มองในมุม บวก บวก งานคัดกรองไต ++++


มองในมุมไม่ทำตามใจใคร แต่ทำตามใจเรา คือ “สนใจว่าคนไข้ที่ไม่ได้รับการตรวจ ก็จะได้รับการวินิจฉัยช้า การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไตก็จะช้าไปด้วย” มองมุมนี้จะเกิดพลังบวก

มองในมุมไม่ทำตามใจใคร แต่ทำตามใจเรา คือ “สนใจว่าคนไข้ที่ไม่ได้รับการตรวจ ก็จะได้รับการวินิจฉัยช้า  การรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไตก็จะช้าไปด้วย”  มองมุมนี้จะเกิดพลังบวกอยากจะทำงานเยอะ

การตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะจะบ่งบอกว่าเริ่มจะเกิดโรคไต หากไม่ตรวจแต่แรกก็อาจจะกลายเป็นโรคไตเสื่อม และในที่สุดกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้นการตรวจปัสสาวะเพื่อหา Albumin ในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงมีความจำเป็น หลายปีที่ผ่านมาการตรวจคัดกรองไตเราทำได้ไม่ถึง๔๐%ซึ่งไม่ดีนัก

 

    ดีใจได้งานเพิ่ม..หน้าบานตามๆกัน
  • ความพยายามในการพัฒนามีมาเรื่อยๆ มีหลายครั้งที่มีหลายเหตุการณ์มาสะกิดเตือนให้เรารีบเร่งทำงานพัฒนา เพื่อให้ผู้ป่วยที่เราดูแล ได้รับการดูแลที่ดี  ล่าสุดกับคนใกล้ตัว น้องธุรการที่เคารพก็มีอันต้องขออนุญาติลาออก ไปดูแลแม่ที่เป็นไตวายเฉียบพลันที่วนเวียนอยู่กับการทำCAPDวันละ ๕ ครั้ง ชีวิตเปลี่ยนจากงานธุรการเป็นเหมือนงานค้าขายทันที บวก-ลบ-คูณ-หาร/ เข้า-ออก/ กำไร-ขาดทุน ...ทำให้ได้คิด เราเป็นคนโชคดี ที่เป็นหนึ่งในคนที่ได้โอกาสในการทำงาน เกิดการclick เปลี่ยนความคิด พลิกเป็นพลัง เกิดพลัง ......และนำสู่กระบวนการวางระบบ..การทำงานในเครือข่ายอำเภอเมือง...ทันที จบและเสร็จใน ๗ วัน

 


เพราะแผ่นตรวจมาแช่อยู่ในตู้เย็นได้ระยะหนึ่งแล้ว..แต่ติดขัดนิดๆหน่อยๆ ..ก็เลย(ช่างมัน)และนำสู่การปรึกษาอ.นพ.วิรัช ประธานคณะทำงานเบาหวานอำเภอเมืองฯ ชี้ทางสว่างผ่าทางตัน ทำโลด ...........

 แผ่นตรวจใครก็มีได้   แต่โจทย์คือ ทำอย่างไรจะทำให้เกิดการทำงานที่ราบรื่น  ใช้ให้คุ้มค่า คุ้มทุน มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คนทำงานในเครือข่ายไม่รู้สึกว่าเป็นภาระ หรืองานเพิ่ม

  • สำคัญคือ flow chart แสนสั้นที่เราภาคภูมิใจ...ดังรูป.

(รอแก้ไข flow ฉบับเต็ม พิมพ์ผิดเลยตัดออก).

การที่flow จบที่ให้โทรศัพท์ปรึกษาแพทย์ประจำรพ.สต. เมื่อพบค่า>๒๐ mg/l ......ถือเป็นเกณฑ์ที่อยู่ในระดับอ่อน...แต่ก็แสดงให้เห็นว่า “ทีมแพทย์เวชศาสตร์ พร้อมอยู่เคียงข้างคุณ”  .....ทุกที่ทุกเวลา.....โอ้....ประทับใจ....ก็ตรงใจเพราะพื้นที่ทำงานเยอะแล้ว...ช่วยๆกัน 

  • ราคา ๓o กว่าบาทต่อแผ่น  รวมแล้วหลายแสนคงคุ้มค่า  กับงานคัดกรองตรงนี้...คัดกรองเสร็จได้เป้าทะลักทลาย ไม่ใช่งานจบ..แต่งานใหม่เราจะเริ่มแตกหน่อ ออกดอกออกผลต่างหาก เพราะเราคาดว่าปี๒๕๕๕นี้คงพบผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมระยะต่างๆที่ทำให้เราชาวงานบริการปฐมภูมิได้ทำงานส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น โดยบทบาทใน Stage ๑-๒-๓ เป็นบทบาทหน้าที่หลักที่เราต้องทำด้วยใจ สื่อให้รู้ ให้เห็น นำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงและปรับการรักษาให้เหมาะสม โดยมีทีมแพทย์ทำหน้าที่อย่างเข็มแข็ง  (ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาควบคุมโรค จำกัดความเค็ม  จำกัดอาหารโปรตีน จำกัดการกินผลไม้)

ในส่วน Stage ๔-๕ : รพ.พุทธชินราช มีทีมระดับtertery ที่เข้มแข็งอยู่แล้ว เราเพียงทำหน้าที่ประสานทุกรอยต่อให้ราบรื่น  ส่งต่อ หรือรับส่งกลับ ตามดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดังสโลแกนเบาหวานพุทธชินราชที่ว่า“ต่อเนื่อง-เชื่อมร้อย-เชิงรุก”  ก็แจ่มๆ กันไป 

งานเราไม่ได้หวังผลอะไรมากไปกว่าการได้ทำงานที่ดี มีคุณค่าเกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไข้  ท้ายสุดของทีมที่ดี เกิดระบบงานที่ดี ...เครือข่ายเข้มแข็ง.....ผลลัพธ์สุดท้าย..ที่เราคงได้เห็น คือได้พบได้ดูแลคนไข้ไตวายระยะท้ายที่ต้องบำบัดทดแทนไต ไม่ว่าจะเป็นทำ CAPD หรือทำHD  ในเวลาที่เหมาะสม...ไม่ไวจนเกิดไป จนระบบรับไม่ไหว  และหมายถึงเงินจำนวนมหาศาลที่จะถูกใช้ในการดูแล ที่สำคัญชีวิตคนเป็นคุณภาพชีวิตตก...

สรุปงานในระยะที่ ๑

  1. ร่วมกับทีมทำflow chart การคัดกรองให้เหมาะกับพื้นที่

2. กำหนดเป้าหมายการคัดกรอง...

  • เป้าหมายพื้นที่ คือ ๒๐ รพ.สต เครือข่ายรพ.พุทธฯ และ ๔ PCU เขตเทศบาล
  • เป้าหมายประชาชนคือกลุ่มเบาหวาน+ความดันโลหิตสูง ที่รักษาที่รพ.สต (ไม่รวมรักษาที่รพ.)เพื่อลดการซ้ำซ้อนในการส่งตรวจ

3. ระยะเวลาการเก็บ เริ่ม ธ.ค ๕๕-มิย.๕๕ เริ่มคัดกรอง รอบนี้เรากระจายแผ่นลงในพื้นที่โดยจัดสรรตามยอดผู้ป่วย ใช้แผ่นประมาณ ๔,๐๐๐ test และถ้าแผ่นไม่พอใช้ให้เบิกเพิ่มได้

  • หลังเดือนมิ.ย ๕๕ จะวางแผนต่อ

4.วางระบบการเก็บข้อมูลโดยให้พื้นที่ส่งข้อมูลเข้ามาในร.พ และ คลินิกเบาหวานPCU จะนำข้อมูลมาลงในprogram “DM center v๑.๑.๓”

5.เมื่อได้อุปกรณ์แล้ว มีระบบแล้ว ก็ตามด้วยการเสริมความรู้และทักษะการใช้แผ่น  ในวันนี้เราจัดอบรมทั้งความรู้และฝึกปฏิบัติ จำนวน ๔ ชม.โดยอ.วิรัช และน้องเขต น้องเฟินจากบริษัทโรช ไดแอกโนสติกส์  

 

 อาจารย์วิรัช ใส่ใจที่รายละเอียด เกาะติด ทุกขั้นตอน...ให้ฝึกจิ้ม จุ่ม ทุกคน ไม่หนำใจ ให้วางแผ่นทิ้งไว้ 1 ชม และสังเกตุดูว่าสีเปลี่ยนไปเฉดไหน ผลออกมาว่าไม่เปลี่ยนไปจากเดิม ....แต่เรายังใช้วิธีนับเหมือนเดิม

เมื่อครบกำหนดเดือนมิถุนายน เราคงได้ผู้ป่วยที่จะต้องมาจัดการลดความเสี่ยงหรืออะไรอีกมากมาย ก็หวังว่างานของเราจะช่วยค้นหาผู้ป่วยเพื่อนำมาวินิจฉัยได้เร็วขึ้น และผู้ป่วยที่เริ่มมีความผิดปกติในระยะต่างๆ ๑-๒-๓/๔-๕ จะได้รับการรักษาที่เหมาะสม ดูแลเหมาะสมต่อไป  “ไตวาย คงตายไม่ไว ในอ้อมกอดเรา”...เราหวังไว้อย่างนั้น

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

 

คำสำคัญ (Tags): #คัดกรองไต
หมายเลขบันทึก: 470756เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2011 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คิดถึงทีมเบาหวานพุทธชินราชทุกท่าน เมื่อไหร่จะได้ล่องใต้มาอีกครับ

มาเชียร์ น้องอ้อออออ...เยี่ยมไปเลย เด๋วจะไปชวน PCU มาอบรมด้วยบ้าง

ทีมเบาหวานพุทธชินราชและเครือข่ายยังเดินหน้าพัฒนางาน ดูแลผู้เป็นเบาหวานอย่างไม่หยุดยั้งเลยนะอ้อ ขยันจริงๆ ถ้าทำได้ดีคิดว่าผู้ป่วยเบาหวาน ความดันของเราจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไปอีกนานๆเลยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท