การทำบัญชีและการจดบันทึก


การทำบัญชี
  1. ความหมาย  และประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย 
    
       หากจะกล่าวถึง  “ การทำบัญชี”  กับบุคคลทั่วไปมักจะนึกถึงสมุด  ตัวเลข  และการทำบัญชีสำหรับพ่อค้า แม่ค้าเพื่อบันทึกรายการรับเงิน  จ่ายเงิน รายการค้างจ่ายเจ้าหนี้และรายการค้างรับลูกหนี้  ซึ่งการบัญชีตามความหมายของบุคคลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีตามหลักวิชาการเท่านั้น ( พิเชษฐ์  หลั่งทรัพย์  2545 : 114 ) ซึ่งสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ให้ความหมายของ
การทำบัญชีไว้  คือ  ศิลปะของการเก็บรวบรวม  บันทึก  จำแนกและทำสรุปข้อมูล  อันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงาน
ขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ จากคำนิยาม
ดังกล่าวสามารถนำมาสรุปให้ความหมายง่าย ๆ ของการทำบัญชีได้ดังนี้
การทำบัญชี เป็นการจดบันทึกรายการค้าต่างๆที่เกี่ยวกับการรับเงินจ่ายเงิน  สิ่งของและสิทธิที่มีมูลค่าเป็นเงินไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการบัญชี       ซึ่งผู้ทำบัญชีเป็นผู้มีหน้าที่ในการทำบัญชีตามลำดับขั้นตอน  (ในที่นี้  หมายถึง ผู้ประกอบกิจการค้า) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล  จดบันทึกรายการ  การจำแนกแยกประเภท  และการสรุปข้อมูล โดยจัดทำรายงานทางการเงินเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่ง ๆ      แต่การทำบัญชีที่ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยีนี้ จะเป็นการทำบัญชีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวม     ข้อมูล  จดบันทึกรายการ  การจำแนกแยกประเภท  และการสรุปข้อมูลเพื่อให้ทราบผลการปฏิบัติงานการทำอาหารในแต่ละครั้งว่าควรจะมีกำไรเท่าไร  ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดจำหน่ายของอาหรที่ทำในครั้งนั้น ๆ ได้ 
    ประโยชน์ของการทำบัญชีสำหรับกิจการค้ามีดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีหนึ่งๆโดยบันทึกก่อนและหลังที่ราคารายการค้านั้นๆเกิดขึ้นและจัดประเภทของรายการค้าเหล่านั้น
2.เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่ใช้ควบคุมรักษาทรัพย์สินของกิจการค้าที่มีอยู่ให้ถูกต้องตรงกันทั้งในบัญชีและความเป็นจริง
3. เพื่อค้นหาข้อมูลต่าง ๆ  เพื่อวางนโยบายการค้า  และควบคุมให้การค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน  เพราะสามารถตรวจสอบได้ภายหลัง
5. เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเสียภาษี 
6. เพื่อจำแนกประเภทที่เกิดขึ้นในสมุดบัญชี  ทำให้สามารถทราบผล การดำเนินงานระหว่างงวดหนึ่ง ๆ  ว่ามีกำไร  หรือขาดทุน
ึ7. เพื่อให้ทราบฐานะกิจการค้าในวันใดวันหนึ่งว่ามีทรัพย์สินหนี้สินอะไรบ้างเป็นจำนวนเท่าใด
  2. หลักการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย 
      หลักการทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายที่ใช้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบันทึกการทำบัญชีอย่างง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากเป็นการทำบัญชีเพื่อมุ่งเน้นให้ทราบผลการปฏิบัติงานการทำอาหารในแต่ละครั้งนั้น  ผู้เรียนจำเป็นจะต้องวิเคราะห์รายการต่าง ๆได้ดังนี้
 2.1 รายรับ หมายถึง  ยอดรวมจำนวนเงินที่มาจากแหล่งต่าง ๆ  โดยได้รับในรูปของ
เหรียญกษาปณ์  เงิน  หรือเช็ค  เช่น เงินที่ได้จากการขายสินค้า  เงินเดือน  ค่าจ้าง  กำไร  รางวัล เป็นต้นสำหรับรายรับในการปฏิบัติงานของผู้เรียน  หมายถึงเงินที่ได้จาก  การกำหนดราคาขายของ   ผลงานที่ทำในครั้งนั้นๆ โดยอาจจะได้มาในรูปของตัวเงิน  หรือเป็นเฉพาะการบันทึกไว้เป็นข้อมูล
 2.2 รายจ่าย  หมายถึง  การนำเงินไปใช้จ่ายในการซื้อสินค้า  ในที่นี้หมายถึง  สินค้าที่นำมาเป็นส่วนประกอบในการปฏิบัติงาน เช่นค่าวัสดุต่างๆ ค่าเชื้อเพลิง ค่าอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่สึกหรอในการทำงานแต่ละครั้ง  ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  2.3 เงินคงเหลือ หมายถึง การนำยอดเงินรายจ่ายไปหักออกจากเงินรายรับก็จะได้จำนวนเงินที่เรียกว่า เงินคงเหลือ  หรือเป็นการนำรายการคำนวณค่าใช้จ่ายวัสดุที่ใช้จริงหักออกจากรายการซื้อวัสดุทั้งหมด  เมื่อได้ทำการวิเคราะห์รายการค้าแล้ว  ก็นำรายการที่วิเคราะห์ได้มาบันทึกรายการในบัญชีดังตัวอย่างที่  1  และตัวอย่างที่  2  จะนำรายการของการทำ  “ขนมสาลี่กรอบ”  ในบทที่แล้วมาจัดทำ  ) 
 ตัวอย่างที่  1     การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ( ในกรณีใช้วัสดุในห้องปฏิบัติการ )  และไม่ได้จำหน่ายจึงต้องใช้วิธีการเก็บเงินจากสมาชิกแทนรายรับที่จะได้  เแต่หากจำหน่ายจริงเงินคงเหลือก็จะมีมากกว่าจำนวนที่ปรากฎอยู่ในตัวอย่างนี้
วัน  เดือน ปี
 
รายการ
รายรับ
บาท / สตางค์
รายจ่าย
บาท / สตางค์
คงเหลือ
บาท / สตางค์
13  มิ.ย.  46
แป้งสาลี  300  กรัม
น้ำตาลทราย  700  กรัม
ไข่ไก่  6  ฟอง
มะพร้าว  500  กรัม
กลิ่นวานิลา   10  มล.
กระทงกระดาษ   60ใบ
ค่าภาชนะบรรจุ
รวมรายจ่าย
รับเงินสมาชิกในกลุ่ม
 5  คนคนละ 12 บาท รวม
หรือ  ผู้เรียนนำขนมไปจำหน่ายจะได้เป็นจำนวนเงิน
หักค่าใช้จ่ายข้างต้น
**เงินคงเหลือ**
 
 
 
 
 
 
 
 
 
60
120
 
9.60
14-
18-
8.50
3.40
2.70
3
58.20
 
 
 
  60
 
-
-
-
-
-
-
-
-
 
*0.80
 
 
 **60**
*  รายการคงเหลือ  0.80  บาท  ตามหลักความเป็นจริงผู้เรียนจะไม่รับเงินทอน  และครูเองก็จะรวบรวมเงินเพื่อใช้ในการหมุนเวียนซื้อเครื่องปรุงแห้งต่อไป *
**  เงินคงเหลือ**  60  บาท  หลังจากหักค่าใช้จ่าย  ผู้เรียนอาจจะนำไปเป็นเงินทุนในครั้งต่อไป  หรือจะเฉลี่ียคืนให้สมาชิกในกลุ่มก็ได้ 
   การบันทึกบัญชีรายรับ – รายจ่ายดังตัวอย่างเป็นการบันทึกรายการรายจ่ายเฉพาะรายจ่ายค่าวัสดุที่ได้จากการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนมสาลี่กรอบ  ซึ่งวัสดุต่าง ๆ ผู้เรียนจะได้
รับจากห้องปฏิบัติการที่ครูเตรียมไว้ให้     จากการคำนวณค่าใช้จ่ายและการกำหนดราคาหรือค่าบริการในบทที่แล้ว  โดยผู้เรียนไม่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายจำพวก      ค่าน้ำ  ค่าไฟ    ค่าแก๊สหุงต้ม      และวัสดุเครื่องปรุงรสต่าง ๆ   แต่ในกรณีที่ผู้เรียนดำเนินกิจการค้าจริง  สิ่งต่าง ๆที่กล่าวมาแล้ว  ผู้เรียนจำเป็นจะต้องนำไปคำนวณด้วย
การกำหนดราคาขาย  ทำได้โดยการนำราคาทุนรวมกับกำไรที่ต้องการคือ  87  +  17.40 =  104.40  ซึ่ง  104.40  คิดจำนวนเต็มได้  105  บาทและราคา  105  บาทนี้ จะเป็นราคาที่ต้องขายขนมสาลี่กรอบให้ได้  เป็นอย่างต่ำหากผู้เรียนนำขนมไปจำหน่ายจริง  ผู้เรียนอาจจะนำไปจำหน่ายได้ราคา  120  บาทเพราะได้ขนมจำนวน  60  ลูก  ราคาต่อหน่วยของขนมที่จะจำหน่าย คือ  1.75  บาท  ซึ่งในทางปฏิบัติจริงจะไม่นิยม  เพราะไม่สะดวกในการทอนเงิน
 ตัวอย่างที่  2     การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ( ในกรณีที่จัดซื้อวัสดุเอง ) 
 แต่ในห้องปฏิบัติการครูจะไม่ใช้วิธีการนี้  เพราะทำให้ผู้เรียนสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย  แต่ผู้เรียนจำเป็นจะต้องเรียนรู้  เพราะผู้เรียนต้องนำไปใช้หากผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ
วัน  เดือน ปี
รายการ
รายรับ
บาท / สตางค์
รายจ่าย
บาท / สตางค์
คงเหลือ
บาท / สตางค์
13  มิ.ย.  46
แป้งสาลี  1   ก.ก.
น้ำตาลทราย  1   ก.ก.
ไข่ไก่  6  ฟอง
มะพร้าว  500  กรัม
กลิ่นวานิลา  1 ขวด
กระทงกระดาษ   1 แถว
ถุงพลาสติก  0.5  ก.ก.
รวมรายจ่าย
รายจ่ายจากการคำนวณ
ค่าใช้จ่ายจริงรวม
วัสดุเหลือใช้คิดเป็นเงิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
32 -
20 -
18-
8.50
155 -
36 -
33 -
302.50
 
58.20
-
-
-
-
-
-
-
-
 
-
244.30
* ในที่นี้ยังไม่รวมค่าแก๊สหุงต้มอีกด้วย*
ในกรณีที่จัดซื้อวัสดุเองจะเป็นการทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายที่ผู้ประกอบการค้าในที่นี้หมายถึงผู้ประกอบการค้าอาหารซึ่งจะต้องทำกิจกรรมการค้าอาหารนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ  และอาจจะเป็นตัวของผู้เรียนเองก็ได้ในอนาคต  จึงจำเป็นจะต้องรู้หลักการบันทึกบัญชีรายรับ –รายจ่าย 
    3. ขั้นตอนการทำรายรับ – รายจ่าย      
        การทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายในการปฏิบัติงานการทำอาหารในแต่ละครั้งผู้ทำบัญชีควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
 3.1  รวบรวบข้อมูลทางการเงินโดยทบทวนจากรายการซื้อวัสดุต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง
 3.2 จดบันทึกรายการลงในบัญชี  (  รายการต่าง ๆ นำมาจากการซื้อวัสดุต่างๆที่เป็นตัวเงินในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง )
 3.3 คาดคะเนรายรับที่เป็นตัวเงิน    ได้จากการคิดหากำไร     การกำหนดราคาหรือค่าบริการในการปฏิบัติงานครั้งนั้น ๆ
        3.4 การสรุปผล เป็นการนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงินซึ่งเป็นการแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
ในกรณีนี้หมายถึงการมีผลกำไร  หรือการประสบกับสภาวะการขาดทุนหลังจากที่ได้ดำเนินกิจการค้านั่นเอง 
   4. การจดบันทึกการปฏิบัติงาน
           การจดบันทึกการปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกข้อมูลที่ได้จากผลงานของการปฏิบัติงานในแต่ละครั้งเพื่อให้ทราบว่าได้ทำอะไร
ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไร และได้แก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการปฏิบัติงานครั้งต่อๆไป ฉะนั้นการจดบันทึกการปฏิบัติงานจะต้องบันทึกให้เข้าใจง่าย  สามารถสื่อความหมายได้ตรงกันระหว่างผู้อ่านและผู้บันทึก การจดบันทึกการปฏิบัติงานทุกครั้ง
จะต้องมีการอ่านทบทวนซ้ำอีกครั้ง  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องโดยให้ผู้อื่น  (สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน) ลองอ่านแล้วตีความทั้งนี้เพื่อเป็นการประเมินผลของผู้จดบันทึกด้วยว่า การจดบันทึกการปฏิบัติงานในครั้งนั้น ๆ  มีผู้อื่นเข้าใจความหมายมากน้อยเพียงใด  
ตัวอย่างที่  3 การบันทึกผลการปฏิบัติงาน
ขนมสาลี่กรอบ
ผลงานปฏิบัติ / ลักษณะผลงาน
                 ขนมสาลี่กรอบ  เป็นขนมไทยที่ใช้รับประทานกับ  น้ำชา  หรือเป็นของหวานมีลักษณะเป็นถ้วย ๆ  มี  น้ำตาลทรายโรยหน้า  สีน้ำตาล -เหลือง  มีความกรอบสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน  โดยไม่เสีย  รสชาติหวาน  มัน  กรอบ  หอม ได้จำนวน  60  ชิ้น
ปัญหา / อุปสรรค
                  ขนมมีสีน้ำตาลเหลือง  ไม่ได้ตามต้องการ
ข้อเสนอแนะ
                   ควรติดเตาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมไฟให้ได้อุณหภูมิที่ต้องการ  และไม่เสียเวลา  ก่อนการนำขนมไปอบ


5.
ความหมาย และประโยชน์ของการประเมินผล
การประเมินผล  หมายถึง  กระบวนการตีความหมาย  และตัดสินคุณค่าจากสิ่งที่วัดสำหรับประโยชน์ของการประเมินผลมีดังนี้
 5.1 เพื่อให้ทราบผลการตัดสินของสิ่งที่วัด
 5.2 เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของสิ่งที่ทำ
 5.3เพื่อนำผลที่ได้รับไปใช้ในการปรับปรุง  และพัฒนา
 6.    แนวทางการประเมินผล
       แนวทางการประเมินผลทางด้านอาหาร  แบ่งเป็น  2  ลักษณะ  คือ
 6.1   ด้านคุณภาพของอาหาร
            คนเราเมื่อจะเลือกกินอาหาร  มักจะต้องใช้ประสาทสัมผัสทางกายภาพทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น การสัมผัส การได้กลิ่น การรู้รส  และแม้กระทั่งการได้ยิน เช่นในการทำข้าวเหนียวแก้ว  ถ้ามีสีเขียวของใบเตยตามธรรมชาติ จะมีสีเขียวเข้มไม่สดใส  รสชาติ หวานมัน  และเมื่อเคี้ยวข้าวเหนียว จะมีความนุ่มไม่แข็ง  ซึ่งเป็นลักษณะหรือคุณภาพของข้าวเหนียวแก้วที่คนทั่วไปยอมรับ  จึงนับได้ว่าเรากินอาหารโดยใช้ทั้งตา    ลิ้น  เพดานปาก  ฟัน  จมูก  และหู  ฉะนั้นในการประเมินผลอาหาร  จึงจำเป็นต้องตรวจสอบลักษณะดังกล่าว   เพื่ออาหารจะได้เป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป ลักษณะของอาหารที่เราสามารถทราบได้จากประสาทสัมผัสแบ่งเป็น 3 อย่างคือ
 1)ลักษณะที่มองเห็นได้  ตัดสินด้วยตา  เช่น  ลักษณะรูปร่าง  ขนาดความเป็นมัน ความใส  สีต่าง ๆ  ความเหนียวหนืด  ความขุ่น  นูน  หยาบ  ตกผลึก  เป็นเมือก  ย่นเป็นต้น
    2) ลักษณะที่สัมผัสได้  ตัดสินด้วยมือ  ปาก  ลิ้น โดยการสัมผัส   เช่นความอยู่ตัว  ความนุ่ม  ความชุ่ม  ความหยุ่น  ลักษณะหนึบ ๆ  ลักษณะร่วน  เป็นเกล็ด  เป็นกาก  เหนียว  เป็นต้น
 3) ลักษณะที่รู้รสชาติได้  รสชาติมีความหมายรวมทั้งรส  และกลิ่น ตัดสินด้วยประสาทสัมผัสในปากและจมูก  เช่น  รสหวาน เค็มเปรี้ยว  ขม  กลิ่นหอมหวาน กลิ่นเปรี้ยว  กลิ่นไหม้  กลิ่นเหม็นสาบ  เป็นต้น
  6.2    ด้านการทำกิจการค้าอาหาร
             การประเมินผลของการทำกิจการค้าอาหาร  เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ทราบถึงความก้าวหน้าของกิจการว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใดหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการประเมินผลและวิธีการปฏิบัติงานของบุคลากรในการจัดการค้าอาหารนั้น ๆ การประเมินผลจะได้ครบถูกต้องสมบูรณ์มากน้อยเพียงใดนั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้มาหากข้อมูลนั้นมีความสมบูรณ์ก็จะทำให้ได้รับผลการปฏิบัติงานได้ถูกต้อง  โดยทั่วไป การประเมินผลของการทำกิจการค้าอาหารที่นิยมปฏิบัติกันมีดังนี้
               1) ขนาดของกิจการ
                  ขนาดของกิจการ หมายถึง กิจการของร้านค้าว่ามีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก และเมื่อเริ่มก่อตั้งกิจการเทียบกับระยะเวลาหลังจากการตั้งร้านค้ามาแล้วประมาณ1 เดือนหรือ  1  ปี  ถ้าขนาดของกิจการเจริญขึ้น  และจำเป็นต้องขยายกิจการให้กว้างออกไป  แสดงว่าร้านค้าที่จัดตั้งมีกิจการดีขึ้น  สิ่งเหล่านี้ย่อมอาศัยปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน  เช่น  การบริหารที่ดี  อาหารอร่อย  การจัดตกแต่งร้านค้าชวนให้น่าเข้าไปรับประทาน  หรือชวนให้อยากเข้าไปพักผ่อน  การตกแต่งร้านค้าเป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดใจลูกค้า แต่ถ้ากิจการของร้านค้านั้นเมื่อจัดตั้งมาแล้วประมาณ  1  เดือน  หรือ  1  ปี  ยังต้องคงสภาพเดิมหรือแย่กว่าเดิม  ก็ควรจะพิจารณาหาสาเหตุว่าเพราะเหตุใดกิจการจึงแย่ลงกว่าเมื่อแรกตั้ง  เกิดการรั่วไหล  การบริการไม่ดี  อาหารไม่อร่อย  การตกแต่งไม่ดีหรืออย่างไร  เจ้าของร้านควรศึกษาหาสาเหตุต่าง ๆ  ที่ทำให้กิจการล้มเหลว  เพื่อแก้ไขปรับปรุงสาเหตุเหล่านั้นให้ดีขึ้น  โดยพยายามหาสิ่งจูงใจลูกค้าให้เข้าร้าน           
            2) การบริการ
                   การบริการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญของการจัดตั้งร้านอาหาร  เพราะการบริการที่ดีจะเป็นที่ประทับใจของลูกค้า  เป็นสิ่งจูงใจลูกค้าให้มาใช้บริการอีกและเป็นการโฆษณาร้านไปในตัว  เพราะว่าลูกค้าชักชวนต่อ ๆ ไป  โดยที่ทางร้านไม่ต้องเสียค่าโฆษณาใด ๆ เลย  นี่คือผลพลอยได้ของร้านที่ได้รับจากลูกค้า
            3) ความสะอาดของร้านอาหาร
                    ความสะอาดของร้านค้าที่สะอาดจัดตกแต่งได้สวยงามเป็นสิ่งดึงดูดใจลูกค้าให้อยากเข้าไปนั่งรับประทานอาหาร  ดังนั้นความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการมีความรู้สึกว่า ตัวเองปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ   สามารถนั่งรับประทานอาหารด้วยความสุขกาย สบายใจ  เพราะสภาพแวดล้อมที่นั่ง สะอาดหมดจด  สวยงาม  อากาศสดชื่น  เป็นต้น   
                    เมื่อดำเนินงานต่าง ๆ ไปแล้ว  จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการวัดผลและปรับปรุงงานอยู่ตลอดเวลา  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ทั้งภาวะเศรษฐกิจ  ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่       รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านธุรกิจ สำหรับการปรับปรุงจะต้องดำเนินไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ด้านทั้งด้านบุคลากร  อุปกรณ์ สถานที่และ  การบริหารงาน ทั้งนี้เพื่อให้กิจการค้าอาหารประสบผลสำเร็จตามความคาดหมาย
                        7.   แนวทางในการปรับปรุงงาน
      การปรับปรุงงานในการปฏิบัติงานของผู้เรียนจะเป็นการพัฒนาทักษะการทำงานของผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนทราบผลการพัฒนาการทำงานของตัวผู้เรียนและสมาชิกในกลุ่ม  ในการทำงานแต่ละครั้งทั้งด้านควรจะมีการประเมินผลหลาย  ๆ ด้าน  ทั้งด้านการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน   คุณธรรม จริยธรรมในการทำงาน  ทักษะการทำงาน และการปฏิบัติงานดังแสดงไว้ในตัวอย่างที่  4  แบบประเมินทักษะการทำงาน   สำหรับตัวอย่างที่ 5  และตัวอย่างที่ 6  จะเป็นตัวอย่างการประเมินผลงานอาหาร  เพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลงานที่ทำในแต่ละครั้ง ทั้งยังเป็นการช่วยให้ผู้เรียนนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงงาน  และผลงานในครั้งต่อ ๆ ไป  ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการประเมินควรแจ้งให้ผู้รับการประเมินทราบว่ามีส่วนบกพร่องในส่วนใด  เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที  งานก็จะดีขึ้น ๆ  ตามลำดับ  การทำงานก็จะประสบผลสำเร็จ       
 
                                 
หมายเลขบันทึก: 472387เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2011 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วชอบกระบวนการแนวคิดที่มีการ "ปรับปรุงงาน" มากครับ เพราะถือเป็นกระบวนการของการทำงานเกิดองค์ความรู้ เป็นการช่วยให้ชีวตข้ามพ้นไปจากข้อผิดพลาดนั้นๆ...

ทำบัญชีเพื่อการเรียนรู้ ทบทวน แล้ววางแผนจัดการในอนาคต รู้จักตนเอง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท