หนังสือดีเพื่อชีวิตและการศึกษา : แห่งความเข้าใจชีวิตและการศึกษาที่แท้


เป็นอิสระจากร่องรอยของอดีต มีจิตใจซึ่งสามารถเข้าถึงสาระสำคัญของชีวิตได้

          วันนี้มีหนังสือดีเพื่อชีวิตและการศึกษา  มาแนะนำครับ  เป็นหนังสือเก่าแล้ว  พิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๓๙   ครั้งนี้ พิมพ์ครั้งที่ ๖

 

                                

 

            ชื่อหนังสือ  แห่งความเข้าใจชีวิตและการศึกษาที่แท้ โดย กฤษณมูรติ   แปลโดย  โสรีช์   โพธิ์แก้ว

 

             น่าสนใจครับ   เหมาะสำหรับนักการศึกษา  นักพัฒนา   นักวิชาการ   นักบริหาร นักกระบวนกร  นักแนะแนว และ ผู้ที่ต้องการค้นหาตัวเอง  เพื่อที่จะสามรถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างมีความสุข


            หนังสือมีอยู่ ๒๗ บทครับ   เพื่อความสะดวกในการอ่านและทำความเข้าใจ


            วันนี้ ขอนำมาฝาก บทแรกก่อนครับ  เป็นการเรียกน้ำย่อย  จะตัดตอนมาเฉพาะประเด็นที่สำคัญ

 

            บทที่ ๑ สาระแห่งการศึกษา


            "การที่จะต้องคล้อยตามสังคม หรือสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูบอกนั้นเป็นของง่าย มันเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัย  แต่มันไม่ใช่ชีวิต  เพราะว่าในการกระทำของท่านนั้น จะถูกครอบงำด้วยความกลัว ความเสื่อม และความตาย การมีชีวิต คือ การค้นพบด้วยคัวเองในความจริง  และเมื่อท่านจะทำดังนี้ได้ เมื่อรู้สึกอิสระ นั่นคือ เมื่อท่านมีความคิดสร้างสรรค์ต่อเนื่องอยู่ภายใน"

            "หน้าที่ของการศึกษา คือ การช่วยให้เราแต่ละคน มีชีวิตอยู่อย่างอิสระและปราศจากควมกลัว"


             "สาระหน้าที่ของการศึกษา คือ การทำลายความกลัวทั้งภายในและถายนอก  ซึ่งบั่นทอนทำลายความดีของมนุษย์  ความสัมพันธ์ขอมนุษย์  และ ความรัก"


            ต่อคำถามที่ว่า "ในอินเดียและประเทศอื่นๆ ส่วนใหญาการศึกษาถูกควบคุมโดยรัฐบาล ภายใต้เงื่อนไขนั้น เราจะทำอย่างที่ท่านอธิบายได้หรือ"


             "รัฐบาลจะคิดอย่างไรหรือไม่นั้น  ไม่สำคัญเท่ากับว่าท่านคิดอย่างไร หากท่านเห็นว่าบางสิ่งบางอย่างสำคัญ เป็นสิ่งมีค่า  ท่านจะทุ่มเทหัวใจให้กับมัน โดยไม่ต้องคอยรัฐบาลหรือความช่วยเหลือจากสังคม และ สิ่งที่ท่านคิดทำนั้นก็จะประสบผลสำเร็จ.....ท่านที่รัก สิ่งซึ่งสร้างสรรค์อย่างแท้จริงนั้น จะเกิดขึ้นจากคนเพียงสองสามคน ผู้ซึ่งเห็นในความเป็นจริง และ ยินดีที่จะมีชีวิตตามความจริงนั้น  แต่การที่จะค้นพบความจริง ต้องการความอิสระจากจารีตประเพณี ซึ่งหมายถึงความรู้สึกอิสระจากความกลัวนั่นเอง"


                  


คำสำคัญ (Tags): #กฤษณมูรติ
หมายเลขบันทึก: 467354เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2011 02:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ชอบคำว่าเป็นอิสระ และปราศจากความกลัวนี่แหละครับ ท่านอาจารย์

ผมจะไปอ่านบ้างครับ

ขอบพระคุณที่แนะนำหนังสือดีๆครับ

ขอบคุณคะ เป็นหนังสือที่น่าอ่าน

อแลกเปลี่ยนความเห็นดังนี้

"หน้าที่ของการศึกษา คือ การช่วยให้เราแต่ละคน มีชีวิตอยู่อย่างอิสระและปราศจากควมกลัว"

.

เคยตั้งคำถามว่า ทำไมการศึกษา บางวิชาชีพ ต้องทำให้ "กลัว" ต้องมีระบบ top down ที่เข้มข้น

เหตุใดไม่ให้ความสำคัญอิสระทางความคิดมากนัก

.

หรือเพราะระบบในตลาด ให้คุณค่า "ความฉับไว" "แม่นยำ"

เมื่อใด เป้าหมายงานคือ ฉับไว เราก็ต้องคิดแบบเดิม pattern recognition

แม้สถานศึกษาให้คุณค่าความคิดสร้างสรรค์ แต่ตลาดไม่ตอบรับ ก็ลำบากไม่น้อยคะ

มาร่วมส่งเสิรมการอ่านด้วยอีกคน

  • แค่เริ่มต้น ก็น่าสนใจมากแล้วครับ ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือการศึกษาบ้านเราในปัจจุบัน ดูเหมือนจะเป็นแนวทางนั้น สอนให้กลัว ให้เสื่อม นำไปสู่ความตาย หรือให้เข้าไปติดอยู่ในกรอบ ในคอก ไร้อิสระ ไม่เอื้อให้คิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆเกิดน้อยมาก จนอยู่ในสภาพวนไปเวียนมา พายเรือในอ่าง แทบไม่ขยับไปทางใด นี่ก็อีกแล้ว การศึกษาจะทำแค่ผลิตคน หรือผลิตแรงงานชั้นดี เพื่อป้อนอุตสาหกรรม โรงงาน หรือแหล่งทุน เท่านั้นหรือ? กระบวนการพัฒนาคน พัฒนาสังคม น่าจะยิ่งใหญ่กว่านั้นมิใช่หรือครับท่านนักการเมือง?
  • ขอนุญาตบ่นตามความรู้สึกตัวเองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันครับท่านรองฯ(ฮา) จะไปหามาอ่านบ้างครับ ขอบคุณมากครับ

ได้ข้อคิดเยอะมากเลยครับ

อ.โย ครับ 

    ผมอ่านเล่มนี้แล้ว เปลี่ยนแปลงภายในเล็กๆ ครับ  ดีมากเลยครับ  ทำให้เราเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น

                      ขอบคุณครับ

คุณ ป  ครับ

     ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ตามที่ผมมีประสบการณ์มา  เป็นระบบ Top down ครับ  เป็นระบบที่ต้องทำตามด้วยความ "กลัว"  ทำตามสั่งโดยไม่ต้องคิด  ระบบดังกล่าว ก็ค่อยๆ ส่งต่อมาเป็นทอดๆ จนมาถึงผู้เรียนครับ

     ที่ไม่ให้อิสระความคิด  เพราะกลัวการสูญเสียอำนาจครับ

     สำหรับประเด็นที่ว่า สถานศึกษาให้ความคิดสร้างสรรค์  แต่ตลาดไม่ตอบรับ  ตามความคิดของผม ผมว่าเป็นไปได้ไหมครับ  ที่จะให้ความคิดสร้างสรรค์  สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  นั่นคือ ให้มีอิสระทางความคิด ภายในกรอบของตลาด ลักษณะ  Liberty  in law อิสระภายในกรอบของตรลาด

                 ขอบคุณครับ

 

อ . โสภณ ครับ ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาแลกเปลีียนเรียนรู้ ครับ

อ.ธนิตย์ ครับ

   ผมก็เห็นตรงกับ อ.ธนิตย์ นะครับ  การศึกษาของเรา ยังอยู่ในวังวนของอำนาจ  ความกลัว  การครอบงำ   และ  การอยู่ในกรอบคำสั่ง    ผลิตคนให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน

   การศึกษาต้องมากกว่านั้นนะครับ  อย่างน้อย ต้องให้คนเป็นตัวของตัวเอง  คิดเองได้อย่างสร้างสรรค์  ปราศจากความกลัว  มีเสรี  ภายใต้กรอบ  ของความถูกต้องของกฏหมาย

    ค่ิอย ๆ ช่วยกันทำในวงเล็กๆ ครับ  อย่างน้อย เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาวครับ

                         ขอบคุณครับ

คุณบีเวอร์ครับ ขอบคุณมากครับ

ซื้อมาอ่านแล้วค่ะ ตอนนี้ยังอ่านไม่จบ แต่เป็นหนังสือที่น่าสนใจมากทีเดียว ทำให้เรามีมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมๆ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเองมากเลย อยากให้ทุกคนได้อ่านนะคะ

ขอบคุณครับ คุณความรู้สึกดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท