รายต้องถูกแทงเข็มซ้ำจากหลายสาเหตุ เช่นสั่งตรวจเลือดในเวลาต่อๆมา และรวมทั้งความชำนาญของผู้ให้การพยาบาลเอง

   การนำกระบวนการค้นหาสิ่งดีดีที่สุดที่ซ่อนอยู่ในองค์กร ที่เรียกว่า Appreciative Inquiry : AI มาปรับใช้ในงานประจำ เริ่มจาการตั้งคำถามดีดี และนำกระบวนการ 4 D มาดำเนินการขยายให้ทุกลุ่มสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ ร่วมคิดร่วมสร้างสรรค์ ร่วมพัฒนา

    1. Discovery  คือการค้นหาสิ่งดีดี ด้วยการตั้งคำถามว่ามีใครบ้างที่ เจาะเลือด แทงน้ำเกลือไม่พลาดเลย ซึ่งพบว่า มีพยาบาล 2  คนในจำนวนพยาบาล 8 คน คิดเป็นร้อยละ 25

    2. Dream  คือการร่วมฝันว่า พยาบาลทั้ง 8 คนจะเจาะเลือดและแทงน้ำเกลือไม่พลาดอย่างไร แม้เป็นผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน ที่แทงเส้นเลือดยากที่สุด เพื่อลดการเจาะเลือดและแทงน้ำเกลือซ้ำ

    3. Design  คือการออกแบบกิจกรรมและสร้างสรรค์ต่อ พยาบาลนำมาพูดคุยปรึกษากัน เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ มีกิจกรรมพี่สอนน้อง ขยายผลจากเก่ง 2 คน เก่งเพิ่มขึ้นเป็น 6 คนคิดเป็นร้อยละ 75  

      จากนั้นเริ่มวางแผนว่าจะลดการเจาะเลือดและแทงเข็มในกลุ่มที่มีการเจาะเลือดครั้งต่อไป แพทย์ผู้สั่งเริ่มมีการวางแผนในการรักษาก่อน พยาบาลผู้ให้การดูแลมีการประสานนักเทคนิคการแพทย์ร่วมกันพิจารณา ในการเก็บตัวอย่างเลือดไว้ใช้ต่อ ในการตรวจชันสูตรที่ไม่ส่งผลทางคลินิก ในการนี้สามารถลดลงได้อีกร้อยละ 24 ใน 30 รายไม่ต้องเจาะใหม่ 8 ราย 

    4. Destiny มีการดำเนินการเป็นวิถี แนบเนียนในงานประจำ โดยมุ่งเป้าหมายลดการเจาะเลือและแทงน้ำเกลือซ้ำให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจและเกิดความเจ็บปวดบ่อยครั้งที่ไม่จำเป็น 

   " เพียงเท่านี้ความงามความสุนทรียะก็เกิดง่ายๆ

ในวิถีงานประจำในแต่ละวัน "

 

 

เรื่องราวดีดีในองค์กรของเรารอการค้นหา

ช่วยกันนำเรื่องราวดีดีมาขยายผลต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 480023เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2022 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สุดยอดเลยพี่ เป็นเรื่องง่ายๆที่ได้ผลดีมาก ต่อไปเด็กๆจะได้ไม่เจ็บปวดจากการแทงเข็ม

นานมาแล้ว ผมช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แทงนิ้วเด็กเพื่อหาโลหิตจาง ใส่หลอดเล็กๆๆ แทงไป 4 รู เลือดก็ไม่ออก แต่ตอนอออกดันออกมา 4 รูเลย เวรกรรม สงสารเด็กน้อยมาก

ดีใจแทน เด็กน้อยๆ ค่ะ จริงๆ ผุ้ใหญ่ บางคนก็กลัวเข็ม นะคะ เช่นปู เป็นต้น ฮา :) กดให้ดอกไม้ไม่ได้ ส่งกำลังใจค่ะพี่โอ

สวัสดีครับ

              เรื่องดีดีมีให้อ่านงานวิถี

              ที่พบมีมาแบ่งปันทันสมัย

              ใช้ภาษามาแปลแต่เข้าใจ

               เป็นกลไกไหลลื่นขอชื่นชม

แล้วจะกลับมาตอบทุกท่านนะคะขอบพระคุณที่แวะมามอบดอกไม้ให้เป็นกำลังใจ  โรงพยาบาลป่าติ้วขอบพระคุณท่านอาจารย์ภิญโญ มอบโอกาสให้พวกเราไปนำเรื่องราวดีดีเพื่อขยายผลต่อที่งาน  AI Summits Thailand ที่ ABAC เดินทางในวันพรุ่งนี้  และจะนำประสบการณ์ในการประชุมมาเล่าให้ทุกท่านฟังว่าได้อะไรมาบ้างอย่าลืมรอติดตามนะคะ


งามงามทางปัญญาอย่างยิ่งค่ะ

Large_zen_pics_007 

งดงามจริง ๆครับ

ขอให้เดินทางปลอดภัยและมีความสุขครับ

จะติดตามตอนต่อไปครับ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก จะลองไปเผยแพร่ให้คนในโรงพยาบาลทำดูนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะน้องอุ้มบุญ

น่าสนใจมาก ชื่นชมค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่แบ่งปัน มีประโยชน์มากค่ะ

ชื่นชมนำความรู้มาใช้ได้ประโยชน์กับคนไข้มากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท