๑๐๐. ประเด็นปัญหาต่อการทำงาน


ประเด็นปัญหาต่อการทำงาน

 

 

ประเด็นปัญหาต่อการทำงาน

           นับจากที่คนเราได้งานทำแล้วนั้น นับว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงาน เป็นการเรียนรู้จากความรู้เดิมที่ตัวเราเองจบการศึกษามาแล้วในเบื้องต้น...และเกิดจากการเรียนรู้จากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน...การเรียนรู้จากกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ บางครั้งก็เกิดจากการเรียนรู้จากเครือข่าย จากงานเดิมที่ได้เคยปฏิบัติมาบ้างแล้ว...

             การทำงานเปรียบเสมือนการเรียนรู้เพิ่มเติมไปในตัว เป็นการได้รับความรู้ ความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญไปอีกแบบ เป็นความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานในเรื่องนั้น ๆ...ซึ่งการทำงานในเรื่องนั้น ๆ อาจมีประเด็นปัญหาที่แตกต่างกันไป เพราะบางเรื่องก็จะได้รับคล้าย ๆ กัน แต่บางเรื่องก็จะได้รับปัญหาที่แตกต่างจากอีกเรื่องหนึ่ง...สำหรับผู้ปฏิบัติก็ต้องคิดค้น หาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะทำให้งานชิ้นนั้นประสบผลสำเร็จไปได้ด้วยดี...บางครั้งงานชิ้นนั้น ต้องอาศัยความสามารถของตัวเราเองแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น บางชิ้นงานนั้นต้องปรึกษาหัวหน้างานเพื่อเป็นที่ปรึกษาหรือสอนงานของเราที่ได้ปฏิบัตินั้นให้สำเร็จลุล่วงได้ เพราะงานบางชิ้นนั้น ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องระเบียบต่าง ๆ มาช่วยแก้ไขปัญหา

             การทำงานในลักษณะนี้ สำหรับผู้ปฏิบัติงานแล้ว ถือว่า การเรียนรู้แบบนี้ เป็นการเรียนรู้อีกลักษณะหนึ่งในเชิงของ "การเรียนรู้" จากงานที่ตัวเราได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ...งานบางชิ้นงานจะมีลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความยาก ง่ายของงานที่ได้ปฏิบัติ...การเรียนรู้งานและแก้ไขงานในลักษณะแบบนี้ ถือได้ว่า เป็นการทำงานที่ต้องอาศัยความรู้ + ประสบการณ์ เป็นการทำงานที่สั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ ซึ่งต่อไปก็คือ ความชำนาญการ ความชำนาญการพิเศษ ความเชี่ยวชาญ และความเชี่ยวชาญพิเศษนั่นเอง

             การทำงานในลักษณะนี้ จะเป็นการทำงานที่ต้องอ้างอิง ระเบียบ ข้อบังคับ การปฏิบัติ กฎหมายที่รองรับ เพราะผู้ปฏิบัติต้องทราบกฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ ที่ชัดเจน และบางงานผู้ปฏิบัติก็ต้องมองให้ทะลุไปจนถึงผลสำเร็จของงาน ถ้าเป็นเด็ก ๆ ที่ได้ปฏิบัติแล้วยังมองไปไม่ไกล ก็ต้องปรึกษาหัวหน้า หรือผู้ที่มีความชำนาญงาน หรือเคยปฏิบัติ หรือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ามาเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำ หรือช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ แต่บางคนเมื่อไม่มีหัวหน้าคอยชี้แนะ ก็ต้องศึกษาระเบียบ ข้อบังคับ บางคนก็ปรึกษาจากเครือข่ายเพื่อขอความกระจ่างชัดและจะได้ปฏิบัติงานไม่บกพร่องได้...

              เคล็ดลับของการทำงานในด้านปฏิบัติแบบนี้ จะค่อย ๆ สะสมความรู้ไปเรื่อย ๆ โดยใช้ระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง และสะสมเป็นองค์ความรู้ในตัวไปเป็นลักษณะของผู้มีความรู้ตามที่ผู้เขียนกล่าวมาในข้างต้น...แต่ในฐานะของผู้ปฏิบัติขอบอกว่า "งานทุกงาน เมื่อมีปัญหา ทุกปัญหามีทางที่จะแก้ไขได้ บางครั้งก็ต้องอาศัยเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย"...เพียงแต่ตัวเราอย่าเครียดกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติก่อนก็แล้วกัน เพราะไม่เช่นนั้น ท่านจะจัดความสมดุลให้กับชีวิตของท่านไม่ได้เลย...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 479654เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2012 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2013 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีอาจารย์บุษยมาศ "การเดินทางคือการทำงาน การทำงานคือการพักผ่อน" สมดุลด้วยความสนุก

  • 555...เข้าใจคิดจริง ๆ การทำงานถ้าตัวเราทำงานแล้วสนุกกับงาน นั่นก็คือ ความสมดุลแล้วละค่ะ
  • มีปัญหาก็แก้กันไป ขออย่าได้กลัวกับปัญหา เพราะทุก ๆ ปัญหา มันมีทางแก้ไข เพียงแต่แก้ทันทีทันใดไม่ได้ บางเรื่องก็ต้องใช้เวลาเข้าช่วยค่ะ

ขอบคุณคะ โดยเฉพาะประโยคทอง

"งานทุกงาน เมื่อมีปัญหา ทุกปัญหามีทางที่จะแก้ไขได้ บางครั้งก็ต้องอาศัยเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย"

...

คนที่ประสบการณ์ไม่มากนัก (อย่างตัวเอง) มองยังไม่ไกล อย่างที่อาจารย์ว่า

หากไม่สงวนไฟ ไว้ใช้ในโอกาสที่เหมาะสม ก็เกิด "หมดไฟ" ได้คะ

  • ค่ะ อาจารย์ ป.Ico48
  • ค่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์ไปค่ะ เพราะคนเราไม่ได้เก่งมาตั้งแต่เกิด เก่งได้จากการที่เราใฝ่รู้ ใฝ่เรียน คิดอย่างสร้างสรรค์ วางแผนตัวเอง วางแผนงานได้ก็ถือว่าสุดยอดแล้วละค่ะ สำหรับชีวิตของคนทำงาน
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุก ๆ ท่านค่ะ Ico24 + Ico24 + Ico24
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท