๔๒.กะเพราผี..ของดี..ข้างกาย


  

             ปัจจุบันการนำสารสกัดจากพืช มาใช้ประโยชน์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช(Botanical Pesticides) เพื่อลดความเสี่ยงจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนผู้ผลิต/ผู้บริโภค เริ่มแพร่หลายมากขึ้น  โดยพืชที่นำมาใช้และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป มีหลายชนิด เช่น  สะเดา หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม คูนหรือราชพฤกษ์ ข่า หางไหล บอระเพ็ด ดีปลี กระเทียม กระชาย  สาบเสือ  ฯลฯ  เป็นต้น
             “ กะเพราผี ”  ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Hyptis  suaveolens(L) Poit 
 
ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง..ที่ผมแอบๆ เมียงมอง สนใจ.ใคร่รู้  มากว่า ๓-๔ ปี...แม้จะด้อยซึ่งความสวย  แต่ก็ร่ำรวยและมั่งคั่ง ด้วยความดีงามภายใน. สมควรจะเลือกเธอเป็นเพื่อนคู่คิด.เป็นมิตรที่รู้ใจของชาวเกษตร.. โดยภาครัฐ-องค์กรที่เกี่ยวข้อง สมควรทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง  เพื่อนำสารทุติยภูมิมาใช้ทดแทนหรือลดการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช   ะยังประโยชน์มหาศาลต่อเกษตรกรผู้ผลิและเป็นผลดีต่อผู้บริโภคพืชอาหาร.อย่างปลอดภัย ไร้สาร(เคมี)พิษ...โดยผมมีแนวคิดในการวิเคราะห์สถานภาพ ของ “ กะเพราผี ” เพื่อการวิจัยและพัฒนาข้างต้น ภายใต้ SWOT Analysis  ดังนี้ครับ.
              ๑.จุดแข็ง(Strength)
                   (๑.๑) เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ที่เพาะขยายพันธุ์ได้ง่าย เจริญเติบโตเร็วในดินเกือบทุกชนิด ทนแล้ง เข้าตำราที่ว่า “ ขึ้นแสนง่าย ตายแสนยาก ”  ครับ
 
                   (๑.๒) หาได้ง่ายและไม่เป็นพืชสงวน หรือพืชอนุรักษ์
 
                   (๑.๓) ไม่เป็นพืชอาหารของคนและปศุสัตว์  ซึ่งหากมีศักยภาพ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ จะไม่เกิดการแย่งชิงทรัพยากร ที่ใช้แปรรูปเป็นอาหาร ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนต่ำ
 
                  (๑.๔) เป็นพืชที่ให้วัตถุดิบได้มาก โดยต้นมีความสูง ๐.๓๐-๒.๕๐ เมตร ผมเคยพบในปี ๒๕๕๓  ที่สวนข้างเขาลับงา สูงถึง ๓.๑๐ เมตร แผ่ทรงพุ่มมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑.๕๐ เมตร 
 
 
                                 เมื่อเมล็ด โดนน้ำจะพองเหมือนแมงลัก
                   (๑.๕) เป็นพืชที่ไม่พึงประสงค์ของโรค-แมลง ซึ่งตลอดเวลา ๓- ๔ ปีที่ผมแอบๆ มองๆเรียนรู้  ยังไม่เคยพบกะเพราผีถูกโรคและแมลง ทำลาย/กัดกินหรือเป็นแหล่งพำนักพักพิงของโรค-แมลงแต่อย่างใด ในขณะที่พืชอื่นที่กล่าวข้างต้นบางชนิด เช่น สะเดา สาบเสือ มีโรครา แมงและแมลงบางชนิด  เช่น ไรแดงและเพลี้ยอ่อน เข้าทำลายในบางปี
                   (๑.๖) เป็นพืชที่ให้สาร ที่มีองค์ประกอบทางเคมีมากมาย  เช่น A-thujene, A-pinene, camphene, sabinene, B-pinene, myrcene, A-phellandrene,Delta-3-carene,A-terpinene, p-cymene, 1,8-cineole, (Z)- b-ocimene, (E)- B-ocimene, Gamma-terpinene, fenchone, terpinolene, linalool, A-fenchol, camphor, borneol, terpinen-4-ol, A-terpineol, thymol, A-copaene, B-bourbonene,B-caryophyllene, A-bergamotene,A-humulene, A-guaiene, caryophyllene oxide
                    (๑.๗)  เป็นพืชที่ให้สารออกฤทธิ์กว้าง จากการศึกษาวิจัย พบว่า น้ำมันกะเพราผี มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย  เชื้อราก่อโรคผิวหนัง  ราพืชก่อโรคพืช เช่น เชื้อรา Aspergillus niger  ที่ทำให้ผลไม้เน่า  มีฤทธิ์ต้านเชื้อยีสต์และมีฤทธิ์ฆ่าแมลง ค่าความเป็นพิษ LD50  1.412 g / kg  (ทดลองโดยการฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร)
                     นอกจากนี้ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้วิจัยและทดลอง พบว่าสารสกัด กะเพราผี  ซึ่งมีสารประเภท Terpenoids  มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ซาลโมเนลลา(Salmonella) ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ ที่พบได้ทั่วไปทั้งในสัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ และเสริมภูมิคุ้มกันโรคเอดส์  โดยไม่มีผลข้างเคียงทั้งในคนและสัตว์ด้วย
                 ๒.จุดอ่อน(Weakness)
                     (๒.๑) การวิจัยกะเพราผี เพื่อใช้ในการปศุสัตว์และป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ยังมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นรายงานการทดสอบประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลในระดับห้องปฏิบัติการ ที่มีข้อจำกัดในการนำไปสู่ การปฏิบัติในภาคสนาม
                      (๒.๒) การบันทึกและการเผยแพร่ข้อมูล ผลการทดสอบ ทดลองและวิจัย/พัฒนา “ กะเพราผี ”  เพื่อใช้ในการปศุสัตว์และป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ยังขาดความละเอียด ไม่เป็นระบบ  ขาดตอน ไม่ต่อยอด  ..
                       (๒.๓) การจูงใจและการสนับสนุนการวิจัย “ กะเพราผี ”  เพื่อใช้ในการปศุสัตว์และป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อยู่ในวงจำกัดและมีน้อยมาก  เมื่อเทียบกับการวิจัยสารเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร                              
                  ๓.โอกาส (Opportunity                        
                      (๓.๑)  กระแสรณรงค์ระดับโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีผลผลักดันให้เกิดการผลิตสินค้าเกษตร ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดี ที่เรามีทรัพยากรที่จะนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้
                      (๓.๒) ปัจจุบัน ประชาชนเริ่มตระหนักและตื่นตัวในการรักษาสุขภาพและใส่ใจกับการบริโภคอาหารที่ปราศจากสารเคมีพิษมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตร ต้องหาทางเลือกที่ดี มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามไปด้วย.ดังนั้น การวิจัยและพัฒนา “ กะเพราผี  ” เพื่อป้องกันและรักษาคุณภาพผลผลิตพืชและปศุสัตว์ จึงมีความน่าจะเป็นและมีความเป็นไปได้ ในการพัฒนากะเพราผีไปใช้ประโยชน์  เพื่อป้องกันกำจัดโรคผลเน่าของผลไม้ อาทิเช่น ใช้แทนซัลเฟอร์ สำหรับอบหรือรมลำไยหรือผลไม้อื่นๆ เพื่อการส่งออก ที่เกิดจากเชื้อ Aspergillus niger  และเชื้อจุลินทรีย์ซาลโมเนลลา ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคในปศุสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น
                  ๔.การคุกคาม(Threat)
                        (๔.๑) ภาคเอกชน ให้ความสนใจในธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงและคืนทุนเร็ว  ซึ่งมีอิทธิพลต่อการถูกเลือก “ กะเพราผี ”  (รวมถึงพืชสมุนไพรอื่นๆ) ที่จะนำไปวิจัยมีความสำคัญลดลง ..
                         (๔.๒)  ระเบียบและกฎหมายไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมการใช้ กะเพราผี หรือพืชสมุนไพรอื่นๆ ผลิตสาร มาใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในเชิงพาณิชย์ ..เพราะต้องขออนุญาต/ขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุมีพิษเหมือนสารเคมีภัณฑ์ ทำให้การผลิตสาร “ กะเพราผี ” (รวมทั้งพืชอื่นๆด้วย)  เพื่อใช้ในการกำจัดศัตรูพืชในระดับชุมชน ถูกจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา..ทั้งๆ ที่ “ กะเพราผี ” ก็มีอยู่ดาษดื่น มากมาย เหลือเฟือ…

                จากแนวคิดการวิเคราะห์สถานภาพ โดยย่อข้างต้น... ก็เพื่อชี้..ให้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ความเป็นไปได้ของ " กะเพราผี" ทรัพยากรที่สามารถนำมาพัฒนาใช้ทดแทนสารพิษที่เป็นเคมี ในภาคการผลิตทางการเกษตร และคงเป็นทางเลือกหนึ่ง..ที่อาจจะมีส่วนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพของคนไทย ให้มีสุขภาพดีขึ้นบ้าง..ไม่มากก็น้อย...

               ครับ..เป็นเพียงกิเลส..ที่อยากเห็นการพัฒนา..มากกว่า การถูกทิ้งๆขว้างๆ อย่างไร้ประโยชน์.....เหมือนดั่งกับนิทานอิสป...เรื่อง ไก่ได้พลอย ..


                                                                             สามสัก
      
                                                                           ๗ ม.ค.๒๕๕๕
 
                                               
 
อ้างอิง   1. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร
                       กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
            2.www.Budmgt.com/she/she01/hyptis-med-virus.html
คำสำคัญ (Tags): #กะเพราผี
หมายเลขบันทึก: 473661เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ค่ะ Ico64  ...แวะมาเยี่ยมมาทักทาย... ขอส่งความสุขด้วยคำกล่าวว่า สุขสันต์ วันปีใหม่ และทุกวันคืนตลอดไปนะคะ...

สวัสดีปีใหม่ขอกำลังใจเชียร์สมุนไพรไทย.....ของผีๆ

กระเพราผี ไม่แน่ใจว่าเคยหรือไม่ แต่

มะกรูดผี

ผักเสี้ยนผี เหล่านี้เคยเห็นและคุ้นชินเป็นอย่างดี

ขอบคุณที่นำข้อกระเพรา ของในทางเกษตรมาแนะนำ

สวัสดีปีใหม่ ครับ

☺ แวะมาอ่านประดับความรู้ / ขอบคุณที่ไปอวยพรปีใหม่ให้ ครับผม

 

มาเชียร์ สมุนไพรไทย รัฐต้องส่งเสริมค่ะ

และชื่นชม คนทำงานเพื่อความเป็นไท ขอบคุณค่ะ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ นะคะคุณสามสัก

คุณพระคุ้มครอง  ความคิด  จิตใจแจ่มใส  สุขภาพแข็งแรง  สุขสันต์ทั้งปี  ทั้งครอบครัว  ญาติมิตรด้วยนะคะ

เคยไปร่วมเวทีชาวบ้าน  ช่วยกันคิดการพัฒนาหมู่บ้านพลายงาม  ต.คอกช้าง  อ.สระใคร  เมื่อปลายปี ๕๔ ที่ผ่านมานะคะ  (ทีมพี่เลี้ยงมีทั้งนักวิชาการเกษตร  สาธารณสุข)

ราชการไทยนี่แหละไปส่งเสริมปุ๋ยเม็ด  ข้อมูลจากชาวบ้านเอง  ใช้ปุ๋ยเม็ดทุกครัวเรือนที่ทำนา  จะใช้ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมักก็ได้ผลช้า  หายากอีกต่างหาก

ส่วนเรื่องน้ำหมักชีวภาพ  ความรู้เรื่องการปราบศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี....ก็มีพอควรในชุมชน

แต่ต้องค่อย ๆ ใช้ตีคู่กับสารเคมีก่อน  แล้วลดจำนวนสารเคมีลง  เหตุผลของชาวบ้าน คือ ไม่ทันใจ  แม้จะรู้ว่าค่ายาแพง

อยู่ในช่วงเก็บข้อมูล  จะได้เห็นชัดจากข้อมูลจริงน่ะค่ะ 

บางทีข้อมูลอาจจะชี้ให้เห็นได้ว่า  การไม่ได้ใช้เงินซื้อหรือจ่ายน้อยลง  นั่นคือ ต้นทุนที่ลดลงไปแล้ว 

ผลผลิตที่ได้  คิดเป็นเงินลดลงหรือไม่  ส่วนต่างของรายรับกับรายจ่ายจะเพิ่มขึ้นหรือไม่  อาจต้องใช้เวลาในการศึกษาติดตาม....มีเวลาใจเย็นพอค่ะ

เพราะผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว  ที่ต้องติดตามด้วยนั้น  น่าเป็นห่วงมากด้วยเช่นกัน

ขายข้าวได้เงินมากขึ้น  กับการสะสมสารพิษในร่างกาย ?

 

 

แวะมาขอบคุณที่ไปเยี่ยมชมบล๊อก และถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ คูณสามสัก

ครับ (ช้านิดแต่ก็มาด้วยใจครับ.. )

---------------------------------
แวะทักทายกราบกรานคารวะ
หลายวาระคลาดด้วยเหตุการณ์พาห่างหาย
โนตบุ๊คเสียเน็ตเน่าบ่อยงานมากมาย
เลยทำให้อดติดตามงานดีดี
--------------------------------

ปีใหม่นี้วอนไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ
จงสถิตประทานพรตัวท่านนี้
ทั้งหน้าที่การงานเงินมากมี
โรคอย่ามีภัยอย่ามาพาลลี้ไกล

-------------------------------
ให้ท่านนั้นมีกำลังกายใจยิ่ง
อยู่เป็นมิ่งขวัญลูกหลานอย่าหวั่นไหว
เป็นที่รักของประชามิตรมากมาย
ตลอดไปตลอดปีมะโรงเทอญ..

Ico64

เรียท่าน  UDOM THONGCHANG

 

 

- ตามมา อ่านผลงานคะ

- ดีจังเลย.... ช่วยกัน ..... ค้นหาความจิรง+ งานวิจัย

- ขอบคุณมาก..... ในองค์ความรู้ นี้ นะคะ

 

 

แวะมาอ่านบันทึก เรื่องราวดีๆ มีประโยชน์

แวะมาทักทายถามข่าว เป็นอย่างไรบ้าง สุขสบายดีอยู่หรือเปล่า

แวะมาขอบคุณ สำหรับพรที่ให้

พร้อมทั้งมาสวัสดีปีใหม่ ครับ

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณสามสัก เห็นภาพกะเพราผีก็นึกถึงว่าจะเผ็ดและคัน เหม็น ขนาดไหนนะ ...

Interesting. I looked up wikipedia and found :

"...From Wikipedia, the free encyclopedia

Scientific classification

Kingdom: Plantae

(unranked): Angiosperms

(unranked): Eudicots

(unranked): Asterids

Order: Lamiales

Family: Lamiaceae

Genus: Hyptis Jacq.

Species: H. suaveolens

Binomial name Hyptis suaveolens (L.) Poit. 1806

The Chan plant (scientific name Hyptis suaveolens (L.) Poit.[1] ) is a very well known pseudo-cereal plant in the Latin American region, being approximately 2 meters high, having branches and long, white piliferous stems. Its flowers are purple or white, its leaves oval, wrinkled and pointed. It is native to the American continent, in warm and semi-warm regions.

[edit] Uses

Chan is commonly used as a refreshing healthy drink, by leaving the seeds to soak in water and refrigerating the mix. Some people add lemon or other citrus fruit to achieve a better taste. Chan has also traditionally been used and continues to be used as a treatment for diarrhea.

Studies have found it is effective as an insecticide. Its dried leaves and seeds are ground to a powder which is spread on the grains to be conserved.

[edit] References

^ Ann. Mus. Natl. Hist. Nat. vii. (1806) 472. t. 29. f. 2. (IK)

///

Pseudocereal

From Wikipedia, the free encyclopedia

This article needs additional citations for verification. Please help improve this article by adding citations to reliable sources. Unsourced material may be challenged and removed. (August 2010)

Pseudocereals are broadleaf plants (non-grasses) that are used in much the same way as cereals (true cereals are grasses). Their seed can be ground into flour and otherwise used as cereals. Examples of pseudocereals are amaranth, Love-lies-bleeding, red amaranth, Prince-of-Wales-feather, quinoa, and buckwheat.[1]

[edit] Pseudocereals

Quinoa is not a grass. Its seeds have been eaten for 6000 years.

Amaranth:

Love-lies-bleeding

Red amaranth

Prince-of-Wales-feather

Breadnut

Buckwheat

Chia

Cockscomb

Kañiwa

Pitseed Goosefoot

Quinoa

Wattleseed (also called acacia seed)

[edit] References

^ "Glossary of Agricultural Production, Programs and Policy". University of Arkansas Division of Agriculture. Retrieved 2006-12-31..."

So, in sum this plant is useful as medicine and as food.

* อรุณสวัสดิ์รับเรื่องราวดีๆของพืชมีประโยชน์นี้ค่ะ ขอให้กำลังใจในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาต่อไป

* ขออวยพรให้มีความสุขตามที่ปรารถนาทุกประการค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ที่ไม่รู้มาก่อนเลยค่ะ

 

  • น่าสนใจมาก
  • แต่ผมยังไม่ได้ทดลองใช้เลย
  • ครั้งแรกคิดว่าวัชพืชธรรมดา
  • ขอบคุณมากๆครับ
  • สวัสดีปีใหม่ค่ะ
  • กะเพราผี...ชื่อน่ากลัว
  • แต่มีประโยชน์มากมายจนลืมกลัว
  • ขอบคุณสำหรับพรปีใหม่ และเรื่องราวดีดี

ไม่แน่ใจว่าในไร่มีหรือไม่

พรุ่งนี้เช้าจะไปไร่จะถ่ายรูปมาเปรียบเทียบ

ถ้าไม่มีจะหาเมล็ดพันธุ์ได้ที่ไหน

และกินได้ไหม

ขอบคุณค่ะ

โชคดีปีใหม่นะคะ

  • สวัสดีปีใหม่ย้อนหลัง...ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ

แถวบ้านก็มี

ต่อไปจะถนถนอมไม่ทำลายหมด

จะเหลือไว้บ้าง

เพราะเหมือนว่า ขึ้นแสนง่าย  ตายแสนยาก

ขอบคุณนะคะ

-แถวบ้านผมมีเยอะมาก

ปราบยากอีกต่างหาก

แถมแพร่พันธุ์เร็วมากๆ ด้วย

-ใครสนใจจะนำไปทำผลิตภัณฑ์ ขอเชิญมาเอาที่หมู่บ้านของผมได้นะครับ มีอยู่หลายสิบตันเลยทีเดียว 555

  • สวัสดีปีใหม่ครับท่านสามสัก
  • ของดีเรามีเยอะนะครับ
  • ขอบคุณครับ

 

  • ขอบพระคุณทุกๆท่านมากครับ ที่กรุณาแวะเวียนมาอวยพรปีใหม่ มาให้กำลังใจ ให้ข้อคิดเห็นและเมนท์เพิ่มเติมให้บันทึกนี้ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

แน่ใจว่าไม่เคยเห็นนะคะ  หรือว่ามันมีเฉพาะภาค   แต่ทางใต้ที่เจอบ่อยคือผักเสี้ยนผีค่ะ  แต่ก็ไม่ทราบสรรพคุณ    ต้องมาขอความรู้อีกค่ะ 

ขอบคุณมากๆค่ะ

  • เป็นพืชต่างด้าว เข้ามาอยู่เมืองไทยนานนม จนกลายเป็นพืชไทยๆ ที่ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไป น่าจะมีทุกภาคน๊ะครับ ในแต่ละพื้นที่คงเรียกต่างกันไปครับ
  • ชื่อเป็นทางการเขาเรียกกันว่า แมงลักคาครับ บางพื้นที่เรียกว่า แมงลักป่า การา ก้อมก้อห้วย ที่กำแพงเพชร เรียกว่ากะเพราผีครับพี่ครู
  • สรรพคุณขอความกรุณาพี่ครู ดูตามเวปท้ายนี้ น่าจะได้ข้อมูลที่ละเอียดละออมากกว่าน๊ะครับ
  • http://www.budmgt.com/she/she01/hyptis-med-virus.htm หรือที่ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ที่ไร่จอมบึงมีต้นแบบนี้ด้วยค่ะ เพิ่งทราบว่าเรียกกระเพราะผี

ดอกมีสีสวย ใบมีขนเยอะไม่กล้าจับกลัวแพ้ขน มันขึ้นเองในหน้าฝน 

และทนอยู่นานจนแล้งมาจึงค่อยๆทิ้งใบ

พบเห็นทีไรก็จะถูกขุดทิ้ง รอฝนใหม่มามันก็จะขึ้นมาอวดโฉมใหม่ทุกครั้งไป

ครั้งต่อไปต้องเว้นวรรคไว้บ้างแล้วค่ะ เพื่อจะเป็นประโยชน์

ขอบคุณค่ะ

เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเห็นแล้ว  เจอยาฆ่าหญ้าแทบไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดล่ะนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท