การไม่พูดของเด็กในชั้นเรียน : No trust no talk


ปัญหาที่เด็กไม่พูดในชั้นเรียน ส่วนหนึ่ง เพราะมาจากความกลัว

    ผมนำปัญหาเด็กไม่พูดในชั้นเรียน ไปปรึกษาหารือกับคุณครูที่บ้าน ว่าเป็นเพราะเหตุใด   แล้วจะแก้ได้อย่างไร   โดยผมให้ข้อสังเกตไปว่า  บางที  การป้อนคำถามง่ายๆ  สำหรับเด็กปานกลาง เด็กอ่อน เพื่อให้เขาตอบได้ จะยิ่งเหมือนกับไม่ได้ช่วยให้เขาเข้มแข็งขึ้นมาได้เลย  เหมือนกับเอาใจเขาเพื่อให้เขาตอบได้เท่านั้นเอง  และจะเป็นการยิ่งแบ่งกลุ่มเด็กให้ชัดเจนขึ้นไปอีก

 


     คุณครูที่บ้านบอกว่า  จริงๆ แล้ว   เด็กเขาพัฒนาได้   และ ที่เด็กเขาไม่พูด  ไม่ตอบนั้น  ไม่ใช่เขาไม่เก่ง  แต่เป็นเพราะเขา "กลัว"  เขากลัวครู   เมื่อตอบไปแล้ว  ถ้าตอบถูกก็รอดตัวไป  ถ้าตอบผิด จะถูกครูดุ   ครูเยาะเย้ย  ตำหนิ  เสียดสี  ไม่ได้รับการยอมับจากครู  เขากลัวตรงนี้มาก เขาเลยไม่กล้าตอบ

     ประมาณว่า No  trust  no  talk

     และเด็กพวกนี้  สั่งสมความกลัวเหล่านี้มานาน  ทั้งจากที่บ้านและที่โรงเรียน  การที่จะแก้ให้กล้าพูด  ต้องใช้เวลา  อย่างเร็วที่สุด ๒ เดือน

 


     ต้องใช้คำถามง่ายๆ ที่ให้เขาพอตอบได้  พร้อมกับการให้การยอมรับยกย่องชมเชย  และ ในกรณีที่ตอบผิด  จะไม่ไปดุด่าว่ากล่าว  ตำหนิ จับผิด  แต่จะยอมรับคำตอบของเขาด้วยความชื่นชม

      เมื่อเด็กเขาได้พูด  ได้แสดงออก   ได้้ออกจากพืนที่แห่งความกลัว 

       เด็กพวกนี้  จะพัฒนาได้เร็วมาก สามารถสปีดขึ้นมาได้เท่าเทียมกับเด็กเก่งได้เลยครับ

 


หมายเลขบันทึก: 471892เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2011 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • เรียน "ท่าน small man" ดิฉันเห็นด้วยกับคุณครูที่บ้านของท่าน ที่บอกว่า สาเหตุที่เด็กไม่พูดไม่ตอบนั้น  เป็นเพราะเขา "กลัว" ... (เป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งในอีกหลายสาเหตุค่ะ)
  • โดยทั่วไปแล้ว บรรยากาศในชั้นเรียน (Classroom Atmosphere) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัมพันธภาพระหว่างครูอาจารย์กับผู้เรียน จะส่งผลถึงพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม การซักถามและแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน ห้องเรียนของไทยเราทุกระดับการศึกษา มักจะสร้างบรรยากาศแห่งความกลัว ความวิตกกังวลให้กับผู้เรียน คือ กังวลว่าจะถามอะไรออกไปโง่ๆ จึงไม่กล้าถาม กลัวจะตอบไม่ถูกจึงไม่กล้าตอบ กลัวจะแสดงความคิดเห็นที่คนอื่นมองว่าไม่เข้าท่า จึงไม่กล้าแสดงความเห็น เพราะฉะนั้น ควรเสริมแรงที่ "พฤติกรรมการซักถาม การตอบคำถาม และการแสดงความเห็น" โดยบอกว่า เป็นสิ่งที่ครูต้องการ ไม่ว่า คำถาม คำตอบ และความเห็นนั้นจะเป็นอย่างไร (ยกเว้นการถามเพื่อก่อกวน หรือนอกเรื่องด้วยเจตนาเรียกร้องความสนใจ) 
  • ดิฉันมีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้ ที่อยากจะขอแลกเปลี่ยนค่ะ
  • ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ดิฉันได้ใช้พฤติกรรมอย่างเดียวกันกับนักศึกษาสองสาขา แต่กลับพบว่า พฤติกรรมของนักศึกษา 2 สาขาต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษจะมีส่วมร่วมในการซักถาม ตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นค่อนข้างมาก ในขณะที่นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์จะเป็นตรงกันข้าม จนดิฉันต้องให้สาขาหลังไปสังเกตพฤติกรรมการเรียนของสาขาแรก และตอนหลังนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สารภาพว่า ที่พวกเขาไม่กล้าตอบเพราะถูกอาจารย์วิทยาศาสตร์สอนว่า ถ้าไม่รู้จริงไม่ต้องตอบ ดิฉันเลยปรับความคิดของนักศึกษา และได้นำเรื่องนี้ไปพูดในที่ประชุมบุลากรมหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับอาจารย์ทุกสาขา โดยแสดงทัศนะว่า อาจารย์ไม่ควรปลูกฝังความคิดเช่นนั้นให้กับนักศึกษา และยกตัวอย่างว่า นักวิทยาศาสตร์กว่าที่เขาจะค้นพบคำตอบที่ถูกต้อง เขาต้องเก็บข้อมูลแล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ครั้งแล้วครั้งเล่ากว่าจะพบคำตอบที่ถูกต้อง บางคนใช้เวลาถึง 20 ปีกว่าจะได้คำตอบที่ตรงกับสมมุติฐาน
  • ดิฉันก็ไม่ทราบว่า ผู้บริหารและอาจารย์คิดอย่างไร เพราะทุกคนฟังอย่างเงียบกริบ และพอดิฉันพูดจบก็ไม่มีใครกล่าวอะไร มีเพียงอาจารย์รุ่นน้องคนหนึ่ง ยกนิ้วหัวแม่มือให้ ตอนเลิกประชุมแล้ว (น้อยครั้งมากค่ะ ที่ดิฉันจะแสดงความเห็นในที่ประชุมที่มีเวลาจำกัดเช่นนั้น)
  • 

เรียน ท่าน อาจารย์ วิไล ที่นับถือ

     ขอพูดถึงประเด็นอาจารย์วิทยาศาสตร์หน่อยครับ  คุณครูที่บ้านผมบอกว่าที่ใจกว้างฟังเด็กได้ มาจากอาจารย์ที่สอนวิทยาศาสตร์สมัยเรียนครูครับ  อาจารย์สอนวิทย์บอกว่า  ความรู้ไม่ตายตัว  มีความรู้ที่หลากหลาย  เราต้องยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาตัวเราเอง   ก็เลยนำเอาแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับเด็ก นั่นคือ รับฟังคำตอบของเด็กทุกคำตอบ และ รับฟังคำถามของเด็กทุกคำถาม

    ประเด็นนี้  ดีมากครับ  การเสริมแรงในคำถาม และ คำตอบของผู้เรียน เมื่อเด็กรู้ว่าการถามและการตอบของเขา ถึงจะถูกผิดอย่างไร ก็ได้ระบการยอมรับจากคุณครู  จะทำให้เขากล้าคิด กล้าถามกล้าตอบ

    สำหรับเรื่องที่อาจารย์นำไปพูดในที่ประชุมบุคลากรมหาวิทยาลัย  ผมขอชื่นชมครับ  เป็นความกล้าหาญ มากครับ ถูกต้อง แต่อาจไม่ถูกใจใครหลายคน   ผมก็จะนำไปพูดให้ผู้บริหารฟังบ้างครับ สองเรื่องสองประเด็น ที่ได้มาจากท่านอาจารย์ และ คาดว่าผลที่ออกมา คงจะเงียบกริบเหมือนกัน ๕๕

        ขอบคุณมากครับอาจารย์  ที่กรุณามาเสริมเติมเต็ม 

    

   

Ico48ขอบคุณมากครับอาจารย์ นำงานวิจัยดีๆมาฝาก

 

การหาวิธีลดช่องว่างทางอารมณ์ระหว่างเด็กและครู จนเกิดความสนิทสนม ไว้วางใจ นับเป็นศิลป์ที่ต้องใช้เวลาและความอดทนสูง แต่คุ้มค่านะคะ..ขอให้กำลังใจค่ะ..

 

ขอบคุณมากครับคุณนงนาทสำหรับกำลังใจที่ดีและมีคุณค่าครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์ วิชชา ครับ

ผมอ่านบันทึกของท่านอาจารย์ทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า เคยดูวีดีโอ ประเด็นนี้ของต่างประเทศ ใน "Thai Teacher TV" ครับ เลยรีบกลับไปค้นหาลิงค์ให้ท่านอาจารย์ ตามนี้นะครับ http://www.thaiteacher.tv/vdo2.php?id=1982 น่าสนใจมากครับ ผมคิดว่าอาจจะนำมาบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ของท่านอาจารย์ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ผมถือโอกาสนี้อวยพรปีใหม่ให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพ พลานามัย ที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดปีใหม่ และปีต่อๆไปครับผม ด้วยความเคารพครับ ^_^

ขออภัยท่านอาจารย์วิชชา นะครับ รู้สึกว่าที่อยู่ Web ลิงค์ไม่ได้ เดี๋ยวผมจะหาช่องทางส่งให้นะครับผม

Ico48ขอบคุณคุณธนากรณ์มากครับ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรรู้พร้อมสาระดีๆ ที่นำมาฝาก

      ปีใหม่นี้ขอให้มีความสุขมากๆ สุขกายสบายใจครับ

สวัสดีครับท่านรองฯ

การไม่พูดของเด็กที่เค้ารู้สึกว่า เค้าเป็นเด็กกลุ่มอ่อน กลุ่มกลาง อีกประเด็นหนึ่ง คืือ อาจเป็นเพราะ เค้าคิดไม่มีใครฟังสิ่งที่เค้าคิด เค้าพูด เลยไม่อยากพูดไปเลยครับ พูดไปเสียงก็ไม่ดังเท่าเด็กกลุ่มเก่ง

ขอบคุณครับ

Ico48ขอบคุณครับ อ.คมสัน

      ดีมากเลยครับ พูดไปก็เสียงไม่ดัง เท่ากับเด็กกลุ่มเก่ง

            จะได้นำไปพูดคุยกับคุณครูครับ

ที่โรงเรียนน้องต้นไม้ เด็กๆ และผู้ปกครองจะเรียกคุณครูว่าพี่กันทุกคนค่ะ ซึ่งลดความกลัวคุณครูลงได้นะคะ

Ico48ขอบคุณมากครับ อ.ดร.จันทวรรณ

    คุณครู "กล้า" มากเลยนะครับ  ที่ให่นักเรียนเรียกว่า พี่

    "กล้า"  ลด อัตตา ตัวเองลงมา เพื่อลดช่องว่าง ลดความกลัว

                "ดีมากเลยครับ"

เรียน ท่านอาจารย์ วิชชา ครับ ลิงค์คลิปวีดีโอ (ทดลองครับ)http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=1982

ลิงค์ล่าสุดเปิดได้แล้วนะครับท่านอาจารย์ ผมทดสอบแล้วครับผม

Ico48ขอบคุณมากครับ สำหรับคลิบการศึกษาดีๆที่มีคุณค่า  จะกลับไปดูที่บ้านครับ  เครืองที่ทำงาน ไม่มีเสียง ๕๕

              ขอบคุณครับ

คุณธนาการณ์ครับ  เข้าไปดูมาแล้วครับ ดีมากเลย เป็นงานที่ยากอยู่เหมือนกันนะครับ ต้องใจเย็นและใช้เวลา  จะได้นำไปเผยแพร่ให้คุณครูต่อไปครับ

                     ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท