กู้บ้านหลังน้ำท่วม


กู้บ้านหลังน้ำลดลง

น้ำท่วมบ้าน.. บ้านน้ำท่วม

สภาพความเสียหายแตกต่างกันตามสภาพ ...

... แช่นาน ??? .... ท่วมสูง ??? .... สภาพแวดล้อม ???

.... สิ่งเหล่านี้ย่อมแตกต่างกันไป

 

ตอนนี้ระดับน้ำหลายแห่งเริ่มลดลงแล้ว  ก็เข้าสู่ขั้นตอนที่ต้องกู้บ้านกลับไปให้สามารถรับใช้เราได้เหมือนเดิม  ...  บ้านคือวิมานของเรา    

....  ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะบางประเด็นจากคนที่เคยเจอน้ำท่วมจากโคลนถล่มที่อุตรดิตถ์ปี 2549 นะครับ  อาจแตกต่างกันบ้างจากสภาวะการณ์ คือ ผมเจอกน้ำแช่ขัง 3 วันเท่านั้น  แต่เต็มไปด้วยดินโคลนสีแดงละเอียดที่ชอนไชเข้าไปทุกซอกมุมที่น้ำเข้าไปถึง  และ เอาออกยากมากๆๆๆๆๆ  เพราะครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์  Landslide  แต่ครั้งนี้เป็นน้ำที่แช่นาน  ไม่มีโคลน...แต่เน่า และ ตะไคร่น้ำเกาะจับ แน่นอน  พร้อมกับความสกปรกจากขยะจำนวนมาก ... แต่อย่างไรก็ตามก็มีแนวทางคล้ายๆ กันนะ  ว่าแต่เรื่องบ้านนะครับ..

          เตรียมตัวกลับเข้าบ้านครั้งแรก 

          ...ต้องมีรองเท้าบู๊ท  ไขควงตรวจวัดไฟ  ไขควงปากแฉกปากแบน  ประแจต่างๆ นิดหน่อย  ถุงดำ  เชือกฟาง แปรง..ขนพลาสติค  ขนทองแดงทั้งแบบไม่มีด้าม มีด้ามสั้นและด้ามยาว  ถุงมือ  อุปกรณ์ไฟฟ้าพวกฟิวส์ต่างๆ หมวกคลุมผม ผ้าขี้ริ้ว น้ำยาทำความสะอาด ผงซักล้าง เป็นต้น  แต่คนที่อยู่กับบ้านตลอดมาก็ไม่กระไรนัก  คงเดินไปเดินมาเข้าใจสภาพบ้านของตนเองดี  และ ไม่มีอะไรทำก็ขัดๆ ถูๆ อยู่เสมออยู่แล้ว ...

          ปฏิบัติการ

          ๑. ใส่รองเท้าบู๊ทเข้าบ้าน เพราะถ้าน้ำลดลงดินหมาดๆ หนูออกหาอาหาร ฉี่หนูอันตราย รวมทั้งพยาธิต่างๆ  สารเคมี  ของมีคม และรวมทั้งสวมถุงมือ

         ๒. อย่ายกคัดเอาท์ทันที  เดินสำรวจดูเต้าไฟที่แช่น้ำทุกจุด ตรวจดูทั้งปลั๊ก สวิทต์ปิดเปิดไฟ รวมทั้งสายกราวน์ปกติดีอยู่หรือไม่ ต้องตรวจวัดไฟรั่วด้วยความพิถีพิถัน มั่นใจจึงใช้งานได้  เพราะนั่นคือชีวิต...

         ๓. ตรวจความเสียหายของประตูหน้าต่างหรือส่วนอื่นๆ ที่เป็นกระจก ถูกน้ำกระแทกแตกหรือไม่ .... เดี๋ยวมีบาดแผลโดยไม่จำเป็นและงานกร่อยเลยแหละ

         ๔. เมื่อคิดว่าปลอดภัยแล้วก็เริ่มเก็บขยะใส่ถุงดำทิ้งเสียก่อน  บ้านที่มีเครื่องใช้ทำจากไม้จากการอัดกาว... เมื่อถูกน้ำกองเป็นขยะมหึมาทีเดียว

         ๕. เริ่มล้างทำความสะอาดผนังและเครื่องใช้ต่างๆ ที่พอฟื้นขึ้นมาได้  ตรงนี้นะครับถ้าเข้าบ้านได้ตั้งแต่น้ำเริ่มลดจะดีมากๆ เพราะจะได้ล้างตามระดับน้ำลงไปเรื่อยๆ โดยใช้น้ำที่ขังนั่นแหละล้าง เมื่อน้ำลดลงเราก็ล้างตามลงไปเรื่อยๆ .. เพราะถ้ารอให้แห้งจะล้างออกยาก  ยิ่งแห้งหลายวันยิ่งยากขึ้น  ...  สุดท้ายรอจนน้ำลงสุดๆ ค่อยใช้น้ำสะอาดล้างรอบสุดท้าย 

        ๖. ห้องน้ำ  อย่าเพิ่งกดชักโครกทันที  (โดยเฉพาะบ้านที่อุดสาระพัดรูไม่ให้น้ำเข้ารวมทั้งระบบของส้วมด้วย) ...  กันแรงอัดที่อาจทำให้ส้วมระเบิดได้ ... ดูไม่จืดเลยนะนั่น... งานเข้าอีกเพียบเลยหล่ะ ???

         ๗. ตรวจรอยร้าว.... หลังจากน้ำลดลงไปมากแล้ว เห็นโครงสร้างของเสา  ผนังชัดเจนแล้ว  ดูว่ามีรอยร้าว หรือ บวม บ้างหรือไม่  โดยเฉพาะตามบริเวณที่มีเหล็กเป็นโครงยึดภายใน  เช่น .. เสา  คาน  เอ็นทับหน้าต่าง-ประตู เป็นต้น เหล็กโครงสร้างอาจบวมได้  ถ้าเห็นต้องปรึกษาช่างแล้วครับ         

         ๘. ท่อน้ำบวม ตรงนี้ตรวจดูยาก  แต่สังเกตรอยน้ำผุด น้ำซึมจากดินขึ้นมาให้เห็น  หรือ น้ำไหลอ่อนแต่มิเตอร์หมุนติ้วๆๆ  อาจเกิดจากท่อน้ำบวมแตกรั่วซึมได้  เพราะท่อน้ำที่ฝังดินจากฝังกลบครั้งแรก ดินยุบตัวไม่เท่ากันอยู่แล้วทำให้ท่อน้ำบิดตัวตามไปด้วย  เมื่อน้ำท่วมดินชื้นบวม ถูกเหยียบ  อีกสารพัดสาเหตุทำให้ท่อน้ำเหล่านี้เสียหายได้ 

         ๙. สีบวม  .. การเกิดสีบวมเพราะสีน้ำน้ันส่วนประกอบสำคัญ คือ แป้ง แช่น้ำนานๆ ก็บวมได้  ส่วนวอลเปเปอร์ไม่ต้องพูดถึงลอกได้เลย  สีบวมก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไร  ไม่ได้เกี่ยวกับโครงสร้าง  ... ถ้ามีแรง ก็ หาอุปกรณ์มากลิ้งๆ กันใหม่ ถือโอกาสเปลี่ยนลุ๊คให้ซาบซ่าแก้เซ็งไปซะเลย...  

        ๑๐. อื่นๆ  .....  เฟอร์นิเจอร์...เครื่องใช้อื่นๆ ดูตามสภาพ... ไม่ไหวก็ทิ้งๆ ไป ... ซ่อมได้ก็ซ่อมไป ...  ตู้เย็นนี่ไม่เสียหายนะครับ  ล้างๆๆ วางให้แห้ง  เสียบปลั๊กใช้ได้เลย แต่ก็ควรระวังนิดหน่อยตรงว่าตอนที่มันเป็นเรือรบลอยน้ำอยู่นั้นนานมากไหม  ถ้านานก็ต้องจับตั้งให้เป็นไปตามปกติ ๑-๒ วัน  ให้มั่นใจว่าน้ำมันในระบบคอมเพรสเซอร์ไหลย้อนกลับลงไปอยู่ในที่ที่มันควรอยู่เรียบร้อยแล้ว ... คอยแอร์ที่ตั้งต่ำๆ ก็ล้างครีบทำความสะอาดให้เอี่ยม (ระวังครีบบาดมือ) แล้วปล่อยให้แห้งสนิท 3-4 วันได้จะสบายใจดี  แล้วลองยกเบรกเกอร์เปิดสวิทช์ให้มันทำงานดู  ถ้าเดินได้หมุนได้ก็ใช้มันไป  ถ้าเงียบเฉยไม่หือไม่อือ.. ก็ตามช่างมา เพราะอิเลคทรอนิคบางตัวกลับบ้านเก่าไปซะแล้ว....

        .... อื่นๆ ก็ตามสภาวะที่มันเป็นไป  ...

        .... มันจะอยู่กับเรามันก็อยู่......

        .... มันจะไปก็ช่างหัวมัน (ไม่ใช่หัวเผือก..อิอิ) ถือว่าไม่รักดี ....

 

        ,,,, สิ่งทั้งหมดที่มีนั้นเป็นสิ่งที่เราหามาทั้งนั้น ,,,,ไม่ได้มีมาแต่เกิด ,,, ,, จริงไม๊ !!!!  

 

      ,,, สู้ๆ ครับ  ใจสำคัญสุดๆ  สู้ สู้ สู้ ... กู้กลับมาใหม่ได้ ,,,

       ..... เชื่อเต๊อะ ......  ขอเป็นกำลังใจให้ครับ.....

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 468570เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ของบริจาคที่คนไทยควรทราบ

ระวังเปรตแย่งของบริจาค

http://soponslifeandwork.blogspot.com/

 

เรียน อ.โสภณ ผมตามไปอ่านตามลิงค์ของอาจารย์ .. เปรตน่ากลัวจริงๆ ครับ

มาเป็นกำลังใจให้พี่น้องที่ถูกน้ำท่วมสู้ๆๆกันต่อไป

  • ตามมาให้กำลังใจคุณลุง 555
  • ปีนี้น้ำขังนาน
  • ช่วยชาวบ้านไม่ถูกเลยครับ
  • สงสัยต้องช่วยหลังน้ำลด
  • สบายดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท